เป็นที่ทราบว่านักกีฬาชาวญี่ปุ่นสามารถเล่นกีฬาได้ดีขึ้นเมื่อรับประทานกรดอะมิโนและโภชนาการที่สมดุล Ajinomoto Co., Inc. (“บริษัทAjinomoto”) ได้เริ่มพัฒนาทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญและสร้างงานวิจัยที่ออกแบบมาอย่างดีกับการกีฬาภายใต้ชื่อ “วิทยาศาสตร์ด้านกรดอะมิโนเพื่อการกีฬา” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา เราได้ดำเนินโครงการ Victory Project® เพื่อสนับสนุนทีมชาติและองค์กรการกีฬาของญี่ปุ่น รวมถึงนักกีฬาแต่ละคนด้วยกรดอะมิโนและการให้คำปรึกษาด้านอาหารที่มีโภชนาการสมดุล
เคล็ดลับความสำเร็จของนักกีฬา
ช่วงเวลาที่นักกีฬาคนหนึ่ง ๆ ทำลายสถิติโลกได้นั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่น่าจดจำ และดูเหมือนว่าช่วงเวลาดังกล่าวจะเกิดบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ ลองพิจารณาดูตัวอย่างนี้ว่าสถิติโลกของนักวิ่งมาราธอนชายดูเหมือนจะดีขึ้นทุกปี ปัจจุบันเวลาที่เป็นสถิติโลกลดลงเกือบ 2 ชั่วโมง เมื่อคิดเป็นระยะทางจะเท่ากับ 4 นาทีต่อไมล์ ซึ่งผู้คนเมื่อ20 ปีก่อนคิดว่าเป็นไปไม่ได้
ทำไมสถิติโลกถึงตกลงอย่างรวดเร็ว? เราเชื่อว่าหนึ่งในปัจจัยหลักอาจซ่อนอยู่ในสิ่งที่นักกีฬารับประทาน ผู้คนมักเชื่อมโยงอาหารเข้ากับการกีฬาเสมอ นักโภชนาการที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่คุณรับประทานก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขันนั้นมีความสำคัญกับชัยชนะพอ ๆ กับสิ่งที่คุณทำในระหว่างเกมการแข่งขันเลยทีเดียว1 ตัวอย่างของนักกีฬาที่เชื่อในความคิดนี้มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง นักว่ายน้ำชาวอเมริกันอย่าง Michael Phelps ที่ชนะเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกกว่า 23 เหรียญ เป็นที่รู้กันดีว่าเขารับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีน เช่น ปลาและเนื้อไก่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในการว่ายน้ำ2
นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โภชนาการอาหารที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา และ Ajinomoto Co., Inc. (“บริษัทAjinomoto”) มีประวัติอันยาวนานในการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านอาหาร โดยที่เรามุ่งเน้นด้านกรดอะมิโน หลังจากยืนยันความสัมพันธ์ในทางบวกของศักยภาพด้านกีฬาและการบริโภคอาหารที่สมดุลอันรวมถึงกรดอะมิโนด้วยแล้ว บริษัท Ajinomoto เริ่มงานวิจัยและการพัฒนาในสาขานี้อย่างเข้มข้น
ดูเหมือนว่าการสนับสนุนทีมชาติญี่ปุ่นของบริษัท Ajinomoto นั้นได้ช่วยให้นักกีฬาชาวญี่ปุ่นชนะเหรียญรางวัลต่าง ๆ มากกว่าในอดีต ในปี พ.ศ. 2561ประเทศญี่ปุ่นได้ 13 เหรียญรางวัลในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงเปียงยาง ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2557 ที่โซชิที่ได้ 8เหรียญ เช่นเดียวกัน ทีมชาติญี่ปุ่นได้เหรียญรางวัล 25 เหรียญในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่งเมื่อปี พ.ศ. 2551 และ 38 เหรียญที่กรุงลอนดอนในปี2555 ต่อมาได้ทำสถิติที่น่าภาคภูมิใจมากที่เมืองริโอเดอจาเนโร ซึ่งกวาดเหรียญรางวัลได้ถึง 41 เหรียญ
พลังของกรดอะมิโนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ
การฝึกซ้อมและบริหารร่างกายอย่างหนักทำให้ร่างกายใช้กรดอะมิโนในกล้ามเนื้อไปจนหมด ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าและถูกทำลาย5 การมีกรดอะมิโนในเลือดนั้นมีความสำคัญกับนักกีฬาอย่างมากเนื่องจากช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและมีร่างกายที่ทนทาน
