ช่วงปลายปี 1960 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญและสร้างความวุ่นวายมากที่สุดแห่งประวัติศาสตร์ของชาวอเมริกัน ประเทศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางการเมืองและความไม่สงบทางสังคม ถูกผู้ชุมประท้วงอย่างรุนแรงจากเรื่องสังคม เรื่องเพศ สงครามเวียดนาม และความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในด้านเชื้อชาติ กลุ่มคนผิวสีจากทั่วประเทศต้องพบกับความไม่เสมอภาคทางด้านสาธารณสุข ที่อยู่อาศัย การศึกษา และการจ้างงาน ทุกอย่างล้วนกระทบจากความไม่เสมอภาคได้มาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว
ผู้อำนวยการทบวงการสืบสวนแห่งรัฐ เจ.เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ ได้พัฒนา COINTELPRO โปรแกรมหาข่าวกรองที่ถูกออกแบบมาเพื่อสยบเสียงเรียกร้องทางการเมืองและองค์กรที่คิดต่าง ผ่านการตรวจตรา แทรกซึม แคมเปญต่างๆ ที่ทำลายชื่อเสียง และการสร้างความแตกแยก โดยมีการเพ่งเล็งไปที่กลุ่มคนผิวสี เพื่อสลายต้นกำเนิดฮูเวอร์หมายมั่นจะกำจัดพวก “แบล็ก เมสไซอาห์” เขามีการพาดพิงถึงผู้นำชาวผิวสีและสิทธิพลเมืองที่มีจำนวนมากขึ้น ในปี 1967 ฮูเวอร์ได้ยื่นฟ้อง เฟรด แฮมป์ตัน นักศึกษาวิทยาลัยในมิดเวสเทิร์นชาวผิวสี ผู้ก่อตั้งลัทธิเพื่อกิจกรรมทางการเมือง จนเขาเป็นที่จับตามองของหน่วยงานราชการ
แฮมป์ตันได้กลายเป็นประธานแบล็ก แพนเตอร์ ปาร์ตี้ (BPP) ที่อิลลินอยส์เมื่อปี 1968 ทำหน้าที่ผู้นำการต่อสู้เพื่ออิสรภาพขององค์กร edom, for the power of self-determination และเพื่อยุติความโหดเหี้ยมของเจ้าหน้าที่ตำรวจและการสังหารคนผิวสีอย่างทารุณ ทางทบวงได้จัดลำดับให้แฮมป์ตันอยู่ในดัชนีของ “แร็บเบิล-รูเซอร์” หรือ “อากิเตเตอร์” มีการระบุตัวเขาในฐานะของผู้นำการต่อสู้คนสำคัญที่ก่ออันตรายต่อระบบความปลอดภัยของประเทศ และขณะเดียวกันทางเอฟบีไอได้แต่งตั้งให้ วิลเลียม โอ’นีล เข้าไปแทรกซึมกลุ่มบีพีพี เพื่อติดตามข่าวสารและการเคลื่อนไหววงในของแฮมป์ตัน
ในปี 1969 ประธานเฟรด แฮมป์ตันถูกเอฟบีไอสังหารในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 4 ธันวาคม เขามีอายุเพียง 21 ปี และเมื่อวันที่ 15 มกราคม 1990 วิลเลียม โอ’นีล ได้เล่าถึงชีวิตตนเองในวันเดียวกันนั้นผ่านทางซีรีส์สารคดี “Eyes on the Prize 2” เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ผ่านหน้าจอเพียงครั้งเดียวของโอ’นีลเกี่ยวเรื่องการเข้าไปพัวพันกับแฮมป์ตันและแพนเตอร์ ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุ 40 ปี
ในเวลากว่า 2 ปีในกลุ่มบีพีพี แฮมป์ตันมีบทบาทสำคัญต่อแพนเตอร์และสังคมเป็นวงกว้าง จนก้าวไปอยู่ระดับแถวหน้าของประเทศและเป็นที่สนใจจากทั่วโลก ขณะที่เรื่องราวการสังหารแฮมป์ตันโดยรัฐบาลสหรัฐฯ กลับไม่เป็นที่กล่าวถึงในห้องเรียน แต่ผลงานที่แฮมป์ตันฝากไว้ยังคงสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่ม Black Power Movement ตลอดช่วงเวลากว่า 50 ปี
ภาพยนตร์เรื่อง “Judas and the Black Messiah” สร้างจากเหตุการณ์จริง กำกับฯ โดยชาก้า คิง ซึ่งเป็นการกำกับฯ ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ของสตูดิโอเรื่องแรก โปรเจ็กต์นี้ผลิตร่วมกันระหว่างคิงและพาร์ทเนอร์ด้านงานเขียน วิล เบอร์สัน ผู้ร่วมเขียนบทฯ และเคนนี่ ลูคัส และ คีธ ลูคัส ผู้ร่วมแต่งเนื้อเรื่องกับเบอร์สันและคิง คิงมีสายสัมพันธ์ร่วมกับ ไรอัน คูกเลอร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ (“Black Panther,” “Creed,” “Fruitvale Station”) มาอย่างยาวนาน เคยนำเสนอภาพยนตร์ต่อคูกเลอร์และชาร์ลส ดี. คิง (“Just Mercy,” “Fences”) ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ร่วมกับชาก้า คิง อำนวยการสร้างบริหารฯ โดยเซฟ โอฮาเนียน, ซินซี่ คูกเลอร์, คิม รอธ, ป๊อปปี้ แฮงค์ส, ราวี เมห์ทา, เจฟฟ์ สโคล, อนิคาห์ แม็คลาเร็น, อารอน แอล. กิลเบิร์ต, เจสัน คลอธ, เท็ด กิดโลว์ และนีจ้า ควีเค็นดัล
นักแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง “Judas and the Black Messiah” ได้แก่ แดเนียล คาลูย่า ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar (“Get Out,” “Widows,” “Black Panther”) มารับบทเฟรด แฮมพ์ตัน และ ลาคีธ สแตนฟีลด์ (“Atlanta,” “The Girl in the Spider’s Web”) มารับบทวิลเลียม โอ’นีล ภาพยนตร์ยังนำแสดงโดยเจสซี่ พลีมอนส์ (“Vice,” “Game Night,” “The Post”), โดมินิก ฟิชแบ็ค (“The Hate U Give,” “The Deuce”), แอชตัน แซนเดอร์ส (“The Equalizer 2,” “Moonlight”) และมาร์ติน ชีน (“The Departed,” ภาพยนตร์ทางทีวี “The West Wing,” ภาพยนตร์ทางทีวี “Grace & Frankie”)
ทีมนักแสดงยังรวมถึง อัลจี สมิธ (“The Hate U Give,” “Detroit”), ดาร์เรล บริตต์-กิ๊บสัน (“Just Mercy,” “Three Billboards Outside Ebbing, Missouri”), โดมินิก ธอร์น (“If Beale Street Could Talk”), อมารี เชียทอม(“Roman J. Israel, Esq.,” “Django Unchained”), คาเล็บ อีเบอร์ฮาร์ต (“The Post”) และลิล เรล โฮเวอรี่ (“Get Out”)
ทีมงานเบื้องหลังฝ่ายสร้างสรรค์ ได้แก่ ผู้กำกับภาพ ฌอน บ็อบบิตต์ (“12 Years a Slave,” “Widows”) ผู้ออกแบบฉาก แซม ไลเซนโค (“Uncut Gems,” “Frances Ha”) ผู้ลำดับภาพ คริสแทน สปาร์ก (“Random Acts of Flyness”) ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย ชาร์ลีซ แอนทัวเน็ตต์ โจนส์ (“Raising Dion,” “Little Boxes”) หัวหน้าฝ่ายเมคอัพ/ผู้ออกแบบการแต่งหน้าเทียม ชาน ริชาร์ดส (“Black Panther,” “Cloud Atlas”) หัวหน้าฝ่ายช่างผม รีเบ็คก้า วูดฟอร์ค (“Knives Out,” “Joy”) ผู้ผลิตซาวด์มิกเซอร์ มาร์โลว์ เทย์เลอร์ (“Queen & Slim,” “Alex Cross”) ผู้ควบคุมการตัดต่อเสียง ริช โบโลน่า (“The Hunt,” “Marriage Story”) และผู้บันทึกการมิกซ์เสียง สคิป ลีฟซีย์ (“Roma,” “Gravity”) ดนตรีโดยเครก แฮร์ริส และ มาร์ค ไอแซม (“42,” “Beyond the Lights”)
วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส นำเสนอภาพยนตร์ร่วมกับ MACRO/Participant/BRON Creative, a MACRO Media/Proximity Production, a Film by Shaka King เรื่อง “Judas and the Black Messiah” จะเริ่มฉายในโรงภาพยนตร์ 12 กุมภาพันธ์ 2021 จัดจำหน่ายทั่วโลกโดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส
www.judasandtheblackmessiah.net
รายละเอียดการถ่ายทำ
“ประชาชนอยู่ที่ไหน…อำนาจอยู่ที่นั่น”
—ประธานเฟรด แฮมป์ตัน
วิลเลียม โอ’นีล (ลาคีธ สแตนฟีลด์) ถูกจับกุมฐานปลอมแปลงเป็นเจ้าหน้าที่เอฟบีไอ และมีการขับรถที่ทำการขโมยมาไปทั่วรัฐ เขาได้รับคำตัดสินจากเจ้าหน้าที่สอบสวนเอฟบีไอให้อยู่ในคุกเป็นเวลา 7 ปี หรือจะแฝงตัวเป็นผู้ต่อต้านข่าวกรอง และแทรกซึมเข้าไปอยู่ในพรรคแบล็ก แพนเตอร์ แห่งรัฐอิลลินอยส์ เพื่อตามติดผู้นำที่น่าจับตามองอย่างประธานเฟรด แฮมป์ตัน (แดเนียล คาลูย่า) โอ’นีลเป็นคนฉลาด ดูดี และกำลังอยู่ในภารกิจที่ต้องเอาชีวิตรอดจากระบบที่ทำให้เขาไร้พลังอำนาจ ตอนนี้เขากำลังนั่งอยู่ที่สถานีตำรวจตรงข้ามกับสายลับพิเศษเอฟบีไอ รอย มิตเชลล์ (เจสซี่ พลีมอนส์) และถูกไหว้วานให้ช่วยทำหนึ่งในเรื่องไม่ดีอีกมากมาย
ภายในอิลลินอยส์แชปเตอร์ของพรรคแบล็ก แพนเตอร์ พรรคที่หาญกล้าของแฮมป์ตันได้เติบโตขึ้น จนเมื่อเขาตกหลุมรักกับนักปฏิวัติ เดโบราห์ จอห์นสัน (โดมินิก ฟิชแบ็ค) ความสัมพันธ์ครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อทั้งคู่เป็นอย่างมาก จนเกิดการกระตุ้นลัทธิเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองของจอห์นสัน และยั่วยุให้เกิดโต้เถียงกับแฮมป์ตันเรื่องมนุษยนิยม
โอ’นีลพบว่าสถานการณ์ของเขาเริ่มมีความซับซ้อนมากขึน และยิ่งถลำลึกเมื่อเขาใกล้ชิดกับแฮมป์ตันมากขึ้น เขายังคงใช้ชีวิตอยู่ในความควบคุมของสายลับมิตเชลล์ แต่ขณะเดียวกันเขาเริ่มมีความคิดที่สอดคล้องกับจุดหมายของแพนเตอร์ส และได้พบกับความไม่เสมอภาคทางสังคมเพิ่มมากขึ้นร่วมกัน
