องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ระบุว่าโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์แปรปรวนเป็นโรคที่มีดัชนีการสูญเสียสุขภาวะด้านความพิการ (disability-adjusted life years) สูงเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มโรคจิตเวชและยังพบว่ายังมีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตายมากกว่าโรคจิตเวชอื่นๆ โดยพบความชุกชั่วชีวิต (lifetime prevalence) ของการพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วย อยู่ที่ร้อยละ 25.6 – 42 และร้อยละ 10 – 20 จะเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า และจำเป็นต้องได้รับการรักษาและการบําบัดที่ถูกต้อง โดยทุกวันนี้สังคมไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่เข้ารับการรักษา ซึ่งยังเป็นปัญหาของสังคมไทยที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งหาแนวทางในการบริหารจัดการโรคจิตเวช รวมถึงโรคไบโพลาร์ ควบคู่ไปกับสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ภาคประชาชน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธาน ในพิธี กล่าวว่า “ปัญหาด้านสุขภาพจิตในปัจจุบันถือเป็นปัญหาที่ทุกคนควรหันมาให้ความสนใจ โดยเฉพาะวันไบโพลาร์โลกปีนี้ให้ใช้เป็นโอกาสในการทำความเข้าใจกับโรคไบโพลาร์ สำหรับผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าคนอื่น เพราะฉะนั้นการที่ทุกคนมองผู้ป่วยไบโพลาร์ไม่ต่างจากผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่สามารถรักษาได้ ก็จะช่วยให้คนที่เป็นไบโพลาร์เข้าสู่กระบวนการรักษาและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับคนทั่วไป”
พญ. พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า “กรมสุขภาพจิตมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้ผู้ป่วยทางจิตเวชสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์แปรปรวนหรือโรคอารมณ์สองขั้วเป็นโรคที่พบได้ประมาณร้อยละ 1.5 ถึง 5 โดยสาเหตุหลักของโรคไบโพลาร์ เกิดมาจากสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ และอาจเกิดในผู้ที่มีความเครียดสะสม ทำให้อาการเปลี่ยนแปลงไปจากนิสัยหรือบุคลิกเดิมของคนๆ นั้น ลักษณะอาการเด่นของโรคนี้คืออารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างช่วงที่อารมณ์ดีมากกว่าปกติ (mania หรือ hypomania) สลับกับอาการอารมณ์ซึมเศร้า (major depressive episode) หรืออาจมีอาการแมเนียเพียงอย่างเดียวก็ได้ โดยอาการในแต่ละช่วงอาจเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือหลายๆ เดือนก็ได้ ซึ่งการรักษาอย่างต่อเนื่องคือหัวใจของการควบคุมอาการและการลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำ ทั้งนี้ ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยให้ใช้ชีวิตปกติในสังคมได้ อีกทั้งยังเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามแผนการรักษา รวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบ ดังนั้น ญาติผู้ป่วยและบุคคลรอบข้างจึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะต้องได้รับการสนับสนุนให้มีความเข้าใจและความสามารถในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งจะช่วยผู้ป่วยให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในชุมชนและสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความสุขต่อไป”
นางมารีน คินยาร์ค สตูยาโนวิช ผู้จัดการใหญ่ ซาโนฟี่ ประเทศไทย กล่าวว่า “ซาโนฟี่ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งและขอขอบคุณสำหรับโอกาสที่ได้ร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต และสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ในการจัดงาน World Bipolar Day ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการรณรงค์และส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคจิตเวชและโรคไบโพลาร์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างดี ภายใต้การเปิดใจ ยอมรับ และให้ความเข้าใจจากครอบครัวและบุคคลรอบข้างในสังคม”