20 % ของร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยโปรตีน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกรดอะมิโน 20 ชนิดที่แตกต่างกัน ในจำนวนนี้ กรดอะมิโนวาลีน ลิวซีน และไอโซลิวซีน เป็นกรดอะมิโนที่มีสายโซ่ย่อยหรือที่เรียกว่า (BCAAs) ประโยชน์ของการบริโภค BCAAs คือทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมกรดอะมิโนเหล่านี้ได้ในเวลาเพียง 30 นาทีเมื่อเทียบกับเวลาที่ต้องใช้ในการย่อยโปรตีนถึง 4 ชั่วโมงเนื่องจากมีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากกว่า อีกนัยหนึ่ง การได้รับBCAAs ในร่างกายนั้นมีความสำคัญต่อการรักษาสภาพร่างกายให้แข็งแรงเสมอ และเพื่อให้ร่างกายฟื้นจากความอ่อนล้าได้อย่างรวดเร็ว5
“เนื่องจากร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนที่จำเป็นได้ ดังนั้นจึงต้องเสริมโภชนาการอาหารให้กับนักกีฬา”
§ กลไกของกรดอะมิโน
บริษัท Ajinomoto และ Tokyo University ร่วมกันศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกรดอะมิโนกับศักยภาพด้านกีฬา3 นักกีฬาสองกลุ่มฝึกซ้อมร่างกายอย่างหนักที่มหาวิทยาลัย โดยที่กลุ่มหนึ่งได้รับอาหารที่มีกรดอะมิโน และอีกกลุ่มไม่ได้รับ ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทั้งสองนี้ในด้านระยะเวลาการฟื้นร่างกายนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มที่ได้รับกรดอะมิโนนั้นแสดงให้เห็นว่า ร่างกายสามารถฟื้นสภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ภายใน 2 วันหลังการฝึก ขณะที่อีกกลุ่มแสดงให้เห็นว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลับลดลงในช่วงเวลาเดียวกัน
§ การยับยั้งการลดลงของความแข็งแรงกล้ามเนื้อและช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นสภาพอย่างรวดเร็ว
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่หดตัวแบบไอโซเมตริก
Sugita, M. และคณะ “ผลของกรดอะมิโนในอาหารผสมที่มีต่อการฟื้นสภาพกล้ามเนื้อที่อ่อนล้าและถูกทำลายอันเกิดจากการฝึกร่างกายที่เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อแบบที่ทำให้กล้ามเนื้อยืดยาวออก (Eccentric Contraction)” Biosci Biotechnol. Biochem
นักวิ่งมาราธอนระดับโลกชาวญี่ปุ่นที่ชนะรางวัลระดับนานาชาติมาแล้วจำนวนมากที่รับประทานกรดอะมิโนเป็นประจำในระหว่างการฝึกซ้อม กล่าวว่า “ฉันรู้สึกอยากวิ่งต่ออีกสัก 40 กิโลเมตรหลังจากที่วิ่งไปแล้ว 70 กิโลเมตร!4”
Yuki Ueno จาก Victory Project Group, Olympic & Paralympic Promotional Office บริษัท Ajinomoto กล่าวว่า “บริษัทของเราได้สนับสนุนกรดอะมิโนรวมถึงเมนูอาหารให้กับวงการกีฬาและนักกีฬาต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันที่ดีที่สุด” เขาได้ทำงานในโครงการนี้มาตั้งแต่บริษัทเริ่มสนับสนุนทีมนักกีฬาของญี่ปุ่น
บริษัท Ajinomoto สนับสนุนนักกีฬาอันดับต้น ๆ โดยการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการอาหารและกรดอะมิโน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 บริษัท Ajinomoto ได้ดำเนินโครงการ Victory Project® โดยร่วมกับองค์กรกีฬาต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนนักกีฬาทีมชาติญี่ปุ่นและนักกีฬาต่าง ๆ ด้วยกรดอะมิโนและคำแนะนำด้านอาหาร บริษัทได้มอบหมายงานนี้ให้กับนักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเมนูอาหารประจำวันของนักกีฬา
การศึกษาวิจัยที่ต่อเนื่องทำให้บริษัท Ajinomoto ได้เรียนรู้ว่า ปกติแล้วนักกีฬามี 2 ปัญหาใหญ่ ๆ ด้วยกันในเรื่องอาหารการกิน นั่นคือ ไม่เพียงพอและขาดความสมดุลทางด้านอาหาร โดยเฉพาะช่วงระหว่างการแข่งขันในต่างประเทศ ซึ่งตัวเลือกอาหารนั้นเป็นเมนูที่ไม่คุ้นเคย รวมถึงตารางการแข่งขันค่อนข้างใช้เวลาทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีของนักกีฬาเปลี่ยนแปลงได้ง่ายซึ่งส่งผลถึงศักยภาพในการแข่งขัน นอกจากนี้ นักกีฬาบางคนอาจมีปัญหาภาวะเบื่ออาหารเพราะร่างกายมีความสับสนอันเนื่องจากตารางการแข่งขัน
