กรุงเทพฯ – 23 มกราคม 2561 – กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จัด การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ รางวัล DOW-CST ประจำปี พ.ศ. 2560 เปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนจากทั่วประเทศในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งผลงานโครงการทดลองวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์เข้าประกวด ผ่านการประยุกต์ใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) เพื่อร่วมชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท และครูผู้ชนะรางวัลยอดเยี่ยมในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายจะได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในการประชุมวิชาการ Pure and Applied Chemistry Conference 2018 หรือ PACCON 2018 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
จากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1] ชี้ให้เห็นว่ากำลังแรงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2559 มีจำนวนถึง 4,008,783 คน สูงขึ้นจากปี พ.ศ. 2556 นับเป็นร้อยละ 10.5 (จาก3,626,669 คน) สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกในการผลักดันตลาดแรงงานของไทยเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแข่งขันบนเวทีโลก
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ DOW-CST AWARD ด้วยเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน โครงการ“ห้องเรียนเคมีดาว” มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมพัฒนาวิชาการและวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะครูวิชาเคมีให้มีความก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ด้วยการนำเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนมาใช้ในการประกวด ให้เยาวชนกล้าแสดงออก รู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง
ในปีนี้ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ DOW-CST AWARD ด้วยเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน โครงการ“ห้องเรียนเคมีดาว” มีโครงงานทั้งสิ้น 47 โครงงาน จาก 29 โรงเรียนทั่วประเทศ เข้าร่วมประกวด และการตัดสินรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้นในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561 ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 จามจุรีแสควร์ โดยมีรายนามผู้ชนะดังต่อไปนี้
· DOW-CST Award 2017 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
o รางวัลยอดเยี่ยม: โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) โดย คุณครูสุดา ธนพิบูลกุล (โครงงานการกลั่น)
ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และครูที่ปรึกษาจะได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในการประชุมวิชาการ Pure and Applied Chemistry Conference 2018 หรือ PACCON 2018
o รางวัลดีเด่น 1: โรงเรียนหมอนทองวิทยา โดย คุณครูสมพร ริศมัน (โครงงานเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย)
ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาทพร้อมโล่รางวัล
o รางวัลดีเด่น 2: โรงเรียนดัดดรุณี โดย คุณครูบุศริน โคนเคน (โครงงานอันตรายจากสารเคมีในชีวิตประจำวัน– Toxic of Cleaning Liquid)
ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาทพร้อมโล่รางวัล
· DOW-CST Award 2017 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
o รางวัลยอดเยี่ยม: โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โดย คุณครูณัฎฐ์ทิตา สิริธราเมธีกุล (โครงงานSynthesis Purification of ESTER by Microscale)
ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และครูที่ปรึกษาจะได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในการประชุมวิชาการPure and Applied Chemistry Conference 2018 หรือ PACCON 2018
o รางวัลดีเด่น1: โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง โดย คุณครูสราญรมย์ ยิ่งสุข (โครงงาน การศึกษาปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส)
ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาทพร้อมโล่รางวัล
o รางวัลดีเด่น2: โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาการ โดย คุณครูรัตนาพรรณ อุตมีมั่ง (โครงงาน Factor Affecting the Chemical Reaction) และ โรงเรียนหอวัง โดย คุณครูชัยพร มิตพิทักษ์ (โครงงานอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก)
ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาทพร้อมโล่รางวัล
นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ กลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “เป้าหมายหนึ่งของกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ในการสนับสนุนการจัดการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ DOW-CST AWARD คือการสร้างความสนใจ และเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับครูและเยาวชนไทยในการเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถต่อยอดไปถึงการศึกษาต่อและประกอบอาชีพในสายงานที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ การสนับสนุนการเรียนวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชนไทย ยังเกี่ยวข้องสะเต็มศึกษา หรือการบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ซึ่งการพัฒนาองค์ความรู้นี้ให้แก่เยาวชนตั้งแต่แรกเริ่ม จะสร้างบุคลากรที่เข้มแข็งทั้งในเชิงความคิดและการปฏิบัติเพื่อสร้างความสำเร็จให้แก่ประเทศไทยในอนาคต”