เมื่อโตขึ้นมาผู้สร้างภาพยนตร์ ชาก้า คิง รับรู้ถึงเรื่องการตายอันน่ากลัวของเฟรด แฮมป์ตัน แต่เขากลับรู้เรื่องเส้นทางชีวิตเพียงน้อยนิด และคนรอบตัวของแฮมป์ตันมีแต่คนเห็นแก่ตัวจนทำใหชีวิตของเขาดูไร้ความหวัง ซึ่งนั่นเป็นถ้อยคำที่ยังคงอยู่อย่างยาวนานกว่าอายุขัยของเขา ในความจริงแล้วเมื่อคิงได้อ่านสุนทรพจน์ของแฮมป์ตันเป็นครั้งแรก เขารู้สึกทึ่งในไหวพริบ ความลึกซึ้ง และทัศนวิสัยของเขาที่ผ่านทางถ้อยคำและความคิด รวมถึงประเด็นสำคัญที่ทำให้ข้อความของเขายังคงตราตรึง
ชาก้า คิงเล่าวา “ผมคิดว่าในสายตาของคนผิวสีจำนวนมาก เฟรด แฮมป์ตันคือฮีโร่ตัวจริง เพราะความไม่หวั่นเกรง ความไม่หวาดกลัว และความไม่ท้อถอยอย่างที่เขาเป็น แต่ผู้คนมักให้ความสนใจเรื่องการตายอย่างน่าสลดของเขา แทนการสนใจเรื่องความกล้าหาญที่เขามี ซึ่งผมอยากเปลี่ยนแปลงมุมนั้น”
ช่วงแรกของการเริ่มโปรเจ็กต์นี้ พี่น้องผู้สร้างภาพยนตร์อย่างเคนนีและคีธ ลูคัส ได้ไปพบคิงและชวนเขามาร่วมงานในฐานะผู้เขียนบทฯ และผู้กำกับฯ โปรเจ็กต์ใหม่ของแฮมป์ตัน ทั้งสามคนรวมถึงนักแสดง/ผู้อำนวยการสร้างฯ/ผู้เขียนบทฯ (และเพื่อน) เจอร์เมน โฟว์เลอร์ มีการติดต่อประสานงานกันตลอด แต่ยังไม่ถึงจุดที่จะเกิดแรงกระตุ้นจนกระทั่งปี 2016 ที่คิงประกาศว่าปีนี้พวกเขาควรจะมารวมตัวกันอย่างจริงจัง และเริ่มทำสิ่งที่เขาเรียกว่า “ดำดิ่งลงไปให้ลึก ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมทั้งเนื้อเรื่องและประวัติศาสตร์” ผลลัพธ์ที่ได้คือการสะสมผลงานทีละเล็กละน้อยจนได้ข้อมูลยืดยาว
ในช่วงแรกโฟล์เลอร์แนะนำคิงว่าแฮมป์ตันมีอีกหลายโปรเจ็กต์ที่อยู่ในช่วงพัฒนา โปรเจ็กต์หนึ่งเป็นผลงานร่วมกับผู้อำนวยการสร้างฯ / นักเขียน วิล เบอร์สัน ซึ่งโฟว์เลอร์รูจักเขาดี โฟว์เลอร์ถามคิงว่าอยากลองอ่านบทของเบอร์สันมั้ย? ด้วยความสงสัยของคิงว่าเนื้อเรื่องจะเหมือนกับเนื้อเรื่องที่เขาเคยอ่านหรือไม่ เขาจึงไปพบกับเบอร์สันที่สุดท้ายได้มาร่วมงานกัน และตกลงที่จะรวม 2 โปรเจ็กต์ของทั้งคู่เข้าด้วยกัน
ตลอดช่วงการพัฒนาเรื่องราว คิงคอยดูแลโปรเจ็กต์ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงตลอด “สิ่งที่จุดประกายให้ผมในช่วงแรกไม่ใช่การสร้างให้เหมือนบันทึกประวัติชีวิตจนเกินไป เดอะ ลูคัส บรอสพูดเอาไว้ว่า ‘เฮ้ ทำให้หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของเฟรด แฮมป์ตันและวิลเลียม โอ’นีลในโลกของ COINTELPRO นะ’ ผมคิดว่าเรื่องราวลึกลับที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้เป็นคอนเซ็ปต์ชั้นดีของหนัง และผมก็ยิ่งอินกับตัวละครของแฮมป์ตันมากขึ้นเรื่อยๆ พวกเรามีแรงดึงดูดเข้าหาเฟรดกันเยอะมากเพราะลักษณะคำพูดของเขา เขาเป็นคนฉลาด มีไหวพริบ และอารมณ์ดี”
นอกจากการเน้นย้ำเรื่องความกล้าในการใช้วาทะศิลป์อย่างกล้าหาญ มีการมองหาจังหวะสะท้อนถึงจุดประสงค์ของนักกิจกรรมมากขึ้น เบอร์สันอธิบายว่า “ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเกี่ยวกับประธานเฟรด คือเขาคล้ายกับบารัค โอบามา เป็นยุคที่มาก่อนโอบาม่า แต่ฝากเรื่องพัฒนาการของการปฏิวัติเอาไว้มากกว่า เขากล่าวคำปราศรัยออกมาจากใจได้อย่างงดงาม เขาเรียนด้านกฎหมายและการรวบรวมชุมชนที่ชิคาโก้ ซึ่งทำให้เกิด ‘การตั้งข้อสงสัย’ ที่เขามีในเรื่อง”
คีธ ลูคัสเล่าให้ฟังว่าเขากับ เค็นนี่ พี่ชายของเขา “ได้ยินเรื่องของเฟรด แฮมป์ตันครั้งแรกตอนที่เรียนคอร์สแอฟริกัน-อเมริกันร่วมกัน ก่อนหน้านั้นเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเขาหรือเรื่องราวนี้เลย ไม่มีการสอนกันเรื่องนี้จากที่ๆ เรามา เราอ่านเรื่องของเขาแล้วถึงกับอึ้ง ไม่มีใครพูดถึงเลยว่ามันเป็นความอยุติธรรมขนาดไหน นั่นคือหนึ่งในอีกหลายเรื่องที่เราพบเมื่อได้อ่านเรื่องราวทั้งหมด …”
“เราไม่มีวันลืมได้ลง มันจะฝังติดไปกับเรา” เค็นนี่ ลูคัสกล่าวขึ้น “พอเราเรียนด้านวงการบันเทิงช่วงปีที่ 2-3 ตอนนั้นเราก็เริ่มเห็นภาพว่าวงการนี้มีการบริหารอย่างไร เราคุยกันว่า ‘เราต้องสร้างเรื่องนี้ให้ได้’ มันเป็นเรื่องที่ทำให้เราช็อคที่ไม่มีการกล่าวถึงกันเลยตั้งแต่เขาเสียชีวิตลง”
“แต่ก็ไม่ได้ช็อคขนาดนั้น” คีธเล่าต่อว่า “เพราะมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการต่อต้าน ด้วยความเป็นตัวเขาและสิ่งที่เขาเป็น และการโต้เถียงเรื่องการตายของเขา เรารู้ว่ามันต้องเป็นการต่อสู้ที่ยากลำบากแน่ แต่เราก็ยังรู้สึกหลงใหลและพยายามหาทางถ่ายทอดเรื่องราวของเขาออกมาอยู่ดี”
ต้องขอบคุณที่คิงร่วมแชร์ความหลงใหลของพวกเขา และรู้สึกว่าเขารู้จักอีกหลายคนเป็นอย่างดี
คิงได้พบกับไรอัน คูกเลอร์ตอนที่ทั้งคู่นำภาพยนตร์ไปฉายในงาน 2013 Sundance Film Festival มีการทานมื้อค่ำและพูดคุยกันจนพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาอีกหลายปี คิงมองเห็นความสามารถของเขา และคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์มากต่อโปรเจ็กต์ในภายภาคหน้า จนคิงได้โทรหาเขา
คิงอธิบายว่า “ในบรรดาหลายสิ่งที่มีค่า ไรอันมีความเชื่อมั่นในเฟรด แฮมป์ตัน จูเนียร์ และ อาคัว เนอรี [ชื่อในอดีตเดโบราห์ จอห์นสัน] วางใจที่จะเสี่ยงไปกับตำนานของเฟรด จากเรื่องเล่าหลายเรื่อง เขาคือผู้ชายที่ทำให้ผมร่างเนื้อเรื่องไว้ 13-14 ชุด รู้มั้ยว่าผมสาปส่งเขาในใจไปแล้วกี่ครั้ง?!” เขาหัวเราะ “แต่เขาเป็นคนที่มีความมหัศจรรย์ด้วยหลายล้านเหตุผล หนังเรื่องนี้มีโอกาสสร้างขึ้นน้อยมากหากไม่มีเขามาร่วมงานด้วย ทักษะความรู้ของเขาที่นำมาใช้พัฒนาหนังให้มีขนาดใหญ่ ถ่ายทอดเรื่องราวอันทรงพลังสู่คนทั่วไปแบบนี้ได้มันเหมือนกับโชคชะตา”
ในความเป็นจริงแล้วมันคือโชคชะตา เพราะคุณน้าและคุณลุงของคูกเลอร์ต่างเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มแบล็กแพนเตอร์ บ้านของคุณยายอยู่ในซอยที่เกิดเหตุการณ์แรกของแพนเตอร์ส นั่นคือการติดตั้งป้ายหยุดไว้ตรงทางแยกที่เด็กผิวสีวิ่งข้ามทางจราจรกันเป็นประจำ
เมื่อคิงเดินทางไปถึง คูกเลอร์และเพื่อนร่วมธุรกิจ/ภรรยา ซินซี่ คูกเลอร์ กำลังคุยเรื่องรายชื่อผู้ผลิตและโดยเฉพาะโปรเจ็กต์ต่างๆ เขาเล่าว่า “โดยผิวเผินแล้วมันดูเหมือนผลงานบันทึกประจำวัน เหมือนงานโฆษณา แต่ลึกๆ แล้วมันมีอะไรมากกว่านั้น ผู้ชมอาจรู้สึกว่ามีบางเรื่องที่จับต้องไม่ได้ นอกจากจะได้มีส่วนร่วมในเรื่องราวที่มีความน่าสนใจและน่าสนุก”
คูกเลอร์เล่าต่อว่า “แฮมป์ตันมีความสามารถพิเศษด้านการคิดไอเดียที่ซับซ้อนให้สื่อสารออกมาได้อย่างง่ายดาย เขาดูมีความสามารถมากในการพบปะผู้คนในระดับของเขา โดยที่ไม่ต้องมีใครเสียสละตัวตนใดๆ เขามีผลกระทบต่อคนผิวสีอย่างเห็นได้ชัด และรวมถึงคนระดับล่างที่ถูกดูแคลนด้ว เขามองการณ์ไกลถึงเรื่องการสนับสนุนสิ่งต่างๆ และยังคงยกระดับความสำคัญเรื่องต่างๆ มานานเกินครึ่งศตวรรษนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ลอบสังหารเขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมุ่งมั่น การใส่ใจเรื่องสุขภาพ การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ระบบเหยียดเชื้อชาติ ความยุติธรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม เขาเป็นทั้งนักคิด นักพูด และนักสอนที่เก่งเหลือเชื่อ โปรเจ็กต์นี้คือหนังที่เราอยากสนับสนุนมาตลอด”
ก่อนจะมีโปรเจ็กต์นี้ ผู้สร้างฯ ชาร์ลส ดี. คิง เคยร่วมงานกับชาก้า คิงและไรอัน คูกเลอร์มาแล้ว สำหรับการช่วยเหลือเรื่องการปิดข่าวสิทธิมนุษยชน ต้องมีการรวมตัวผู้มีทักษะและนักกิจกรรมเป็นกระบอกเสียงให้เห็นความอยุติธรรมในสังคมและการทารุณของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกิดขึ้นในสังคมของพวกเขา โอกาสที่จะได้ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวของเฟรด แฮมป์ตัน นักปฏิวัติผู้สร้างกลุ่มพันธมิตรสายรุ้งขึ้นมาและยกระดับสังคมในชิคาโก้ปี 1960 มันสะท้อนถึงคิงและเป็นแนวทางเดียวกับจุดมุ่งหมายของบริษัทสื่อกลาง MACRO คิงไม่รู้สึกสงสัยในการก้าวเข้ามามีส่วนร่วมของเขาเลย