■เกลียวขาลงของนักกีฬา
Haruka Suzuki นักโภชนาการที่ทำงานกับบริษัท Ajinomoto เธอได้ช่วยนักกีฬาสเก็ตที่เป็นตัวแทนของญี่ปุ่นที่เมื่อไม่นานมานี้คาดว่าจะชนะในการแข่งขันแต่เกิดอาการบาดเจ็บเนื่องจากฝึกซ้อมมากเกินไป Suzuki พบว่าการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่ไม่สมดุลนั้นทำให้เกิดปัญหาการเล่นสเก็ต และเธอทราบดีว่าเธอสามารถช่วยนักกีฬาคนดังกล่าวได้ เธอได้ให้คำปรึกษากับนักสเก็ตคนดังกล่าวด้านโภชนาการที่จำเป็นสำหรับการรักษาให้กล้ามเนื้อยังคงแข็งแรงและแข็งแกร่งในช่วงการแข่งขันที่กินเวลาถึง 4 นาที และผลลัพธ์ที่ได้นั้นประสบความสำเร็จดีเยี่ยม
■Haruka Suzuki นักโภชนาการของ Ajinomoto
ในระหว่างการแข่งขันต่าง ๆ บริษัท Ajinomoto ได้ทำปฏิทิน “แผนโภชนาการ” ประจำวันให้กับนักกีฬา เป็นแผนที่ใช้งานง่าย ช่วยอธิบายถึงสิ่งที่ควรรับประทานและปริมาณที่ควรรับประทานทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขัน นักกีฬาแต่ละคนตรวจสอบส่วนประกอบของอาหารแต่ละมื้อและเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่มีประสิทธิภาพและเวลาในการรับประทานกรดอะมิโน
อาหารที่ง่ายนั้นสำคัญสำหรับนักกีฬาชาวญี่ปุ่น ตัวอย่างที่พบได้ทั่วไปคือ “onigiri” ซึ่งเป็น “พาวเวอร์บอล” ที่ทำจากข้าว เป็นอาหารที่พบได้ทั่วไปในวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่น ข้าวเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดีและให้พลังงานทันที การรับประทานกรดอะมิโนและอาหารง่ายๆ อย่าง “onigiri” นั้นเป็นการผสมผสานชั้นเลิศที่ช่วยเสริมศักยภาพทางร่างกายให้นักกีฬาแข่งขันได้ดีขึ้น โดยที่นักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ ก็สามารถนำไปปรับให้เข้ากับนักกีฬาของตัวเองได้
■Power Ball ®ที่บูธพลังงานของบริษัท Ajinomoto
ผู้เชี่ยวชาญอย่าง Suzuki และ Uneo ได้ศึกษาสภาพร่างกายของนักกีฬาและกำหนดเมนูอาหารเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารของนักกีฬาจะประกอบไปด้วยแหล่งของสารอาหารและกรดอะมิโนที่เหมาะสม และผลลัพธ์ที่ได้ก็ยากที่จะปฏิเสธ: โดยพบว่านักกีฬาคาราเต้ 7 คนในจำนวน 10 คนที่ได้รับโภชนาการและกรดอะมิโนที่เหมาะสมชนะเหรียญรางวัลที่การแข่งขันคาราเต้นานาชาติในปี พ.ศ. 2561
Ajinomoto Group จะยังคงมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อสุขภาพชีวิตที่ดีของทุกคน รวมถึงวงการกีฬาอีกด้วย
ตามที่ Uneo กล่าว “ ‘กรดอะมิโน’ และ ‘มื้ออาหาร’ ช่วยส่งเสริมนักกีฬาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นให้ดึงศักยภาพสูงสุดของตัวเองออกมา ทำให้คุ้มค่ากับความพยายามฝึกซ้อมมาหลายปี” บริษัทAjinomoto สนับสนุนทั้งนักกีฬามืออาชีพและมือสมัครเล่นที่มีความกระตือรือร้นด้านกีฬาด้วยกรดอะมิโนะและโภชนาการอาหารที่สมดุล และเราปรารถนาที่จะส่งต่อโปรแกรมที่ประสบความสำเร็จของเราไปทั่วโลก
อ้างอิง:
1. “สิ่งที่นักกีฬามืออาชีพรับประทานจริง ๆ” Self.com., 13 เมษายน 2558 https://www.self.com/story/sport-nutrition-athlete-performance-baseball
2. “ความลับหมูของ Phelps: เขาคือ Boy Gorge,” New York Post, 13 สิงหาคม 2561 https://nypost.com/2008/08/13/phelps-pig-secret-hes-boy-gorge/
3. Sugita, M. และคณะ “ผลของกรดอะมิโนในอาหารผสมที่มีต่อการฟื้นสภาพกล้ามเนื้อที่อ่อนล้าและถูกทำลายอันเกิดจากการฝึกร่างกายที่ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวแบบที่ทำให้กล้ามเนื้อยาวขึ้น” Biosci Biotechnol. Biochem (ยื่น), 2545
4. Sakurada, Masafumi, “วิทยาศาสตร์ของกรดอะมิโน”[ภาษาญี่ปุ่น] Kodansha Bluebacks, มกราคม 2557
5. ข้อมูลในไฟล์