ก้าวไปอีกขั้นกับบำรุงราษฎร์สู่การปรับเปลี่ยนเชิงบวกในการรีโนเวทห้องพักที่มุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และทิศทางการแพทย์แห่งอนาคต (Shifting the Future of Healthcare) ซึ่งการรีโนเวทห้องพักให้มีความทันสมัยขึ้น สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มารับบริการ ขณะเดียวกันยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานให้สะดวกราบรื่นยิ่งขึ้น นับเป็นเทรนด์การดูแลสุขภาพของคนรุ่นใหม่ในอนาคตด้วยเช่นกัน

 

ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่า “ตลอดเวลาที่ผ่านมา นอกจากบำรุงราษฎร์จะให้ความสำคัญในการบริบาลผู้ป่วยในระดับมาตรฐานสากลแล้ว เรายังคำนึงถึงสภาพแวดล้อม รวมถึงอาคารสถานที่ภายในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างประสบการณ์เชิงบวกให้แก่ผู้รับบริการ เพราะทุกรายละเอียดล้วนเป็นประสบการณ์ของพวกเขา โดยสถานที่ของบำรุงราษฎร์จะเน้นความเรียบหรู ดูโอ่โถง ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เหมือนมาโรงพยาบาล และคำนึงถึงคุณภาพมาตรฐานด้านความสะอาดและความปลอดภัย เรามีมาตรการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล มีการจัดผังภายในโรงพยาบาลที่เป็นสัดส่วนและอำนวยความสะดวก รวมถึงให้บริการด้วยความเอื้ออาทรในมาตรฐานระดับ ดาว สร้างความแตกต่างให้กับผู้รับบริการทั้งชาวไทยและต่างชาติ ซึ่งได้มอบความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ภายใต้แบรนด์ ‘บำรุงราษฎร์’ ซึ่งสั่งสมมายาวนานถึง 42 ปี”   

มร. คอนสแตนตินอส ซาร์ริส ผู้อำนวยการสายงานบริหารทรัพย์สิน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ล่าสุดบำรุงราษฎร์ได้มีการรีโนเวทห้องพักผู้ป่วยเพื่อรองรับเทรนด์ใหม่ๆ ด้าน Healthcare โดยปรึกษาร่วมกับบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการตกแต่งภายในมาตั้งแต่ปี 2561 และทำการศึกษาเก็บข้อมูลก่อนที่จะออกแบบและตกแต่งใหม่ ซึ่งการปรับโฉมห้องครั้งนี้ อยู่บริเวณชั้น 6 ซึ่งเป็นห้องพักคุณแม่หลังคลอด โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนห้องพัก แผนกดูแลทารกหลังคลอด (Nursery) และสวนหย่อมลอยฟ้า มีห้องพักทั้งหมด 4 ประเภท คือ ห้อง VIP ที่มีห้องรับรองแยกเป็นสัดส่วนห้อง Deluxe เป็นห้องที่อยู่ติดกับสวนหย่อมให้ความรู้สึกร่มรื่นห้อง Single และยังมีห้องแบบ 2 เตียงไว้บริการเพื่อเป็นทางเลือกอีกด้วย

โดยบำรุงราษฎร์ได้นำหลัก SFE คือ Safety, Functionality และ Emotional wellbeing มาใช้ในการรีโนเวทห้องพัก และเน้นคอนเซ็ปต์การออกแบบห้องให้มีความเชื่อมโยงระหว่างการบริบาลผู้ป่วย สุขภาพกับสิ่งแวดล้อม ความเป็นธรรมชาติและการประหยัดพลังงาน (EcoHealth Concept) มีการคัดสรรวัสดุการตกแต่งที่อิงความเป็นธรรมชาติ อาทิ ไม้ แสงไฟ กระจกบานใหญ่รับแสงจากธรรมชาติ และการใช้โทนสีอบอุ่นในการออกแบบเพื่อสร้างความสมดุลในเรื่องการพักผ่อนอย่างสงบ ลดความเครียด และสร้าง positive energy ให้กับผู้มาใช้บริการมากยิ่งขึ้น พร้อมมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อตอบโจทย์เรื่องการใช้งานของคุณแม่ยุคใหม่ได้อย่างลงตัว

โดยมีรายละเอียดการรีโนเวทตามหลัก Safety, Functionality และ Emotional wellbeing ได้แก่

 

1.       Safety: เพิ่มความปลอดภัยของผู้มารับบริการ ผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัว และผู้ปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงการลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายภายในห้องพักได้ อาทิ การออกแบบลบมุมเหลี่ยมต่างๆ ภายในห้อง รวมถึงอุปกรณ์ภายในห้อง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ โซฟา ขอบตู้ เน้นความโค้งมน มีการ Builtin เพิ่มพื้นที่จัดเก็บสิ่งของเพื่อความปลอดภัย สามารถเก็บประเป๋าเดินทางใบใหญ่ในตู้ได้ เพิ่มราวจับในห้องน้ำที่แข็งแรงได้มาตรฐานและเลือกใช้วัสดุพื้นผิวที่ไม่ลื่นและสามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งในช่วงโควิด-19 โรงพยาบาลได้เปลี่ยนระบบปรับอากาศจำนวน 800 เครื่อง เป็นระบบประหยัดพลังงานมากขึ้น ลดเสียงรบกวน และมีการติดตั้งรังสีอัลตร้าไวโอเลต UVC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีคุณภาพสูงที่ผ่านมารับรองมาตรฐานจากเยอรมัน เพื่อฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราต่างๆ รวมถึงไวรัสโควิด-19 ในระบบส่งลมเย็นก่อนที่จะปล่อยออกมาภายในอาคารของโรงพยาบาล จึงมั่นใจได้ว่าอากาศภายในอาคารของบำรุงราษฎร์ สะอาดและปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยยืดระยะเวลาในการทำความสะอาดคอยล์เย็นและลดการใช้พลังงานของเครื่องส่งลมเย็น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานตามนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Development) ขององค์กร