ศ.นพ. ชวนันท์ ชาญศิลป์ นายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “พบคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตประมาณ 10 ล้านคน เป็นผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ถึง 1 ล้านคน แต่เข้ามารับการบำบัดรักษาเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ทั้งนี้ โรคไบโพลาร์จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่คนไม่รู้ และคิดว่าเป็นเพียงอารมณ์แปรปรวนตามประสาวัยรุ่น หรือบางรายที่มีอารมณ์ซึมเศร้าเด่นกว่าแมเนีย ก็มักจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งทำให้เสียโอกาสในการวินิจฉัยและส่งผลต่อการรักษาที่ล่าช้าไปเฉลี่ยถึง 11 ปี ซึ่งอัตราการเกิดโรคครั้งแรกพบบ่อยที่สุดที่ช่วงอายุ 15-19 ปี และรองลงมา คือ อายุ 20-24 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี อีกทั้งโรคอารมณ์แปรปรวน ถือเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคในระยะยาวเรื้อรัง และเป็นโรคที่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้สูง ประมาณร้อยละ 70-90 ประเทศไทยยังจำเป็นต้องเร่งพัฒนาด้านการจัดการสุขภาพจิตอย่างเป็นระบบ รวมถึงมุ่งเน้นการศึกษาในการพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการกับอาการของตนเองด้วยตัวผู้ป่วยจิตเวชเองที่ชัดเจน โดยปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมา ยังพบว่าการดูแลช่วยเหลือยังขาดเรื่องการติดตามและการกระตุ้นให้ใช้ทักษะต่างๆ ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่อง และขาดแหล่งข้อมูลความรู้ที่ช่วยในการสนับสนุนผู้ป่วยขณะเผชิญปัญหาเมื่ออยู่ที่บ้าน จึงทําให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง เสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของอาการที่มากขึ้น และเกิดการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยได้ ”
จากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า การฝึกให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการแก้ไขปัญหา ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับปรุงและพัฒนาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง และทําให้ผู้ป่วยมีความรุนแรงของอาการลดลงได้ ที่สำคัญ ครอบครัวต้องดำเนินการแก้ไขโดยมีครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม เพราะหากคนในครอบครัวเข้าใจและลดการแสดงออกทางอารมณ์ที่สูงในครอบครัว ก็จะช่วยลดความรุนแรงของอาการผู้ป่วยได้ สำหรับแนวทางการรักษาโรคจิตเวช และโรคไบโพลาร์ อันเป็นที่ยอมรับแล้ว คือ วิธีรักษาด้วยการใช้ยา ร่วมกับการบําบัดทางจิตสังคม (Psychosocial therapy) เช่น จิตบําบัดปรับความคิดและพฤติกรรม จิตบําบัดเพื่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคล สุขภาพจิตศึกษา และการบําบัดที่เน้นครอบครัว และจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า การให้สุขภาพจิตศึกษาร่วมกับการรักษาด้วยยามีประสิทธิภาพในการช่วยลดความรุนแรงของอาการและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ดี อีกประเด็นที่ควรเฝ้าระวังคือ การนำคำว่า “ไบโพลาร์” มาพูดเล่นเชิงติดตลก จะเห็นได้ตามสื่อละครหรือรายการโทรทัศน์ที่มักจะนำส่วนหนึ่งของอาการมาพูดเล่นออกอากาศบ่อยครั้ง รวมถึงในระดับบุคคลทั่วไปที่การใช้คำและอาการ “ไบโพลาร์” มาเปรียบเปรยหรือล้อเล่น นับเป็นการสร้างความเข้าใจผิดๆ ให้แก่ผู้รับสื่ออีกด้วย
ด้านประสบการณ์ตรงของ ดีเจเคนโด้ – เกรียงไกรมาศ พจนสุนทร ในฐานะที่เคยป่วยเป็นไบโพลาร์ มาแชร์เพื่อเป็นกำลังใจและจุดประกายให้กับคนที่กำลังเผชิญกับโรคไบโพลาร์ ภาวะซึมเศร้า รวมถึงจิตเวชอื่นๆ ว่า “ไม่ต้องอายที่จะไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง เพราะโรคนี้สามารถควบคุมได้ ซึ่งในตอนแรกจริงๆ ผมก็ไม่รู้ว่าป่วยเป็นไบโพลาร์ เพราะช่วงแรกยังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการของโรค อารมณ์จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งคนที่เป็นระยะแมเนีย (mania) จะออกแนวล้นๆ มีพลังเหลือเฟือ ไม่หลับไม่นอน แต่พออยู่ในระยะซึมเศร้า (depression) อาการก็ค่อยๆ ลง รู้สึกห่อเหี่ยว ไม่อยากทำอะไร จนวันหนึ่งเริ่มรู้ตัวว่าอาการหนัก เพราะใช้อารมณ์แค่ชั่ววูบทำร้ายตัวเอง ถึงแม้จะรู้ตัวแต่ก็ห้ามตัวเองไม่ได้ เพราะคิดอย่างเดียวว่าไม่อยากอยู่ ไม่มีคุณค่า หลังจากนั้นผมก็รีบปรึกษาจิตแพทย์ และเข้ารับการรักษาต่อเนื่องประมาณ 5 ปี จนสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ อยากเรียกร้องให้สังคมและภาครัฐทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้มากขึ้น ปรับทัศนคติว่าผู้ป่วยไม่ใช่บุคคลอันตราย และร่วมกันเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้กลับมาใช้ชีวิตได้ต่อไป”