ผู้อำนวยการสร้างฯ อธิบายว่า “โปรเจ็กต์นี้ถือเป็นการร่วมมือกันอย่างเป็นเลิศ ละเราอยากมีส่วนร่วมในรากฐานนั้น ปัจจัยอื่นที่สำคัญคือการยอมรับในประเด็นสำคัญของเรื่องราว และตั้งใจถ่ายทอดออกมาบนความถูกต้อง มีผู้คนหลายรุนที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มแบล็กแพนเตอร์สเป็นครั้งแรกจากหนังเรื่องนี้ แม้จะมีหนังดีๆ อีกหลายเรื่องที่เล่นกับเรื่องราวของแบล็กแพนเตอร์สก็ตาม แต่หนังเรื่องนี้มุ่งไปที่เรื่องของประธานเฟรด แฮมป์ตัน และผลกระทบที่เขามีต่อสังคม เราต้องมั่นใจว่าจะสร้างออกมาอย่างถูกต้องเพื่อเป็นเกียรติแก่สิ่งที่ครอบครัวฝากเอาไว้”
ลาคีธ สแตนฟีลด์ ผู้รับบท “จูดาส” ที่มีความยากในเรื่องเล่าว่า “การเดินทางของเฟรดไม่เคยหยุด ผมต้องขอบคุณครอบครัวที่มอบความช่วยเหลือให้เรา จนสามารถถ่ายทอดเรื่องนี้ออกมาสู่ทุกคนทั่วโลกได้ รวมถึงชาก้าและทุกคนที่รวมทุกอย่างในเรื่องเข้าด้วยกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือเรามีโอกาสสร้างผลงานในโปรเจ็กต์ที่ต้องอาศัยความกล้า ผมอยากดูอะไรแนวนี้มากขึ้น เนื้อเรื่องที่ผลักดันผู้คนได้ โปรเจ็กต์หรือเรื่องราวอะไรที่ช่วยให้ผมและคนอื่นๆ พัฒนาขึ้นได้”
ไรอัน คูกเลอร์เล่าว่า “ผมคิดว่าชาก้าเกิดมาเพื่อสร้างหนังเรื่องนี้… ผมไม่ได้พูดไปเรื่อยนะ เพราะมันเห็นได้ชัดเจนเลย ผมคุ้นเคยกับผลงานของาก้า เขาเป็นที่รู้จักในฐานะของผู้กำกับหนังตลกมากกว่า เขาร่วมงานกับพี่น้องลูคัสที่เป็นนักแสดงตลกตั้งแต่ช่วงแรก ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน คนที่มีความสามารถในด้านนั้นได้ออกมาให้ความเห็นและมีความเข้าใจเรื่องมนุษยชนและระบบในสังคมเป็นอย่างดี ภาพยนตร์มีการนำเสนอเรื่องราวที่ยังคงสร้างความรำคาญใจให้พวกเรา มีหลายเรื่องที่ต้องจัดการให้เหมาะสม ซึ่งการที่เรื่องนี้มาอยู่ในมือของซาก้าจะถูกถ่ายทอดออกมาในแบบที่เราคาดไม่ถึง ซึ่งมันอิงจากความจริงของทุกตัวละครในแบบที่ชาก้าต้องการ และเราสามารถเข้าใจได้ ไม่มีใครมองข้ามหรือไม่เข้าใจประเด็นไหน ตั้งแต่เริ่มแรกมันมีความพิเศษและโดดเด่นอยู่ในตัวอย่างเหลือเชื่ออยู่แล้ว”
“ประธานเฟรด แฮมป์ตันมีอำนาจ ด้วยพลังจากคำพูดของเขาและความซื่อสัตย์ได้หลอมรวมคนในสังคมต่างๆ ไม่ว่ากลุ่มเหล่านี้จะมีปัญหาใดมาก็ตาม” แดเนียล คาลูย่า ผู้รับบทตำแหน่งแบล็ค เมสไซอาห์กล่าว “การพูดคุยกับผู้คนที่ชิคาโก้ ผมได้ยินมาว่าเขามีพรสวรรค์ด้านการเพิ่มพลังความขัดแย้งของแก๊งค์ มีการรวมตัวคนขาวจากแอปพาลาเชียและชิคาโก้ ชาวลาตินและคนผิวสีมารวมตัวกันเพื่อผลประโยชน์ทางสังคม ผมคิดว่านั่นคือสิ่งล้ำค่าที่เขาฝากเอาไว้มาถึงทุกวันนี้ การได้สวมบทบาทเขา.. ถือว่าเป็นเกียรติอย่างหนึ่ง”
คาลูย่ากล่าวเสริมว่า “เมื่อเป็นเรื่องของแบล็กแพนเตอร์ส ผมคิดว่ามันมีเส้นกั้นระหว่างความเข้าใจกับความจริง ประธานเฟรด แฮมป์ตันถูกฆาตกรรมก่อนที่ผู้คนจะรู้ว่าเขาคือต้นกำเนิดของหลายสิ่งที่มีผลกระทบ มีหลายโครงการที่ถูกนำมาใช้ โดยเฉพาะเรื่ององค์กรนักสังคมนิยม เพราะคำพูด หลักปรัชญา และแนวคิดต่างๆ ของประธานเฟรด แฮมป์ตัน มีการสถาปนาตัวเองและกลุ่มแพนเตอร์สให้เป็นกลุ่มที่พร้อมจะต่อสู้ เราตัดเขาออกจากเรื่องการสร้างคุณความดีให้กลุ่มสังคม รวมถึงการเป็นปรปักษ์ต่อสิ่งที่กลุ่มร่วมกันยืนหยัด ผู้คนจำได้แค่เรื่องพวกนี้ พวกเขาจดจำภาพต่างๆ และการกล่าชักจูงของหน่วยรัฐบาล เพื่อสร้างความหวาดกลัวและปลิดชีพพวกเขา”
สแตนฟีลด์เล็งเห็นหลักปรัชญาที่มีความมุ่งมั่นมากกว่าเป้าหมายของแพนเตอร์ส “ผมคิดว่าเวลามีสิ่งที่สอดคล้องกับสถาบัน/องค์กรที่ไม่มีความแข็งแกร่ง ผู้คนจะตั้งข้อสงสัยว่าสถาบันนั้นดูไม่ปลอดภัย ผมคิดว่านั่นคือสิ่งที่แฮมป์ตันและแพนเตอร์สหวาดกลัวมาก พวกเขารู้ดีว่าตัวเองกำลังแย่ และประธานเฟรดได้มาบอกพวกเขาต่อหน้าว่า ‘ไม่ เราจะไม่มีวันยอมรับกับเรื่องนี้ เราจะยืนหยัดในสิ่งที่เราเชื่อมั่น’ ซึ่งนั่นคือเรื่องจริง ผมไม่รู้สึกอะไรเลยนอกจากเคารพรัก”
“ผมมองว่าเขาเป็นคนที่พร้อมแบกรับภาระอันหนักหน่วง” คาลูย่ากล่าว “เขาเป็นคนที่ยอมพลีชีพเพื่อผู้คนของตัวเอง การเข้าใจถึงความคิด ภาพโดยรวม และความรู้สึกเหมือนแรงบันดาลใจที่ยังคงอยู่กับตัวผม”
ทีมนักแสดง
“เราจะต่อสู้การเหยียดเชื้อชาติ ไม่ใช่ด้วยการเหยียดเชื้อชาติ แต่เราจะสู้ด้วยความสามัคคี”
—ประธานเฟรด แฮมป์ตัน
ผู้สร้างภาพยนตร์สัญญาว่าจะเลี่ยงการสร้างภาพยนตร์แนวชีวประวัติแบบสมัยก่อน แต่เลือกที่จะนำเสนอในมุมของผู้ชายที่มีจินตนาการถึงความฝันของชาวอเมริกัน ผ่านการเล่าเรื่องราวที่มีความน่าสนใจ
ชาก้า คิง อธิบายว่า “วิลเลียม โอ’นีลมีความซับซ้อน ฉลาด แสวงหาประโยชน์และโอกาสที่อยู่ตรงหน้าได้ เขาสามารถเนผู้นำที่เก่งของธุรกิจได้ แตโอกาสเหล่านั้นไม่มาถึงเขาเมื่อเป็นคนผิวสีในชิคาโก้เมื่อปี 1968 ซึ่งนั่นไม่ยุติธรรมสำหรับเขาเลย เมื่อเขาพาตัวเองมาถึงทางแยก เขาสามารถประกาศตัวพร้อมกับ ‘กำลังคน’ ได้ มันคือสิ่งเดียวกับที่เฟรดและแพนเตอร์สกำลังชักชวน หรือ ‘พลัง’ ที่ว่านั้นเราตีความได้ว่าหมายถึงพลังอำนาจในอเมริกา โดยมีเอฟบีไอเป็นตัวแทนอำนาจ เขาจึงเลือกที่จะเอาตัวเองเข้าไปข้องเกี่ยวกับการหลอกลวง”
คิงพยามามเลี่ยงการมองตัวละครในฐานะของเหยื่อ ในมุมมองของผู้สร้างฯ โอ’นีลกำลังพยายามคว้าประโยชน์จากโอกาสที่เข้ามาหาเขา เขามีอำนาจในด้านการชักชวนและสามารถโน้มน้าวคนอื่นได้ เหมือนที่เขาเลือกที่จะยกระดับความรุนแรงโดยเอฟบีไอ มีการโจมตีจากการอยู่ในจุดที่มีพลังอำนาจ เขามีการหลอกลวงทั้งเรื่องการปลอมเป็นผู้มีอำนาจ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สายลับ เพื่อเพิ่มความน่าไว้ใจให้ตัวเขาเอง และเพื่อให้ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ เมื่อเทียบกับการมองการณ์ไกลของแฮมป์ตันแล้ว ความรุนแรงของโอ’นีลยังไม่ถึงขั้นเต็มที่นัก
ลาคีธ สแตนฟีลด์มาคัดเลือกตัวเพื่อรับบทบาท แต่เขาก็ได้พบกับความธรรมดาในตัวโอ’นีลภายใต้การเมคอัพที่มีความซับซ้อน สแตนฟีลด์เล่าว่า “สำหรับผมแล้ววิลเลียม โอ’นีลก็เหมือนคนส่วนใหญ่ เวลาเผชิญกับสิ่งที่ต้องเลือกระหว่างการทำสิ่งที่กล้าหาญหรือสิ่งที่ทำให้ตัวเองรอดปลอดภัย ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่เลือกที่จะเอาตัวเองรอดไว้ก่อน มันไม่ได้ทำให้เราดูเป็นคนเลว แค่เป็นคนปกติอย่างที่เราเป็น และนั่นทำให้คนอย่างเฟรด แฮมป์ตันต่างจากโอ’นีลและคนส่วนใหญ่ แฮมป์ตันพยายามประหยัดเวลาเพื่อหาเสียง เขาตัดสินใจเลือกทุกสิ่งบนความมั่นคงที่สอดคล้องตามหลักปฏิบัติ โอ’นีลเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งที่เลือกเส้นทางตามที่ตัวเองสนใจ พยายามปกป้องตัวเอง จนในที่สุดเขาต้องพยายามหาทางเอาตัวรอด
“เขาชอบการแสดง” สแตนฟีลด์เล่าต่อว่า “เขาเป็นนักแสดง แต่อีกมุมเขาก็ชอบเกิดภาพหลอนและรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย เขาสนุกกับการหลบหนีอย่างหัวซุกหัวซุนและไม่มีใครจับได้ ส่วนโอ’นีลต้องรับมือกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าโดยที่เขาก็ไม่เข้าใจเลยสักนิดอย่างเรื่องเอฟบีไอ มันคือปีศาจตัวใหญ่ยักษ์ที่เขาไม่พร้อมจะรับมือหรอก”
คูกเลอร์ให้ความเห็นว่า “ลาคีธเดินอยู่บนความเสี่ยงที่ดูจะยุ่งยากซับซ้อนได้ เขาเป็นอีกด้านของโอ’นีล แต่ตัวละครนี้คิดว่าตัวเองเป็นทั้งวายร้ายและเหยือ มันเป็นเรื่องที่ยากมากแต่รู้สึกจับต้องได้ เขาขอให้เขาทำอะไรหลายอย่างมากในบทนี้ และเขาก็แสดงออกมาได้เกือบทั้งหมด ชาก้าเล่าว่า มีเพียงคนเดียวที่รับบทนั้นได้ ซึ่งผมเห็นด้วย 100% เลย”
เมื่อบิล โอ’นีลเผชิญกับทางเลือกที่ยากลำบาก เฟรด แฮมป์ตันเชื่อว่าทุกคนบนโลกเกิดมามีสิทธิ์ใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับความจริงได้ รัฐบาลหรือระบบใดที่ยึดสิทธิ์นั้นจากประชาชนเหมือนการทรยศ ประธานเฟรด แฮมป์ตันสื่อสารอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา มุ่งเน้นในเชิงปฏิบัติ และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ ซึ่งอำนาจนั้นทำให้เขาตกอยู่ในอันตราย เขามีความใส่ใจประชาชนอย่างแท้จริง และเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ก็เพราะความรักที่มีต่อพวกเขา เขารักอย่างสุดขั้วหัวใจและมันสะท้อนให้เห็นข้ามทศวรรษมาถึงทุกวันนี้
