กรุงเทพฯ เมษายน 2564 – จากการที่กรมประมงได้มีการประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ฝั่งทะเลอันดามัน โดยปิดพื้นที่การประมงครอบคลุมภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ตั้งแต่วันที่ เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2564 มาตรการดังกล่าวมีการกำหนดใช้อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และถือเป็นก้าวสำคัญในการจัดการการประมงอย่างยั่งยืนของไทย

แต่หากจะพูดถึงการประมงที่อยู่บนหลักของความยั่งยืนแล้ว นอร์เวย์เรียกได้ว่าเป็นผู้นำของโลกในอุตสาหกรรมนี้ ด้วยเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลเป็นอันดับสองของโลกด้วยชายฝั่งที่ยาวถึง 101,000 กิโลเมตร มีความเหมาะสมสำหรับทำการประมง ทำให้สามารถส่งอาหารทะเลเทียบเท่า 37 ล้านมื้อต่อวันให้กับผู้คนกว่า 150 ประเทศทั่วโลกได้ ประเทศไทยนำเข้าอาหารทะเลจากนอร์เวย์เฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 ตัน นับเป็นมูลค่า 4.9 พันล้านบาทต่อปี ความรับผิดชอบต่อทรัพยากรทางทะเลเป็นหัวใจสำคัญของการทำประมงของนอร์เวย์ที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นประเทศแห่งอาหารทะเล นอร์เวย์ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำประมงจากการจับปลาเสรีมาใช้กฎระเบียบที่เข้มงวด ผ่านการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อสร้างมาตรฐานการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

โมเดลการประมงของนอร์เวย์มีความน่าสนใจ โดยมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นบนพื้นฐานของคุณภาพและความยั่งยืน: และอาจเป็นแนวทางของการประมงไทยในอนาคตได้

ไม่มีการจับแล้วปล่อยนอร์เวย์เป็นประเทศแรกในโลกที่ริเริ่มการประมงอย่างยั่งยืน ด้วยการออกกฏหมายห้ามปล่อยปลาที่ถูกจับกลับสู่ทะเลตั้งแต่ปี 2530 ในขณะที่สหภาพยุโรปประกาศใช้กฎหมายนี้ในปี 2562 นับเป็นเวลาถึง 30 ปีให้หลัง

 

นำระบบโควต้ามาใช้ในการประมงนอร์เวย์ยังเป็นประเทศแรกที่นำระบบโควตามาใช้กับปลาสายพันธุ์ที่สำคัญ ๆ เช่น คอด ต่อยอดการบูรณาการความรู้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล อุตสาหกรรม และหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพื้นที่การประมงที่มีความเปราะบางเชิงนิเวศสูงจะได้รับการปกป้อง ทะเลจะคงความสะอาด และประชากรสัตว์น้ำจะมีความอุดมสมบูรณ์ต่อไป ชาวประมงนอร์เวย์ต้องนำปลาที่จับได้ทั้งหมดขึ้นฝั่ง แต่จะไม่สามารถเอาไปขายทำกำไรมากกว่าโควต้าที่ตัวเองได้รับ

ปกป้องสัตว์น้ำที่ยังโตไม่เต็มวัยนอร์เวย์มีการประเมินจำนวนประชากรสัตว์น้ำต่าง ๆ จากการถูกจับ เพื่อปกป้องตัวที่ยังโตไม่เต็มที่ ทำให้สัตว์น้ำในแต่ละรุ่นสามารถโตเต็มวัยจนเหมาะสำหรับทำการประมง แนวทางนี้ส่งผลในเชิงบวกทั้งด้านระบบนิเวศและเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับการแนะแนวการใช้ขนาดอวน ตาข่าย และตะขอเกี่ยวปลาที่เหมาะสมกับขนาดสัตว์น้ำต่าง ๆ

มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดควบคุมยามชายฝั่งทะเลนอร์เวย์ใช้เวลาและทรัพยากรกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ในการลาดตระเวนตรวจตราการประมงให้สอดคล้องกับกฏระเบียบที่ทางการได้กำหนดไว้ การปิดการประมงชั่วคราวในบางพื้นที่ การห้ามใช้อุปกรณ์จับสัตว์น้ำบางประเภท หรือการเลี่ยงวิธีที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ช่วยปกป้องระบบนิเวศในส่วนที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษ มีการกำหนดให้ทำการประมงในช่วงเวลา พื้นที่ และใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมถึงตรวจสอบเรือประมงที่ขึ้นฝั่งและอยู่ในทะเลอย่างสม่ำเสมอ

อาหารทะเลจากนอร์เวย์อย่างแซลมอน ฟยอร์ดเทราต์ และ ซาบะ ที่เป็นที่นิยมของคนไทย เป็นผลผลิตของฟาร์มและการประมงที่ยั่งยืน แนวคิดของนอร์เวย์คือการยึดระบบนิเวศเป็นหลักในการผลิตอาหารทะเลที่มีคุณภาพให้กับผู้คนทั่วโลกโดยไม่เบียดเบียนสัตว์น้ำที่ยังโตไม่เต็มวัย และปกป้องสายพันธุ์ปลาและแนวปะการังที่สำคัญ โมเดลการประมงของนอร์เวย์ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก จนทำให้นอร์เวย์มีจำนวนคอดและเฮร์ริงมากที่สุดในโลก รวมไปถึงสัตว์น้ำสายพันธุ์อื่น ๆ ก็อาศัยอยู่ในทะเลอย่างอุดมสมบูรณ์ นอร์เวย์ตั้งตัวเป็นกระบอกเสียงเรื่องความยั่งยืนมาหลายทศวรรษ กระตุ้นให้ประเทศอื่น ๆ ออกกฎหมายเพื่อปกป้องสัตว์น้ำเพื่อการประมง และส่งต่อความเชี่ยวชาญในการจัดการการประมงไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อสร้างและคงความอุดมสมบูรณ์ของประชากรสัตว์น้ำในทะเลตลอดมา อาจจะถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องตื่นตัวในเรื่องนี้เช่นกัน

###

เกี่ยวกับสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) เป็นบริษัทมหาชนภายใต้กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และการประมง สภาฯ ทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์ เพื่อพัฒนาและขยายตลาดอาหารทะเลส่งออกจากนอร์เวย์ เป็นตัวแทนผู้ส่งออกอาหารทะเลและอุตสาหกรรมอาหารทะเลของประเทศนอร์เวย์ เครื่องหมายการค้า “Seafood from Norway” เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของอาหารทะเลที่จับได้หรือเพาะเลี้ยงในแหล่งน้ำทะเลที่เย็นและใสสะอาดของประเทศนอร์เวย์