ปัจจุบัน เราสามารถจัดการให้ความรู้หรือติดตามผลของการรักษาผ่านสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ ผ่านการพูดคุย แสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ หรือปรึกษาแพทย์ทาง Telemedicine ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งทุกวันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาททางการแพทย์และมีส่วนช่วยในการติดตามผู้ป่วยด้านจิตเวชได้มากขึ้น นอกเหนือจากการควบคุมอาการด้วยยาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม ทุกปัจจัยล้วนเป็นความท้าทายในการรักษาโรคไบโพลาร์ในอนาคต ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัวผู้ป่วย ภาคีเครือข่าย รวมถึงภาคประชาชน ในการสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยโรคไบโพลาร์
# # # # # #
Department of Mental Health, Ministry of Public Health and
The Psychiatric Association of Thailand commemorate World Bipolar Day
with “Stand Up for Bipolar” Campaign
The World Health Organization (WHO) states bipolar disorder is the disease with the third highest number of Disability-Adjusted Life Years (DALYs) and a higher risk of suicide among mental disorders. The lifetime prevalence of suicide attempts in patients with bipolar disorder is between 25.6% and 42%, while 10 – 20% of them die from suicide. Suicidal behaviors are associated with the degree of depression severity and requires the right treatment and medications. In Thailand, a lack of understanding of this mental illness has led to only one percent of the patients receiving the treatment. All related parties in Thailand need to find a way to manage mental illnesses, including bipolar disorder, along with raising public awareness.
Deputy Prime Minister and Minister of Public Health, Anutin Charnveerakul, as chairman of the event said, “Mental health should put into a spotlight for public discussion and acknowledgement and World Bipolar Day will reflect us on connection, outreach, and advocacy for Bipolar disorder. Patients with bipolar disorder are considered the capable persons who are not inferior to other people. It will help patients with Bipolar disorder to accept the treatment and regain control of their lives as mental illness is like any other medical illness.”
Director of the Department of Mental Health, Panpimol Vipulakorn, M.D., said “The Department of Mental Health aims to enhance the quality of life for bipolar patients. Bipolar disorder is found in approximately 1.5% – 5% of Thai population. The main cause of bipolar disorder is a malfunction of neurotransmitters in the brain and may occur in people with accumulated stress, altering the patient’s habits or personality. While the main symptom of this disorder is the mood fluctuation between mania or hypomania and major depressive episode, or just only mania. The symptoms at each stage can last for weeks or even months. The continued treatment is the key of controlling symptoms and reducing the rate of recurrence. However, the family plays an important role in caring for patients to be able to live a normal life in society and encourages patients to follow the treatment plan and avoid triggers for relapse. It is, therefore, extremely important that caregivers are aware and have full understanding of bipolar care and capability to take care of the patient. This will help patients to live life at fullest potential in the community.