ชาก้า คิงจำได้ว่า “ก่อนจะได้พบกับแดเนียล คูลายา ผมรู้อยูแล้วว่าเขาคือคนที่ใช่ ครั้งแรกที่ได้พบกันผมรู้สึกทึ่งกับความเป็นผู้ใหญ่ในตัวเขา เขาเป็นคนที่รักความเป็นส่วนตัวมาก มีหลายอย่างเกี่ยวกับเขาที่ผมไม่กล้าแชร์ แต่เขามีความเกี่ยวข้องทางด้านการเมืองและด้วยความเป็นผู้ใหญ่ของเขา ทำให้เขาเป็นตัวเลือกสำหรับบทแฮมป์ตันที่ชัดเจน นอกจากนั้นแดเนียลยังเป็นคนตลกและใช้มีวาทศิลป์ ทุกอย่างมีความคล้ายกับประธานเฟรดมากเลยครับ”
คาลูย่าเล่าวา “ใจความสำคัญในคำพูดและไอเดียของประธานเฟรด แฮมป์ตันที่เป็นสาระสำคัญคือเพื่อปลุกกระตุ้นสังคมของเขา เขาไม่ต้องการแค่ให้พวกเขาเป็นอิสระ… เขาอยากให้ทุกคนปลดปล่อยตัวเอง ผมคิดว่านั่นมีเหตุผลและชัดเจนมากพอที่จะทำให้ผู้อื่นมีอำนาจ ผมไม่เคยรับรู้ถึงสารของเขามาก่อนเลย ไม่ว่าจะที่โรงเรียนหรือที่ไหนก็ตาม”
คาลูย่าไม่ต่างจากผู้สร้างฯ ที่มองความสำเร็จของประธานเฟรด แฮมป์ตันช่วงแรกเหมือนสัญญาที่สื่อถึงความเป็นผู้นำ เขาเล่าว่า “ผมเดินทางไปบ้านเกิดของเขา เห็นโรงเรียน บ้านของเขาในวัยเด็ก ได้ยินหลายเรื่องราวเกี่ยวกับเขาที่ทำงานเพื่อสังคมตั้งแต่ตอนอายุ 14-15 ต่อสู้เพื่อให้คนผิวสีแถวบ้านได้ใช้สระว่ายน้ำท้องถิ่นได้ ในฐานะของแบล็ก แพนเตอร์ส เขาเข้าถึงทั้งพื้นที่คนผิวขาวและพื้นที่ชาวลาตินอเมริกา พวกเขามีสิ่งใดบ้างที่คล้ายกันและเชื่อมต่อพื้นที่ยากจนเข้าด้วยกัน เราทำงานเพื่อปากท้องของเด็กๆ นำการดูแลสุขภาพที่ดีถึงสังคมของพวกเขาฟรี เขาสามารถลดภัยอันตรายและเป็นผู้นำกลาวปราศรัยได้ สิ่งเหลานั้นทำให้เขากลายเป็นผู้นำได้อย่างมีประสิทธาพ และทำให้เขาได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและสหพันธรัฐ”
แม้ว่าภาพยนตร์จะได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริง การตัดสินใจเรื่องต่างๆ ล้วนอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริง พร้อมกับมีการปรับเปลี่ยนบางอย่างหากจำเป็น อย่างกรณีนี้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องเสียงพูดของคาลูย่า และท่าทางของประธานเฟรด แฮมป์ตัน คิงยืนยันว่า “หากแดเนียลเลียนแบบน้ำเสียงของเฟรด แฮมป์ตันที่พูดไวมาก และเขามาจากหลุยเซียน่าบวกกับโทนเสียงแบบตอนใต้ ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจบทสนทนาที่เกิดขึ้นในหนัง และสิ่งที่เฟรดพูดออกมาก็มีความสำคัญมากด้วย การถ่ายทอดไอเดียของเขาออกมาคือสิ่งที่ทรงพลังมาก”
ระหว่างช่วงที่ทำการฝึกซ้อม มีการเรียนรู้เรื่องเสียงหลายแบบจากผู้พูดที่หยิบยืมมาเป็นตัวอย่าง และรวมเข้ากับสไตล์ของแฮมป์ตัน
สำหรับบทนี้คาลูย่าพยายามจะใช้ความคิดในแบบของประธานเฟรด แฮมป์ตัน “ผมตื่นขึ้นมาตอนเช้าและฟังสุนทรพจน์ของมัลคอล์ม เอ็กซ์ระหว่างอาบน้ำ ผมอ่านมาว่าประธานเฟรดฟังสุนทรพจน์ของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง และมัลคอล์ม เอ็กซ์เพื่อหาไอเดียการบรรยาย ผมดูฟุตเทจของเขาระหว่างทานอาหาร และตั้งแต่ช่วงที่ผมออกจากบ้าน ขึ้นรถ ผมจะฝึกเรื่องการใช้สำเนียงด้วย ผมต้องร่วมงานกับโค้ชด้านสำเนียงท้องถิ่นเป็นเวลานาน 3 เดือน ผมเก็บรายละเอียดต่างๆ ของเรื่องเสียง มีการเรียนร้องเพลงกับนักร้องโอเปร่า เรียนเรื่องการหายใจและการควบคุมเสียง เตรียมตัวสำหรับการแสดงในบทเขา ผมรู้ว่าต้องพูดสุนทรพจน์ของเขาอานนะยาว 10 ชั่วโมงต่อวัน ผมร้องเพลง Gospel, James Brown และเพลงในยุคนั้น ทั้งหมดก็เพื่อสร้างรายละเอียดที่สำคัญต่อตัวละครขึ้นมา”
สแตนฟีลด์สารภาพว่า “มีอีกหลายด้านที่ผมรู้สึกว่าเป็นความท้าทายในการรับบท โอ’นีล ผมใส่ใจเรื่องประธานเฟรดและสิ่งที่เขาฝากเอาไว้มาก อีกส่วนคือผมกังวลแดเนียลที่รับบทเฟรดด้วย มีหลายครั้งที่มันเหมือนมีเส้นกั้นระหว่างความจริงกับเนื้อเรื่องที่ดูไมชัดเจน และมีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในใจ ซึ่งนั่นคือบทพิสูจน์ของผู้เขียนฯ นักแสดง รวมถึงบรรยากาศที่ชาก้าสร้างขึ้นมา และแดเนียลด้วย ผมอยู่ในอาการกระวนกระวายไปนานหลายวันเลย”
ในเรื่องช่วงที่มีการกล่าวถึงการต่อสู้ในมหาวิทยาลัย การโน้มน้าวใจอย่างตรงไปตรงมาของแฮมป์ตันได้สร้างความประทับใจให้กับหญิงสาวคนหนึ่ง ที่พูดจานุ่มนวลแต่มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ในความเชื่อของตัวเอง เธอคือเดโบราห์ จอห์นสัน
ชาก้า คิงได้เล่าว่า “พวกเขามีการคุยแลกเปลี่ยนกันตอนที่เขาพูดจาฟังดูค่อนข้างทะนงตัวใส่เธอ และเธอตอบกลับด้วยคำพูดที่คมคาย เราจะรู้สึกได้ว่าเฟรด แฮมป์ตันไม่ใช่คนที่ยอมให้กับการพูดจาเล่นๆ เธอไม่ได้ย้อนกลับมาหาเขาธรรมดา แต่เพราะความฉลาด.. และความน่าสนใจในตัวเขา เฟรดเป็นตัวละครที่ดูมีความกล้าหาญตั้งแต่ต้น เขาเหมือนซูเปอร์ฮีโร่ แต่เมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไป เขาได้พบกับประสบกาณ์ชีวิตที่เปลี่ยนเขาจากคนวิเศษกลายเป็นคนธรรมดา ซึ่งหลายเรื่องนั้นเกิดขึ้นเพราะเดโบราห์ ทั้งการได้รู้จักเธอและตกหลุมรักเธอ จนเขากลายเป็นคนสามัญชน ในทางกลับกันเธอได้กลายเป็นนักปฏิวัติ”
โดมินิก ฟิชแบ็คผู้รับบทนี้เล่าความเห็นว่า “ฉันคิดว่าการเรียนรู้เรื่องที่เป็นรากฐานของสังคมอย่างแท้จริง และผลงานของแบล็ก แพนเตอร์ คือเส้นทางเริ่มต้นสู่อิสรภาพและการตัดสินใจเพื่อตัวเอง มันเป็นเรื่องที่ง่ายมากสำหรับรัฐบาลในการกล่าวให้ร้ายต่อแพนเตอร์ มันไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับพวกเราเลยที่จะรับสารด้านเดียวและตัดสินใจลงมือตามข้อมูลที่ได้มา มีการค้นหาข้อมูลด้วยตัวเอง อ่านในสิ่งที่พวกเขาได้อ่านกัน วิเคราะห์สารเพียงด้านเดียวและคิดว่า ‘โอ้ มันเป็นเรื่องจริงแน่’ มีหลายเรื่องราวบนโลกออนไลน์ มีหลายแหล่งข่าวที่ดูน่าเชื่อถืออย่างที่ไม่ควรเป็น มันอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะแยกได้ระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องไม่จริง ประธานเฟรด แฮมป์ตันและกลุ่มแพนเตอร์เชื่อมั่นใน ‘การเพิ่มขึ้นของความแตกต่าง’ ไม่มีการบอกให้ผู้คนเชื่ออะไร แต่มีการมอบช่องทางการศึกษาเพื่อการตัดสินใจตามหลักฐานที่อ้างอิงได้ การเรียนรู้เกี่ยวกับแบล็ก แพนเตอร์เหมือนการได้เรียนรู้จะควบคุมการศึกษาเพื่อการวิเคราะห์ของเราอย่างไร และยังมีสัญชาตญาณของเราเป็นตัวนำทางอีกด้วย ซึ่งเป็นการรับรู้ความจริงได้อย่างลึกซึ้ง”
โดยส่วนตัวแล้วฟิชแบ็คยืนยันว่า “ฉันเป็นคนโรแมนติก และถึงแม้มันไม่เกี่ยวกับความรัก คนรักคนแรกบนหน้าจอของฉันก็เป็นประธานเฟรด ฉันรู้ว่าตอนที่อยู่ในอพาร์ทเมนท์ของพวกเขา เดโบราห์ปกป้องประธานเฟรดขณะที่เธอกำลังตั้งท้องอยู่ 9 เดือน ฉันไม่รู้ว่าจะมีใครทำแบบนั้นบ้าง ฉันไม่รู้ว่าตัวเองจะกล้าพอที่จะทำอะไรแบบนั้นหรือเปล่า การรับบทที่ทำอะไรแบบนั้น แสดงความกล้าหาญ ไม่เห็นแก่ตัว และมีความรักมอบให้ ถือว่าเป็นเกียรติอย่างหนึ่งเลยค่ะ”
ชาร์ลส ดี. คิง เล่าว่า “โดมินิกถ่ายทอดความเป็นเดโบราห์ออกมาได้เต็มที่มาก เธอมีความฉลาด ช่างคิด ใจดีและอบอุ่น ซึ่งเธอก็ซึมซับทุกอย่างไว้ในการแสดง ผมโชคดีมากที่ได้รู้จักกับเดโบร์ จอห์นสัน แต่เรารู้จักเธอในฐานะของคุณแม่อาคัว และประธานเฟรด แฮมป์ตัน จูเนียร์ผ่านการสร้างหนังเรื่องนี้ ผมยังพูดได้อีกวว่าสิ่งที่โดมินิกแสดงออกมาในมุมของคุณแม่อาคัว เธอดูเข้มแข็งและมีความเป็นแพนเตอร์ เธอรู้วิธีการเหนี่ยวไกเพราะเธอคือนักปฏิวัติ เธอเรียกลูกชายตัวเองว่า ‘สหาย’ ฟังดูอ่อนโยนแต่มีความเข้มแข็งมาก”
คูกเลอร์จำได้ว่า “คุณแม่อาคัวและประธานเฟรด จูเนียร์วางใจพวกเขาในเรื่องราวของพวกเขา และพวกเขาอยากเห็นว่าใครจะมาสวมบทบาทเหล่านี้ ชาก้าและชาร์ลสได้พาแดเนียลกับโดมินิกไปชิคาโก้ เพื่อนั่งอยู่ในบ้านของแฮมป์ตันในวัยเด็กรวมกับพวกเขา… ที่กลับมาพร้อมความเคารพในครอบครัวของประธานเฟรด”