ศ.ดร. สุภา หารหนองบัว นายกสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กล่าวว่า “เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน เป็นองค์ความรู้ที่ช่วยให้วิชาวิทยาศาสตร์สามารถเข้าถึงได้ง่าย บางโรงเรียนอาจจะไม่มีห้องทดลอง ไม่สามารถซื้อสารเคมีที่ราคาสูงได้ แต่หากครูวิทยาศาสตร์นำบทเรียนมาประยุกต์ใช้ มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบการทดลอง ก็จะส่งผลให้การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นไปได้สำหรับทุกคนในทุกระดับชั้น ไม่จำกัดเฉพาะในโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนตามหัวเมืองอีกต่อไป สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ มุ่งร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการส่งเสริมและสร้างความตระหนักด้านเคมีสีเขียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้โอกาสแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ซึ่งถือว่าเป็นอนาคต ผู้ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ”
ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “ความร่วมมือของทั้งสามหน่วยงานในวันนี้ มุ่งสร้างโอกาสทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์อย่างเท่าเทียมและช่วยกระตุ้นให้เด็กนักเรียนรู้จักขวนขวายหาความรู้นอกเหนือจากในบทเรียน ทำให้การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์มีชีวิตชีวาและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้ครูวิทยาศาสตร์ต่อยอดองค์ความรู้จากในห้องเรียน ไปสู่กิจกรรมที่สนุกสนานและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์แก่เด็กนักเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาง อพวช. ต้องการที่จะส่งเสริมในทุกๆ กิจกรรมที่ผ่านมาของเรา”
โครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” หรือ “Dow Chemistry Classroom” ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) และยังมีกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาอื่นๆ ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการการทดลองเคมีแบบย่อส่วนให้แก่ครูวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้บูรณาการการเรียนการสอนตามหลักสูตร รวมทั้งการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ต้นแบบดีเด่นให้เป็น Trainer เพื่อเผยแพร่เทคนิคอันเป็นประโยชน์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง พร้อมการติดตามผลและประเมินกระบวนการสอนเพื่อแลกเปลี่ยนเทคนิคการเรียนการสอนร่วมกัน ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรม กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ให้การสนับสนุนชุดปฏิบัติการการทดลองเคมีแบบย่อส่วนแก่โรงเรียนมากกว่า 7,000 ชุด และมีคณาจารย์ 860 คน จาก443 โรงเรียนทั่วประเทศ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งก่อให้เกิดครูต้นแบบปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน 43 คน และมีเด็กนักเรียนกว่า 52,000 คน ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ
###
สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: |
|
ทอแสง ช่วงโชติ / นภัสสร น้อยอ่ำ บริษัท เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย โทร. 097-232-7217 |
ลลิดา ทิศาดลดิลก / นรานาฏ พวงกนก กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย โทร. 02-365-7228/ 02-365-7006 อีเมล: lalida@dow.com อีเมล: pnaranart@dow.com |
เกี่ยวกับโครงการห้องเรียนเคมีดาว
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมทักษะความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชน บริษัทฯ จึงได้ร่วมมือกับสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จัดตั้งโครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาเคมีให้มีการใช้อุปกรณ์การทดลองเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) อันเป็นวิธีการเรียนรู้การทดลองเคมีที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง ด้วยเทคนิคที่ได้รับการยอมรับจากยูเนสโก ใช้ปริมาณสารเคมีน้อย ใช้เวลาในการทดลองสั้นลง ลดภาระการขจัดของเสียจากการทดลอง อีกทั้งผู้เรียนทุกคนสามารถทำการทดลองได้จริงไม่ใช่เพียงแต่ฟังบรรยายสรุปจากครูผู้สอนเท่านั้น เป็นการช่วยเพิ่มประสบการณ์และศักยภาพของครูและนักเรียน เทคนิคนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ มีการนำไปใช้กับโรงเรียนในต่างประเทศ อาทิ อังกฤษ เยอรมนี ออสเตรีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น จีน กัมพูชา เป็นต้น และถือเป็นครั้งแรกที่ภาคเอกชนได้นำเอาหลักสูตรนี้มาใช้ในระบบการศึกษาของไทยอย่างเป็นรูปธรรม
เกี่ยวกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยเป็นบริษัทชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ประกอบไปด้วย กลุ่มบริษัทดาว เคมิคอล ประเทศไทย รวมถึงกลุ่มบริษัทร่วมทุน เอสซีจี–ดาว ทั้งนี้ ดาว ประเทศไทย นับเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของดาวในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค และเป็นผู้นำในด้านการนำเข้าเคมีภัณฑ์สำหรับภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่หลากหลาย รวมถึงผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้สำหรับภาคการเกษตรและครัวเรือน ซึ่งกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย มีความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และมุ่งมั่นในการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายเพื่อสร้างความยั่งยืนทั้งต่อธุรกิจและสังคม