Marine Queniart-Stojanovic, General Manager, Sanofi Thailand said “Sanofi is humbly honored to have an opportunity to work in collaboration with the Department of Mental Health and The Psychiatric Association of Thailand in empowering the mental health communities in Thailand through World Bipolar Day initiative. It reinforces our commitment to raise public awareness about mental health and bipolar disorder. it is crucial that each and everyone of us has a role to help fight the disease alongside patients and caregivers. I believe that Through the collective efforts made by all parties, we will be able to improve the quality of life for Thai bipolar patients and metal healthcare.”
President of the Psychiatric Association of Thailand, Professor Chawanun Charnsilp, M.D., revealed that “There are 10 million mental health patients in Thailand and around 1 million of them have bipolar disorder, but only one percenter of them receive treatment. People with bipolar disorder
usually begin to show symptoms when they reach adolescence. Those who do not realize may think of the symptoms as common teen mood swings. In some cases, a person with bipolar depression may not mention maniac symptoms, leading to a misdiagnosis as major depressive disorder. A wrong diagnosis averagely delays patients from getting appropriate treatment for 11 years. Bipolar disorder can occur at any age, but it often develops between the ages of 15 and 19, and then between 20 and 24. Half of the patients experience their first symptoms before they turn 20. As it is considered a chronic illness with high relapse rates of 70% – 90%, Thailand needs to accelerate the development of systematic mental health management, including the focus on self-management for patients with mental health problems. So far, the provided support has lacked an effective follow-up system, the stimulation of skills to be continuously used in real situations, and resources to support patients when they are dealing with problems at home. Inappropriate self-management can lead to more severe symptoms and an increased relapse rate.
Studies also show problem-solving training can help patients reduce the severity of bipolar disorder. Importantly, family members play a major role in supporting patients to overcome negative feelings. Treatments for bipolar disorder involve medication in combination with psychosocial treatments such as cognitive behavioral therapy, interpersonal psychotherapy, psychoeducation, and family-focused therapy. The literature review found that the right combination of psychoeducation and medication can minimize the severity of bipolar disorder, and prevent relapse effectively. Another issue to be aware of is the personal opinions about bipolar where often creates misconception as seen on television or media channels. Making jokes about bipolar can send inaccurate messages to the audience, and those with bipolar disorder may feel ashamed and may be less likely to be open about what they are dealing with. It prevents them from seeking help when they need it.
Kriangkraimas Pojanasunthorn, as known as DJ Kendo, shared the story of his suffer from bipolar disorder, hoping to encourage and inspire those who are now dealing with bipolar disorder and other mental illnesses. “Bipolar patients should not feel ashamed or embarrassed to get a treatment, reiterating that the illness is controllable.” He also admitted he was not aware of his early symptoms until the day he physically harmed himself. At that point, he was conscious but could not stop as he was feeling utterly worthless. He then realized the severity of his symptoms and sought help from a psychiatrist. The treatment took 5 consecutive years to bring back his normal life. He added that “I urge the public and government to create a better understanding about bipolar and should be given the opportunity of returning to a normal life.
Nowadays, we can provide education and monitor the results of treatment through new media with technological advancements. It enables mutual learning among patients, their family members and medical personnel through online discussions and telemedicine. These online channels help save time and travel costs. Today’s technology plays an important role in the medical field. It improves the follow-up of patients with mental illnesses. Every factor poses the challenges and future of treatment for bipolar disorder. However, it still requires collaborative efforts from patients, their families, and the public to foster a positive change towards bipolar patients.
# # # # # #