คาลูย่าออกความเห็นว่า “มีทั้งไฟและความแข็งแกร่งที่อยู่ภายในตัวคุณแม่อาคัวที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน พอได้ฟังจากที่เธอแชร์ประสบการณ์ เธอรู้เห็นเรื่องราวทุกอย่างมาแล้ว! มันเหลือเชื่อมาก รู้สึกมีแรงบันดาลใจที่มีเธอมาอยู่ใกล้ๆ เธอให้การต้อนรับและสนับสนุนผมในขั้นตอนการทำงานนี้ดีมากครับ พอเธอกับประธานเฟรด แฮมป์ตัน จูเนียร์มาเยือนที่ฉากเป็นครั้งที่ 3 ในช่วงการถ่ายทำ พวกเขานั่งอยู่กับพวกเรา กินอาหารกลางวัน และคุยกันเรื่องประวัติศาสตร์ การได้ยินเรื่องแบบนั้นจากคนที่อยู่ในเหตุการณ์ มันมีความหมายกว่าการศึกษา มันเหมือนกับพรจากสวรรค์ มันยิ่งเป็นการยืนยันเจตนาของการสร้างหนังเรื่องนี้และทำให้เรามีไฟขึ้นอีกครั้ง”
เมื่อวิลเลียม โอ’นีล ต้องเผชิญหน้ากับเอฟบีไอ ซึ่งผู้ดูแลอนาคตของเขาคือสายลับพิเศษ รอย มิตเชลล์ เขาทำหน้าที่เสมือนครอบครัวเดียวที่โอ’นีลรู้จัก ชาก้า คิงมารับหน้าที่ตัวละครสำคัญของสายลับมิตเชลล์ เขาเล่าว่า “บางคนอาจมองว่ามันเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ แต่สิ่งสำคัญคือมิตเชลล์มีความเมตตา ผมเคยคุยกันว่าเวลาหนังเกี่ยวข้องกับการเหยียดผิว จะต้องมีตัวร้ายที่ไว้หนวดจนทำให้เราไม่อยากสนใจซะง่ายๆ เพราะคิดว่า ’โอ้ ฉันไม่ใช่คนแบบนั้น’ สิ่งสำคัญคือต้องแสดงให้เห็นว่าเฟรด แฮมป์ตันไม่ได้ถูกสมาชิกแคลนลอบสังหาร มันเป็นการมองการเมืองอย่างเป็นกลาง มันเป็นเรื่องของคนที่คิดว่าเขาทำสิ่งที่ถูกต้อง คนที่ไม่เคยมองเห็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากประสบการณ์ตัวเอง เพราะเขาไม่เคยได้สัมผัสมัน”
รอย มิตเชลล์เชื่อมั่นใจข้อละเว้นของอเมริกา และรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เหมือนไฟนำทางสู่ความถูกต้องตาลศีลธรรม ทหารผ่านศึกในสงครามเกาหลีที่ผันตัวมาเป็นสายลับเอฟบีไอคนหนึ่ง เขาคิดว่าตัวเองคือผู้ปกป้องดูแลผลประโยชน์ของอเมริกา แม้ว่าจะเป็นผลิตผลของกลุ่มจิม โครว์ เซาธ์ การสืบสวนการฆาตกรรมของนักกิจกรรมเพื่อสิทธิพลเมืองในมิสซิสซิปปี้อยู่ในความดูแลของคูคลักซ์แคลน มิตเชลล์มองแพนเตอร์เหมือนกับแคลนต่างเพียงเสื้อผ้าที่สวมใส่ พวกเขาคือผู้ก่อการร้าย แต่ในฐานะของเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย รอยเชื่อว่าบางเส้นก็ไม่อาจข้ามผ่านได้… จนกว่าจะมีคำสั่งจากฮูเวอร์ทีบังคับให้เขาละทิ้งระเบียบส่วนตัว และให้เขาใช้หลักศีลธรรม
เจสซี่ พลีมอนส์รับบทมิตเชลล์ เขาพบว่า “บทภาพยนตร์มีแรงกระตุ้นหนักพอควร มันเป็นเรื่องราวในชีวิตจริง แต่ก็ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองอีกแบบ มันมีพลังมากครับ เป็นเรื่องราวที่ต้องบอกต่อ ผมรู้เรื่องเกี่ยวกับแฮมป์ตันเพียงน้อยนิด แต่ผมไม่ได้เตรียมใจมาก่อนว่าจะอินกับมันขนาดนั้น ยิ่งตัวละครของผมมีมุมมองที่หนักแน่นในเรื่องความถูกและผิด และเขามีการนำไปใช้กับการทำงานเอฟบีไอ มันทำให้ผมรู้สึกว่าต้องแสดงให้เขาดูไม่ธรรมดา เมื่อเทียบกับหน่วยงานอีกมากมายในยุคนั้น เขามีความเข้าใจเรื่องศีลธรรมสูงมาก ซึ่งมันขัดแย้งกับสถานการณ์ที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนที่เขาพยายามควบคุมในเรื่องของแฮมป์ตัน มันเกี่ยวข้องกับ ‘การปกป้องจิตใจของเราเอง’ และเขาต้องละทิ้งมันเข้าสู่ด้านมืด เขาเลือกฝั่งในประวัติศาสตร์ไปโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งมันมีความหมายต่อปัจจุบันในหลายเหตุผล มันน่าโกรธที่ยังคงมีความเกี่ยวข้องมาถึงทุกวันนี้อยู่”
หากมิตเชลล์คือผู้มีเมตตาแห่งที่ทำงาน ผู้บริหาร เจ.เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ คงเป็นตัวแทนของความไร้มนุษยธรรม เขามีบทบาทในฉากที่ผู้เขียนบทฯ วิล เบอร์สัน เล่าให้ฟังว่า “มันมีความยิ่งใหญ่และน่ากลัว เหมือนกับฉากแรกของ ‘Star Wars’ ที่ผู้ทำลายดาวมาโผล่บนหน้าจอ และเราสัมผัสได้ว่าอาณาจักรนั้นยิ่งใหญ่กว่าผู้ที่ก่อกบฎ ไอเดียของไรอัน คูกเลอร์เริ่มด้วยการทำให้ในห้องเต็มไปด้วยเจ้าหน้าที่ผิวขาว ทุกคนกำลังดูฟุตเทจที่อยู่ด้านหลังฮูเวอร์ มันทำให้ผู้ชมรู้สึกความรุนแรงและความเข้มข้นของแคมเปญรัฐบาลเรื่องการต่อต้านแบล็ก แพนเตอร์สและพวกหัวรุนแรงในยุค 60”
ประเด็นสำคัญของลัทธิฟาสซิสต์ของเจ.เอ็ดการ์ ฮูเวอร์อยู่ที่เรื่องความไม่มั่นคง เขาเป็นคนที่มีความลับและความกลัวหลายอย่าง เขารู้พลังจากความหวาดกลัวดี และรู้ว่าจะใช้มันอย่างไร โดยมีการนำไปใช้ในพื้นที่สาธารณะของชาวอเมริกา รวมถึงผู้ดูแลอีกนับพันที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเขา
มาร์ติน ชีน ผู้รับบทนี้ได้เล่าว่า “แม้ว่าจะมีการใช้อนาจในทางที่ผิดอย่างที่เราเห็นในประวัติศาสตร์ ผมก็ยังรู้สึกตกใจกับความหวาดระแวงอันยาวนานของฮูเวอร์ที่มาจากการไล่ตามศัตรู นี่คือตัวอย่างของเรื่องที่คาดไม่ถึงในสังคมของเราจากการไล่ล่าเพื่อสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมกันอย่างเท่าเทียม แต่เขากลับทำลายสิทธิพลเมืองและการขับเคลื่อนของคนผิวสี โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้ที่เขาเรียกว่า ‘แบล็ก เมสไซอาห์’ ได้แก่ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง, เม็ดการ์ อีเวอร์ส. เฟรด แฮมป์ตัน และฮูเวอร์ได้ปิดชีวิตของแฮมป์ตัน”
เบอร์สันเล่าว่า “ผมคิดมากกว่าเรื่องการเป็นทหารพลร่ม ฮูเวอร์ไม่สบายใจกับโปรแกรมให้อาหารเช้าฟรีโดยกลุ่มแพนเตอร์ เขาเล่าเอาไว้ในกระดาษจดบันทึก ในความคิดของผมสิ่งที่ทำให้เอฟบีไอเลือกสังหารแฮมป์ตันเพราะเรื่องกลุ่มพันธมิตรสายรุ้ง สิ่งที่กังวลไม่เกี่ยวกับการติดอาวุธหรือคำมั่นสัญญา แต่เป็นโปรแกรมที่ออกแบบเพื่อความอยู่รอดและความสงบ ซึ่งเป็นการคุกคามอย่างแท้จริง”
ชาก้า คิงกล่าวเสริมว่า “มาร์ติน ชีนเป็นคนมีชื่อเสียง และผมคิดว่าเราโชคดีมากที่ได้คนมีชื่อเสียงมารับบทแบบนี้ แม้ว่าจะมีคนอื่นที่มีชื่อเสียงและรับบทร้าย แต่เห็นได้ชัดว่าเขาเป็นนักแสดงที่เก่งมาก อย่างแรกที่ผมสังเกตเวลาคัดเลือกตัวนักแสดง คือผมเข้าถึงตัวนักแสดงที่มีฝีมือได้มั้ย? และนักแสดงคนนั้นเข้าถึงบทบาทได้ง่ายและถูกต้องเหมาะสมหรือเปล่า? เขาคือความวิเศษที่มีในหนังเรื่องนี้เลยครับ”
บรรดาผู้มีตำแหน่งที่อยู่รอบตัวแฮมป์ตันมีทั้งหนุ่มสาวที่พร้อมจัดกำลังอาวุธและสัมภาระตางๆ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ได้แก่ แอชตัน แซนเดอร์สผู้รับบทจิมมี่ พัลเมอร์; อัลจี สมิธผู้รับบทเจค วินเทอร์ส; ดาร์เรล บริตต์-กิ๊บสันผู้รับบทบ็อบบี้ รัช และ โดมินิก ธอร์นผู้รับบทจูดี้ ฮาร์มอน
จิมมี่ พัลเมอร์ซึมซับความโกรธแค้นมาอย่างเต็มที่ กลุ่มแบล็ก แพนเตอร์สยอมให้เขาปลดปล่อยความโกรธนั้นออกมาในรูปแบบของการจัดตั้งสังคมขึ้นมาอย่างสร้างสรรค์ แต่ด้วยการควบคุมภัยคุกคามที่ไม่เพียงพอในชั่วขณะหนึ่ง ทำให้ชีวิตของเขาและกลุ่มเพื่อนต้องตกอยู่ในอันตราย
แซนเดอร์สเล่าว่า “ผมคิดว่าจิมมี่ พัลเมอร์เปรียบเสมือนพลังเงียบ ในฐานะผู้ติดตามของแฮมป์ตัน เขาพร้อมที่จะใช้ชีวิต ต่อสู้ และตาย จิมมี่คอยจับตาดูตลอดเวลา เขาต้องตกอยู่ในอันตราย แบกรับภาระหลายเรื่อง แต่เขาก็เดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เขาเหมือนกับจระเข้เป็นคนผิวสีที่เต็มไปด้วยความโกรธแค้น แต่สำหรับอเมริกาในช่วงเวลานั้น ความโกรธแค้นที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้”
ความกระตือรือร้นของเจค วินเทอร์สเห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเร่ขายหนังสือพิมพ์แบล็ก แพนเตอร์ในช่วงที่อากาศเหน็บหนาว หรือการมอบอาหารเช้าให้เด็กๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ฤดูหนาวทำให้การทำงานยากขึ้นมาก แต่เขายังมีพลังบวกและรอยยิ้มที่แสดงออกถึงความอิ่มใจ และเบื้องหลังรอยยิ้มนั้นเหมือนคำมั่นสัญญาของนักกิจกรรมที่จะอ้าแขนปกป้องสังคมจากความอำมหิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และพฤติกรรมชาตินิยมของคนผิวขาว