2.       Functionality: เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแพทย์และผู้ปฏิบัติงาน โดยให้ความสำคัญในการออกแบบแสงไฟเป็นพิเศษด้วยระบบควบคุมแสงสว่างให้ทันสมัยมากขึ้น ปรับได้ถึง โหมด สามารถปรับโทนแสงเป็นกลางวันและกลางคืนได้ตามต้องการ และยังสามารถปรับระดับความสว่างให้สอดคล้องกับสภาพของแสงภายนอกอาคาร เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน รวมถึงตำแหน่งของไฟส่องสว่างที่ถูกออกแบบไว้ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เช่น แสงไฟโหมด doctor scene สำหรับเวลาที่แพทย์เข้ามาตรวจผู้ป่วย ซี่งต้องมีความสว่างมากเป็นพิเศษ หรือโหมด night scene ช่วงเวลานอนที่ต้องการแสงสว่างน้อยมากๆ หรือเมื่อเข้าห้องน้ำกลางดึก หรือกรณีที่พยาบาลเข้ามาดูแลในตอนกลางคืนเพื่อไม่เป็นการรบกวนผู้ป่วยและยังคงในเรื่องความปลอดภัยอีกด้วย นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงตำแหน่งการวางเฟอร์นิเจอร์เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการนำเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์เข้าออก และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

3.       Emotional wellbeing: สร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้มารับบริการได้ฟื้นฟูสภาพจิตใจและพักผ่อนอย่างเต็มที่ จากผลศึกษาวิจัยการออกแบบ mood & tone ให้เป็นธรรมชาติจะทำให้รู้สึกสบายและผ่อนคลายมากที่สุด จึงได้ปรับเลือกวัสดุจากธรรมชาติ รวมถึงโทนสีและการใช้แสงไฟภายในห้องให้รู้สึกอบอุ่น อีกทั้งออกแบบหน้าต่างบานใหญ่เพื่อให้รับแสงธรรมชาติและเห็นวิวภายนอกได้อย่างเต็มที่ ทั้งวิวสวนหย่อมลอยฟ้า เพื่อให้ผู้ป่วยได้เห็นพื้นที่สีเขียว ทำให้รู้สึกสบายตาและการพักผ่อนได้มากขึ้น และวิวของตัวเมือง เสมือนพักผ่อนอยู่ที่บ้านหรือมาพักผ่อนในโรงแรม ดาว โดยเน้นความเป็นธรรมชาติ สะอาด และปลอดภัย รวมถึงเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ โซนเตรียมอาหาร ตู้เย็น ไมโครเวฟ ปรับขนาดของโซฟาให้ใหญ่ขึ้นเพื่อความสบายขณะพักผ่อน ปรับขนาดจอทีวีเพื่อให้เหมาะสมกับระยะชมจากเตียงผู้ป่วยและเพิ่มช่องให้มีความหลากหลายในรูปแบบ Infotainment ด้วย Internet และ wi-fi ความเร็วสูง เพื่ออรรถรสในการรับชม     

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ‘ความปลอดภัย’ คือ หัวใจสำคัญ โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มี ‘แผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด’ หรือ NICU: Neonatal Intensive Care Unit เป็นศูนย์บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ซึ่งมีความพร้อมสูงทั้งทางด้านแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง เทคโนโลยีอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ขั้นสูงสำหรับการดูแลทารกที่มีอาการวิกฤตโดยเฉพาะ และสามารทำการผ่าตัดที่ซับซ้อนตามมาตรฐานสากล โดยโรงพยาบาลได้จัดสรรพื้นที่ให้แผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด (NICU) ที่มีห้องคลอดและห้องผ่าตัดสำหรับทารกโดยเฉพาะ อยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ลดความเสี่ยงในการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของทารกมากขึ้นอีกด้วย

ที่ผ่านมา NICU มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยเหลือทารกที่มีอาการวิกฤตโดยเฉพาะ อาทิ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดโดยมีอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัมทารกแฝดสองขึ้นไป ซึ่งบำรุงราษฎร์เคยประสบความสำเร็จในการทำคลอดทารกแฝดหกมาแล้ว หรือทารกแรกเกิดที่ตรวจพบมีอาการผิดปกติทุกระบบ เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท เป็นต้น

 

ด้วยเทรนด์ความก้าวหน้าทางการแพทย์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนไป บำรุงราษฎร์มีความเข้าใจและมีความพร้อมในการปรับเปลี่ยนเพื่อก้าวสู่การแพทย์แห่งอนาคต โดยคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง พร้อมเปิดใจรับฟังมุมมองความต้องการของผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัว แพทย์ และผู้ปฎิบัติงานอื่นๆ เพื่อก้าวสู่ Smart Healthcare 5.0 ในการดูแลสุขภาพครอบคลุมทุกมิติ

 

# # # #