“ครั้งแรกที่เราเห็นเจค” สมิธออกความเห็นว่า “เขาเหมือนแสงสว่างที่เจิดจ้า เขาเป็นเด็กวัยรุ่นที่นิสัยดี อยู่ท่ามกลางความเคร่งเครียดที่ผลักดันให้เขาต้องโตเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง แต่เราจะเห็นเด็กวัยรุ่นคนนี้พยายามรับมือกับสถานการณ์ที่อยู่เหนือความสามารถของเขาตลอด”
รัชแทบจะเป็นแกนกลางคนสำคัญของอิลลินอยส์ แบล็ก แพนเตอร์ส ในฐานะของผู้ร่วมก่อตั้ง เขาต้องรับหน้าที่ในการดำเนินการ และพิจารณาให้เฟรดทำหน้าที่เป็นชื่อเสียงและความมุ่งมั่นของกลุ่ม นอกจากนั้นรัชยังอยู่ในตำแหน่ง Deputy Minister of Defense บิล โอ’นีลจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของเขาไปโดยปริยาย
บริตต์ กิ๊บสันเล่าถึงตัวละครของเขาว่า “เขาเป็นคนที่ดูมีเสน่ห์และมีเรื่องราวที่น่าชื่นชม เขาไม่ใช่แค่ตัวละครตัวหนึ่ง แต่มีความเป็นมนุษย์ โดยส่วนตัวแล้วผมรู้สึกปลื้มใจและนับว่าเป็นการเดินทางที่ยอดเยี่ยมมากครับ ผมยกย่องในสิ่งที่กลุ่มแพนเตอร์เคยยืนหยัดและยังคงเป็นแบบนั้นสืบเนื่องต่อมา ผมรู้ว่าจะต้องแสดงออกมาให้ถูกต้องที่สุด”
จูดี้ ฮาร์มอนไม่ล้อเล่นกับการรับบทนี้ แม้ว่าอิลลินอยส์แชปเตอร์เป็นกลุ่มก้าวหน้าสุดของพรรค แต่ก็มีการยกย่องสิทธิสตรีมากกว่าแชปเตอร์อื่น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับผู้หญิงที่จะมารับหน้าที่หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัย เช่นเดียวกับจิมมี่ พัลเมอร์ เฮอร์มอนแสดงให้เห็นถึงความจริงจังอย่างเต็มที่ และการฝึกฝนของเธอยิ่งทำให้เธอมีความแตกต่าง
โดมินิก ธอร์นเองก็เดินหน้าหาข้อมูลเกี่ยวกับแพนเตอร์เพื่อเตรียมรับบทฮาร์มอน ซึ่งเป็นตัวละครที่มีความซับซ้อน “พอฉันเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับประธานเฟรด ในฐานะของผู้นำและคนธรรมดาที่จูดี้ซึมซับได้อย่างชัดเจน ทั้งหมดเป็นเรื่องราวในมุมของผู้หญิงไปเลยค่ะ ฉันดูวีดีโอต่างๆ และเลื่อนไปจนกระทั่งได้เห็นหน้าของผู้หญิง ฉันอยากเห็นใบหน้าเหล่านั้นและได้ยินน้ำเสียง จนฉันจับใจความได้ว่าจูดี้เป็นสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่ม และเป็นผู้หญิงคนสำคัญของกลุ่มแบล็ก แพนเตอร์ เธอกำลังมองหาความสัมพันธ์ แต่ต้องเป็นความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ ฉันคิดว่ามันเป็นช่วงที่ใกล้เกิดความรุนแรงขึ้นกับคนผิวสีและเธอเองก็รู้ดี ซึ่งฉันคิดว่าทั้งเธอและประธานรู้ดีว่าต้องมีเรื่องแบบนั้น เธอรู้ว่าถึงแม้พวกเขาจะไม่ต้องการมัน แต่มันก็จะเข้ามาหาพวกเขาอยู่ดี”
ลิล เรล โฮเวอรี่ ผู้รับบท เวย์น ที่ทำงานช่วงกะกลางคืนในชิคาโก้และได้มาพบกับวิลเลียม โอ’นีล ช่วงกลางดึกที่มีการดื่มกันระหว่างคนสามัญธรรมดากับคนแปลกหน้าทั่วไป
โฮเวอรี่เล่าว่า “การเดินทางมาจากชิคาโก้ทำให้ผมได้ยินเรื่องของเฟรด แฮมป์ตันและเรื่องราวของเขา ผมดีใจมากที่ได้อยู่ท่ามกลางทีมนักแสดงเก่งๆ และพูดขึ้นว่า ‘ถ้าคุณจะสร้างหนังเรื่องนี้ต้องมีผมอยู่ในเรื่องด้วยล่ะ โอเคมั้ย?’”
ไรอัน คูกเลอร์เน้นย้ำว่า “ภาพที่ชาก้านึกไว้เกี่ยวกับทีมนักแสดงมันสุดยอดมาก เขามีทั้งมุมมองและความรู้สึกว่านักแสดงแต่ละคนควรแสดงแบบไหน ตั้งแต่แดเนียลและลาคีธที่ต้องมีท่าการเดิน การพูดคุย และการหายใจในบทบาทของพวกเขา ไปจนถึงเจสซี่ พลีมอนส์, โดมินิก ฟิชแบ็ค… ลิล เรล โฮเวอรี่ ที่กลับมาร่วมงานจาก ‘Get Out’… มาติน ชีนนักแสดงชื่อดัง ซึ่งแต่ละคนจะมีโน้ตที่ระบุเลเวลของตัวเองไว้ผ่านตัวอักษรบนหน้ากระดาษ และชาก้ากำกับพวกเขาอย่างเงียบๆ ซึ่งพวกเขาก็ถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างงดงาม”
ชาก้า คิงได้กล่าวสรุปว่า “ผมมีนักแสดงทุกคนแบบที่ผมต้องการ มันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย ผมแต่งภาพยนตร์ให้ลาคีธ ผมแต่งภาพยนตร์ให้แดเนียล แต่งให้เจสซี่และโดมินิก ในความเป็นจริงแล้วตั้งแต่ช่วงร่างเรื่อง ผมอยากได้ตัวคนนั้นคนนี้ อยากได้ตัวเธอ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก และทุกคนกลับมารับบทเหล่านี้ได้จริงๆ”
สถานที่ถ่ายทำ
“หากคุณกล้าต่อสู้ เท่ากับคุณกล้าคว้าชัยชนะ
หากคุณไม่กล้าจะสู้ งั้นก็ช่างมันเถอะ คุณไม่สมควรได้รับชัยชนะ”
—ประธานเฟรด แฮมป์ตัน
ความใส่ใจแบบเดียวกันของผู้สร้างภาพยนตร์เกิดขึ้นกับการคัดเลือกตัวนักแสดง ช่วงที่มีการเลือกหัวหน้าแผนกที่จะถ่ายทอดจินตนาการของชาก้า คิงให้ออกมาสมจริงสำหรับเรื่อง “Judas and the Black Messiah” ได้แก่ ผู้กำกับภาพ ฌอน บ็อบบิตต์ ผู้ออกแบบฉาก แซม ไลเซนโค ผู้ลำดับภาพ คริสแทน สปราก และผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย ชาร์ลีซ แอนทัวเน็ตต์ โจนส์
คิงได้รวบรวมรูปถ่ายเวสต์ไซด์ของชิคาโก้ในประวัติศาสตร์ช่วงปลายยุค 60 ที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของทีมงาน มีการฉายภาพยนตร์หลายเรื่องอย่าง “Heat” และ “When We Were Kings” และมีการรวบรวมภาพขึ้นมา บางครั้งต้องอาศัยประสบการณ์ของบ็อบบิตต์ในฐานะของตากล้องหนังสงคราม มีการจดเป้าหมายโดยรวมเอาไว้ก่อนจะเริ่มการเปิดกล้องกัน คิงกล่าวเสริมว่า “แต่เรื่องแบบนั้นไม่เกิดขึ้น… แต่เรามีเวลาพูดคุยกันมากพอผ่านบรรยากาศฉากในหนัง เรารู้เลยว่าจะทำงานร่วมกันอย่างไรในช่วงที่มีการตัดสินใจเรื่องเหล่านั้น ก่อนที่เราจะเข้าไปอยู่ในฉากกัน”
มีการสำรวจหลายเมืองในช่วงก่อนเปิดกล้อง และสถานที่ทรงคุณค่าในเชิงสถาปัตยกรรมของคลีฟแลนด์ เช่น ถนนที่เต็มไปด้วยโคมไฟ ลานจอดรถสำหรับที่พักอาศัย และสถานที่โดดเด่นใกล้เคียงกับชิคาโก้ราวปี 67 จนถึง 69 ที่ประจำการของแบล็ก แพนเตอร์ในพื้นที่แห่งประวัติศาสตร์ของคลีฟแลนด์ ที่รู้จักกันในชื่อหมู่บ้านสลาวิคใน Zverina Building ก่อสร้างขึ้นปลายปี 1800 (มีการอิงจากภาพต่างๆ ที่ได้มา) สถานที่จับกุมตัวเฟรด แฮมป์ตัน (หลังจากที่มีการจับเขาในฐานขโมยไอศครีมไปมูลค่ากว่า 70 เหรียญ) ซึ่งเกิดขึ้นที่ Mansfield Reformatory ใกล้ช่วง 1990 ซึ่งตอนนี้กลายเป็นที่ตั้งของ Ohio State Corrections Museum
เพื่อรักษาอารมณ์ของแฮมป์ตันและแพนเตอร์เอาไว้ ผู้สร้างภาพยนตร์ได้พยายามเช่าโบสถ์ต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวคนในหลายส่วนของเมือง มีทั้งสถานที่สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์หรือพื้นที่ให้เช่า ได้แก่ Lane Metropolitan Church, Josephat’s Church และ North Presbyterian Church ซึ่งใช้จำลองเป็นที่ประจำการหลักของคราวน์ส (เฟรดและผองเพื่อนของเขาใช้เป็นที่พบปะกันที่สนามของคราวน์ส เพื่อนำเสนอไอเดียที่จะร่วมมือกัน)
ตึกที่มีความโดดเด่นอย่าง The Masonic Performing Arts Center อาคาร 7 ชั้นที่มีพื้นที่มากกว่า 102,000 ตร.ฟุต มีการใช้เป็นสถานที่นำเสนอสำหรับฮูเวอร์ของแฮมป์ตันและแพนเตอร์ ฉากที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์แบบนี้ถ่ายทอดโดยชีนและนักแสดงที่อยู่ด้านหลังอีกนับ 100 คนในบทพนักงานรัฐ (ต่อมาได้เพิ่มเป็น 600 คนในภายหลัง) เมื่อนักแสดงถูกเรียกตัวเข้าฉากให้มาฝึกซ้อมครั้งแรก ชีนเดินข้ามฉากผ่านชาก้า คิงและผู้ช่วยผู้กำกับของเขา และตรงมายังที่นั่งของ “เจ้าหน้าที่” นักแสดงผู้มารับบทฮูเวอร์เริ่มทำการแสดงสด และขอให้กลุ่มฝูงชนยืนขึ้นพร้อมกล่าวคำปฏิญาณ ทุกคนยืนขึ้นอย่างไม่ลังและกล่าวคำปฏิญาณ จากนั้นชีนได้ขอบคุณเหล่านักแสดงและสวมทบาทฮูเวอร์ เพื่อแนะนำตัวเองต่อนักแสดงและทีมงาน
ชาก้า คิงได้กล่าว่า “ฉากนั้นในช่วงแรกของเรื่องมีพลังมาก สำหรับหนังที่มีการคัดตัวนักแสดงขึ้นมาใหม่เพื่อแพนเตอร์ ไปจนถึงน้ำเสียงของฮูเวอร์ และความไม่แยแสต่อเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ มันคือสิ่งที่วิลและผมรู้สึกตื่นเต้นมาก”
ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย โจนส์ ได้รเมร่วมงานกับชาก้า คิงเมื่อปี 2013 โจนส์จำได้ว่า “ตอนที่ชาก้าบอกให้ฉันมาร่วมงานในโปรเจ็กต์เกี่ยวกับเฟรด แฮมป์ตัน ฉันกำลังทำงานอยู่ในรายการเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเวลา ซึ่งมีสมาชิกของแบล็ก แพนเตอร์มาร่วมด้วย ฉันบอกกับเขาว่า “เพื่อน ฉันศึกษาข้อมูลมาเรียบร้อยแล้ว!’”
สำหรับการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอิลลินอยส์ แพนเตอร์ โจนส์พบว่าเสื้อผ้าของพวกเขาไม่ค่อยเป็นทางการนัก มีความคล้ายชุดทหารมากกว่าชาวโอคแลนด์ทั่วไป แพนเตอร์ในแบบชิคาโก้ผสมกับหมวก GI และหมวกแบบชาวฝรั่งเศส บางครั้งมีการเลือกเสื้อแจ็คเก็ตสไตล์สงครามโลกครั้งที่ 2 ทับเสื้อโคทหนังสีดำอย่างที่หลายคนจำได้ โจนส์และแผนกของเธอได้ศึกษาข้อมูลเรื่องเสื้อผ้าในยุคนั้นทั้งจากลอสแองเจลิส ซินซินแนติ แอตแลนต้า โคลัมบัส และคลีฟแลนด์
ผู้ออกแบบฉากฯ ไลเซนคำได้ว่า “ครั้งแรกที่ได้อ่านบทรู้สึกเซอร์ไพรส์ด้วย 2 เหตุผล ข้อแรกคือรู้สึกเหมือนเป็นหนังของสตูดิโอที่เคยดูตอนเด็กๆ มันดูไม่เหมือนการสร้างหนังสตูดิโอที่มีความทันสมัย เหมือนกับหนังอเมริกันยุค 1970 แบบใหม่มากกว่า พวกเขาปรับให้เป็นบรรยากาศในช่วงที่เกิดปัญหา ซึ่งเป็นการมอบความยุติธรรมให้เนื้อเรื่อง มีภาพที่น่าตื่นเต้นและชวนเรียกความสนใจ”
การค้นหาข้อมูลของไลเซนโคยังรวมถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ได้จาก Freedom of Information Act รวมถึงคดีเกี่ยวกับแบล็ก แพนเตอร์จากเอฟบีไอ และข้อมูลต่างๆ จากพิพิธภัณฑ์ที่เข้าถึงได้ “เราอยากสร้างชิคาโก้ที่ดูสมจริงเหมือนกับยุคนั้น ซึ่งจะดูไม่เหมือนกับภาพในหนังแบบที่ควรจะเป็น เรามีการคุยกันเรื่องเศษขยะบนท้องถนน มีการใช้รถที่ถูกเผา พยายามถ่ายทอดบรรยากาศของเศรษฐกิจในช่วงปลายยุค 60 ให้สมจริง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเรามาก”
มีการพบอาคารต่างๆ ในคลีฟแลนด์ที่บริเวณด้านในไม่มีการแตะต้องใช้งานตั้งแต่ช่วงยุค 1970 ซึ่งมีทั้งเรื่องดีและไม่ดี บางฉากพร้อมใช้งานและมีการเคลื่อนย้ายข้าวของบางส่วน ซึ่งมีการใช้งานอย่างหนักในช่วงที่มีการก่อสร้าง บางส่วนทำให้ระลึกถึงเรื่องราวในอดีตและไม่สามารถใช้ได้แล้วเนื่องจากความทรุดโทรม
ไลเซนโคเล่าว่า “เราพยายามสร้างอพาร์ทเมนท์ของเฟรดและเดโบราห์ขึ้นมาใหม่ให้เหมือนเดิม หลังเกิดการสังหารตำรวจไม่ได้ปิดบริเวณที่เกิดเหตุฆาตกรรม มีการเปิดใช้งานปกติ คนท้องถิ่นมีการต่อแถวเพื่อเข้าเยี่ยมชมพื้นที่ และด้วยเหตุนั้นจึงมีรูปภาพอ้างอิงมากมายว่าอพาร์ทเมนท์มีหน้าตาในช่วงหลังแบบไหน เราสามารถผลิตเฟอร์นิเจอร์และลวดลายที่มีความพิเศษขึ้นมาได้ เพราะมีรูปภาพหลังจากช่วงที่มีการเข้าค้นสถานที่จำนวนมาก มีการศึกษาเพื่อคาดเดาสู่การย้อนกลับไปช่วงก่อนวันที่ 4 ธันวาคม 1969”
สำหรับการถ่ายทำในสถานที่จริง 90% ในช่วงการถ่ายทำที่บีบแน่น พลังที่เกิดขึ้นในฉากตามที่คาลูย่าเล่าเอาไว้คือ “เต็มไปด้วยความวุ่นวาย มีหลายอย่างเกิดขึ้นตลอดเวลาแต่ชาก้ายังคงอยู่ในความนิ่งสงบ ท่ามกลางความวุ่นวายเขาแสดงความนิ่งสงบและความชัดเจนออกมาให้เห็น เขาถนัดเรื่องการปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไป และค้นหาอะไรใหม่ๆ ที่ซ่อนอยู่ในนั้น เขาเป็นนักแก้ปัญหาและมันดีมากที่ได้ร่วมงานกับเขา”
นักแสดงและทีมงานมีความมุ่งมั่นและเคารพตลอดการถ่ายทำภาพยนตร์ ทุกคนเข้าใจถึงความรับผิดชอบต่อการถ่ายทอดเรื่องราวของแฮมป์ตันและ’นีลสู่จอภาพยนตร์ และต้องแสดงออกมาอย่างถูกต้อง..โดยเฉพาะมุมของ ประธานเฟรด แฮมป์ตัน จูเนียร์และคุณแม่อาคัว เนรีทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้สังเกตการณ์ในฉาก ความช่วยเหลือของเขาในโปรเจ็กต์ยังทำให้สามารถใช้สุนทรพจน์ต่างๆ ของประธานเฟรดได้อย่างทรงพลังอีกด้วย เพื่อเลี่ยงจากการถ่ายทอดเรื่องราวอย่างไม่ตรงไปตรงมา โดยคิงยืนยันว่ามีการถ่ายทอดเรื่องราวออกมาอย่าง “ถูกต้องเที่ยงตรง”
ชาก้า คิงออกความเห็นว่า “พูดตามตรงเลยว่าผมคิดว่ามีไม่กี่คนที่รู้ประวัติศาสตร์เรื่องนี้ แม้จะอ่านเรื่องราวต่างๆ ของแพนเตอร์มาก็ตาม เพราะ 70% ของเรื่องถูกเขียนขึ้นโดยนักข่าวหรือนักเขียนที่เอฟบีไอจ้างมาเพื่อนำเสนอภาพของพวกเขา” ต่อมาบันทึกพวกนั้นได้กลายเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ผู้สร้างฯ และทีมงานต้องใช้เพื่อศึกษาข้อมูล คิงกล่าว่า “มีบางอย่างที่ผมอ่านเจอและนำมาใส่ในบท ประธานเฟรด จูเนียร์อาจพูดขึ้นมาว่า “ไม่ เรื่องจริงไม่ใช่แบบนั้น’ เราก็ต้องเขียนกันใหม่ โดยสร้างสถานการณ์และตัวละครที่ปรับแก้ไขจากข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไปมาก ซึ่งนั่นคือสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นเกียรติมากที่ได้ทำ”
คุณแม่อาคัวได้เล่าให้ฟังว่า เฟรด แฮมป์ตันเคยนำเพลงมาใส่ในสุนทรพจน์ของเขาด้วย ซึ่งเพลงที่เป็นที่จดจำที่สุดคือเพลงของ Supremes ที่ชื่อ “Someday We’ll Be Together” เพื่อเน้นย้ำเรื่องราวของแฮมป์ตันและโอ’นีล ผู้สร้างภาพยนตร์ได้ขอความช่วยเหลือจากนักประพันธ์ดนตรี เครก แฮร์ริส และ มาร์ค ไอแซม ผู้สร้างบรรยากาศของชิคาโก้ในยุค 60 ให้มีชีวิตขึ้นมาได้ โดยมีการผสมเสียงเพลงแจ๊ซและดนตรีจากเครื่องสาย โดยมีการร่วมมือกับเควลล์ คริส และ คริส คีย์ส ที่มีส่วนช่วยด้านการเน้นจังหวะเสียงดนตรี นักดนตรีทั้ง 4 ที่วยกันสร้างบรรยากาศเสียงที่สะท้อนถึงยุคนั้นขึ้นมา แต่เต็มไปด้วยความทันสมัยและความน่าตื่นเต้นเร้าใจ
สำหรับการร่วมงานกับแฮร์ริสและอิแชมเกือบเป็นไปไม่ได้จากบรรยากาศช่วงกักตัวจากโรคระบาด ระหว่างช่วงที่สตูดิโอบันทึกเสียงทั้งหมดปิดตัว ทั้งคู่ต้องอาศัยการโทรคุยและเฟสไทม์ รวมถึงการส่งไอเดียเรื่องเสียงดนตรีต่างๆ ผ่านไฟล์ที่เปิดขึ้นมา แสดงความเห็นกลับไป ปรับปรุงแก้ไขและส่งกลับมาใหม่ “ตอนที่เครกกับผมทำงานร่วมกันไม่ได้ ชาก้ามีหนังทั้งเรื่องที่มีเสียงดนตรีจากยุคก่อนที่สามารถผ่านการอนุญาตได้ เพื่อใช้เป็นแผนสำรอง มันเหมือนการทดลองอย่างหนึ่งเพื่อดูว่าแบบไหนจะใช้งานได้ดี บางอย่างก็ใช้งานได้ เครกกับผมเลยผสมผสานผลงาน และนำมาขยายเป็นธีมเพลงต่างๆ สร้างเป็นเสียงดนตรีที่จะเชื่อมต่อความรู้สึกและการถ่ายทอดเรื่องราวออกมา” มาร์ค ไอแซมอธิบาย
จากนั้นนักประพันธ์ดนตรีได้นำเพลงจากนิวยอร์ค มารวมกับผลงานนักดนตรีจากทั่วโลกทั้งแนวคลาสสิคและแจ๊ซ ผู้ควบคุมด้านเสียงดนตรี แซ็ค โควี่ ได้รวมศิลปินและนักตัดต่อซาวด์แทรค ซึ่งรวมถึงเพลงแนวพีเรียดเก่งๆ มาร่วมงานอีกหลายคน การรวมตัวครั้งนี้ยังเป็นการรวมความหลากหลายทั้งจาก Motown และ Blue Note พร้อมด้วยการบันทึกเสียงสมัยใหม่จาก H.E.R. ผู้ร่วมแต่งเพลงและนักดนตรีสำหรับเพลงช่วงปิดตัวอย่าง “Fight For You”
“ผมคือนักปฏิวัติ!”
—ประธานเฟรด แฮมป์ตัน
ชาร์ลส ดี. คิงยืนยันว่า “เนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับเด็กวัยรุ่นปัจจุบัน เด็กๆ ที่ได้รับการกระตุ้นช่วงซัมเมอร์ปี 2020 มีการรวมตัวของสังคมทั้งคนผิวดำ น้ำตาล ขาว ทุกคนมารวมตัวกัน ยืนหยัดเพื่อเรื่องของมนุษยชาติ นี่เป็นการบอกพวกเขาว่าพวกเรามีความยิ่งใหญ่และความเป็นเลิศ เราเป็นนักต่อสู้และปฏิวัติกันมายาวนานก่อนที่เราจะดำเนินการกันอย่างชาญฉลาดและมีแนวคิด คุณเองก็เช่นกัน คุณมีกระบอกเสียงและมีบทบาทสำหรับการเปลี่ยนแปลงได้”
ไรอัน คูกเลอร์ ออกความเห็นว่า “หากทุกคนปิดภาพยนตร์และออกจากหน้าคอมหรือซื้อหนังสือและลองใช้ความคิด เราก็จะเป็นฝ่ายชนะได้ เรายังเป็นฝ่ายชนะหากทุกคนพร้อมลุกขึ้นกันมากขึ้นอีกนิดหลังจากดูหนังจบ มันหาได้ยากมากที่จะเห็นคนผิวสีอยู่ในตำแหน่งของผู้นำในหนัง และเวลาเราได้เห็นพวกเขา หลายครั้งมักจะเป็นพวกผลงานที่เกี่ยวกับการทำลายล้าง แต่มันก็พลังเมื่อได้เห็น ตอนนี้มันดีขึ้นแล้ว หนังเรื่องนี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อทำให้เกิดความเชื่อ แต่ผู้คนของเราต่างหากที่ทำแบบนี้”
คูกเลอร์กล่าวสรุปว่า “ผมคิดถึงเหตุผลที่มีการก่อตั้งแพนเตอร์ขึ้นมา สิ่งที่พวกเขาเดินหน้าลงมือทำ พยายามบรรเทาความหิวโหยให้คนยากไร้ ช่วยสร้างศูนย์กลางทางการแพทย์เพื่อดูแลผู้คน ช่วยไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคุกคามผู้คน และเฝ้าดูทุกสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างในช่วงหลังการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ ผมนอนไม่หลับเลย ทุกเรื่องเลวร้ายที่ประธานเฟรดต่อสู้ ทุกสิ่งที่เขาออกมาเรียกร้อง… มันยังคงฝังอยู่ในหัวและกัดกินความรู้สึกเรา ผมคี่คิดว่าหากเขายังมีชีวิตอยู่ เขาจะทำให้ประเทศนี้แตกต่างได้อย่างไร?”
ชาก้า คิงเล่าว่า “เรื่องแบบนี้ไม่ค่อยมีความสำคัญยิ่งใหญ่เท่าไหร่ในปัจจุบัน ตราบใดที่มันยังไม่เคยถูกยกเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ถูกลืมไปจากปี 2020 ผมคิดว่าสิ่งที่อยู่ขนานกันมันผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่แพนเตอร์และพวกเขาให้การอบรมผู้คนเอาไว้ว่า การรวมตัวกับแพนเตอร์ คุณต้องศึกษาเรื่องการเมืองเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งมันแพร่กระจายไปไกลสู่คนผิวดำและผิวน้ำตาลมากกว่าผิวสีอื่น แพนเตอร์ได้เริ่มก่อตั้งคลินิกฟรีทั่วประเทศ มีการให้บริการรถพยาบาลฟรี เรามีการดูแลจากแพนเตอร์ในเรื่องการยุติการสนับสนุนความรุนแรง เรามีการฆาตกรรมจอร์จ ฟอยด์และการก่อกบฎที่ตามมา
“ผมเชื่ออย่างสนิทใจ” คิงกล่าวปิดท้าย “มนัมีเหตุผลที่เราไม่ได้เรียนรู้เรื่องการสังหารเฟรด แฮมป์ตันในโรงเรียน นั่นหมายความว่าพวกเราในฐานะของประชาชนในประเทศควรเริ่มศึกษาได้แล้วว่ารัฐบาลทำอะไรกับแฮมป์ตันบ้าง พร้อมทั้งเรื่องปราบปรามการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการปฏิวัติ… จากนั้นเราต้องขอบคุณรัฐบาลในส่วนการกระตุ้นการล้างเผ่าพันธุ์และความเจ็บปวด ตั้งแต่ผู้เป็นชาวอเมริกันไปจนถึงผู้เป็นทาส ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย การสังหารประธานเฟรดไม่ใช่เรื่องที่หายไปกับอากาศ การเริ่มต้นจากความจริงที่ดูเอนเอียงของประเทศนี้ มีการนึกถึงความผิดพลาดในอดีต แต่ตอนนี้ผมคิดว่านั่นเป็นหนทางเดียวที่เราจะเริ่มก้าวไปข้างหน้าต่อได้ ตอนนี้เวลาได้ล่วงเลยมามากเกินไปแล้ว”
ประวัติศาสตร์เบื้องหลังภาพยนตร์
“ฉันจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ทำก่อนตาย
ฉันคิดว่าสิ่งที่ทำลงไปจะสูงส่งกว่าผู้อื่น”
—ประธานเฟรด แฮมป์ตัน
- เฟรด แฮมป์ตันเกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 1948 ที่ซัมมิตและโตที่เมย์วูด ชานเมืองชิคาโก้ทั้งคู่
- แฮมป์ตันเป็นทั้งนักเรียนทุนและนักกีฬา ครั้งหนึ่งเขาเคยอยากเล่นเป็นกองกลางให้กับทีม New York Yankees
- เฟรดจบการศึกษาจาก Proviso East High School ด้วยเกียรติยศและจดหมายของมหาวิทยาลัย จากนั้นได้เรียนด้านกฎหมายที่ Triton Junior College
- แฮมป์ตันเป็นผู้จัดงานเยาวชนใน NAACP และเป็นผู้นำ Youth Council ที่ West Suburban Branch
- มีการกำหนดรัฐบัญญัติสิทธิพลเมืองเป็นกฎหมาย โดยประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสันเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1964
- กลุ่มเดอะ แบล็ก แพนเตอร์ (ในอดีตชื่อพรรคแบล็ก แพนเตอร์ เพื่อปกป้องตัวเอง) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 1966 โดยนักศึกษาจากวิทยาลัย บ็อบบี้ ซีล และ ฮิวอี้ พี. นิวตัน ที่โอคแลนด์ แคลิฟอร์เนีย
- เมื่อแฮมป์ตันได้เป็นสมาชิกของแบล็ก แพนเตอร์ เขาได้ย้ายไปที่ชิคาโก้และร่วมพัฒนากลุ่มที่อิลลินอยส์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1967 โดยบ็อบ บราวน์ (นับจากนั้นได้เกิดกลุ่มแบล็ก แพนเตอร์ 45 แห่งในสหรัฐฯ)
- ในปี 1967 โจรลักเล็กขโมยน้อย วิลเลียม โอ’นีล เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่โดยสายลับเอฟบีไอ รอย มาร์ติน มิตเชลล์ โอ’นีลถูกจับกุมฐานขับรถที่ขโมยมาข้ามรัฐไปมิชิแกน มิตเชลล์ยอมลดโทษให้ โดยทางโอ’นีลต้องร่วมมือกับเอฟบีไอในฐานะสายข่าวกรอง โอ’นีลเข้าร่วมกลุ่มแบล็ก แพนเตอร์ที่อิลลินอยส์ จนได้เลื่อนขั้นเป็น ผู้อำนวยการความปลอดภัยแห่งแชปเตอร์
- เฟรด แฮมป์ตันได้รวมกลุ่มตัวแทนนักกิจกรรมกลุ่มพันธมิตรสายรุ้งและผู้ยากไร้เมื่อปี 1969 ซึ่งรวมถึง Young Lords ที่นำโดย Cha Cha Jimenez และ Young Patriots Organization ที่นำโดยวิลเลียม “พรีชแมน” เฟสเปอร์แมน ในการต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมและอำนาจของรัฐบาล
- เมื่อปี 1969 ผู้อำนวยการเอฟบีไอ เจ.เอ็ดการ์ ฮุเวอร์ เรียกกลุ่มแบล็ก แพนเตอร์ว่า“เป็นภัยคุกคามอันยิ่งใหญ่ต่อความปลอดภัยในประเทศ”
- โดยการติดอาวุธและถือหมายค้นอาวุธเถื่อน และทำงานจากแผนผังที่กำหนดโดยวิลเลียม โอ’นีล ทีมเจ้าหน้าที่ตำรวจ 14 นายได้แบ่งกำลังออกเป็น 8 นายบริเวณด้านหน้าตึก และด้านข้างอีก 6 นาย บุกเข้าอพาร์ทเมนท์ของแฮมป์ตันเมื่อเวลาตี 4:45 ของวันที่ 4 ธันวาคม 1969 มีการยิงเกิดขึ้น 1 ครั้งจากฝั่งแพนเตอร์ (จากปืนของมาร์ค คลาร์กที่เก็บไว้บนเพดาน) ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการยิงเข้าไปในอพาร์ทเมนท์ 99 ครั้ง (ผู้อำนวยการสร้างฯ ไรอัน คูกเลอร์ได้ออกความเห็นว่า “พวกเขามีการยิงผ่านกำแพง เพื่อทำให้รู้ถึงความจงใจ”)
- แฮมป์ตันถูกสังหารด้วยกระสุน 2 นัดที่บริเวณศีรษะ หาจุดยิงเผาขน หลังจากนั้น 25 วัน เดโบราห์ จอห์นสันได้ให้กำเนิดเฟรด แฮมป์ตัน จูเนียร์
- แฮมป์ตันและคลาร์กเป็นตัวแทนของแพนเตอร์ที่ถูกสังหารเป็นรายที่ 27 และ 28 ในปีนั้น
- การสังหารอย่างโหดเหี้ยมที่เกิดขึ้นกับแฮมป์ตันและคลาร์ก ส่งผลให้เกิดการขับไล่รัฐบาลของแอททอร์นีย์ เอ็ดเวิร์ด ฮานราฮานของรัฐเมื่อปี 1972 และนำไปสู่การเลือกตั้งในชิคาโก้ที่ได้ ฮาโรลด์ วอชิงตัน เป็นนายกเทศมนตรีผิวสีคนแรก… และมีการนำไปสู่การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ จากอิลลินอยส์ บารัคโอบาม่า เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ คนที่ 44 (และเป็นคนผิวสีคนแรก) เมื่อปี 2008
- เมื่อเรื่องการมีส่วนร่วมของวิลเลียม โอ’นีลในการบุกอพาร์ทเมนท์แฮมป์ตันเปิดเผยขึ้นเมื่อปี 1973 เขาได้เข้าสู่ โปรแกรมปกป้องพยานแห่งรัฐ และได้ย้ายไปอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย (โดยใช้ชื่อ “วิลเลียม ฮาร์ท”)
- เมื่อปี 1976 บทความใน The New York Times มีการตีพิมพ์การยอมรับของเอฟบีไอเป็นครั้งแรก ในเรื่องของการจู่โจมที่ชิคาโก้เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม
- ในปี 1982 ยุติการดำเนินการของกลุ่มแบล็ก แพนเตอร์
- เมื่อปี 1983 สหพันธรัฐได้ตัดสินอนุมัติ ชดใช้ค่าเสียหาย 85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้ผู้รอดชีวิตจากการจู่โจมเมื่อ 4 ธันวาคมให้ครอบครัวแฮมป์ตันและคลาร์ก
- เมื่อปี 1984 วิลเลียม โอ’นีล ได้ออกจากการปกป้องพยาน และเดินทางกลับไปที่ชิคาโก้
- ในช่วงหลายชั่วโมงแรกของวันที่ 15 มกราคม 1990 วิลเลียม โอ’นีล ได้เดินทางสู่เส้นทางหลวง Interstate 290 และถูกรถชนตาย สำนักงานนิติเวช Cook County Coroner ยืนยันว่าเขาฆ่าตัวตาย ในช่วงเย็นโอ’นีลถูกรายงานเรื่องการดื่มเหล้า และถูกขัดขวางจากการพยายามกระโดดออกนอกหน้าต่างชั้น 2
- ผลงานเรื่อง “Eyes on the Prize 2” ฉายครั้งแรกทาง PBS เมื่อวันที่ 15 มกราคม 1990 วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ในซีรีส์มีการนำเสนอบทสัมภาษณ์ครั้งแรกและเพียงครั้งเดียวบนหน้าจอกับวิลเลียม โอ’นีล มีการพูดคุยถึงเรื่องบทบาทของเขาในฐานะผู้ได้รับเงินจากการให้ข่าวเอฟบีไอ และการแทรกซึมสู่กลุ่มแบล็ก แพนเตอร์
“อย่างน้อยที่สุดผมก็ได้อุทิศตน และผมมีความกล้าที่จะออกไปเผชิญหน้า และกล้าเสี่ยงไปกับมัน
ซึ่งผมทำทุกอย่างแล้ว ผมคิดว่าควรปล่อยให้ประวัติศาสตร์เล่าขานแทนผม”
—วิลเลียม โอ’นีล
“Judas and the Black Messiah – จูดาส แอนด์ เดอะ แบล็ก เมสไซอาห์”
เข้าฉาย 22 เมษายน ในโรงภาพยนตร์เท่านั้น
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/JudasAndTheBlackMessiahMovieTH
#JudasAndTheBlackMessiah #จูดาสแอนด์เดอะแบล็กเมสไซอาห์