กรุงเทพฯ 12 กันยายน 2565 – ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดสัมมนา ttb SME I the X-Change เชิญพันธมิตร ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ถ่ายทอดองค์ความรู้แบบเจาะลึกแก่ผู้ประกอบการธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ พร้อมเปิดกลยุทธ์การบริหารธุรกิจในยุคหลังโควิด-19 โดยธนาคารพร้อมเคียงข้างเอสเอ็มอีไทย รับมือกับความเปลี่ยนแปลง และเร่งปรับตัวสู่การเป็น Smart SME ในยุค Next Normal
นางพรรณวลัย อินทราพิเชฐ หัวหน้าบริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะอยู่ในภาวะถดถอยจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ภาคการส่งออกถือว่าสวนกระแส และเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทีเอ็มบีธนชาต เห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ ttb SME I the X-Change “เจาะลึกสูตรสำเร็จการค้าระหว่างประเทศ เดินหน้าสู่การเป็น Smart SME ยุค Next Normal” เพื่อเสริมความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะ ซึ่งได้รับเกียรติจากพันธมิตรทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริหารมากประสบการณ์ มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้แบบเจาะลึกครบทุกด้าน ทั้งด้านการบริหารธุรกิจ การตลาด และเทรนด์ของตลาดโลก พร้อมเสริมความแข็งแกร่งด้วยดิจิทัลโซลูชันทางการเงินแบบครบวงจร โดยธนาคารพร้อมเคียงข้าง ช่วยลูกค้าธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ในทุกสถานการณ์ด้าน นางแคทรีน อมตวิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท เฮด วัน ฮันเดรด จำกัด เปิดเผยถึง เคล็ดลับการเติบโตทางธุรกิจแบบก้าวกระโดด สำหรับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ที่จำเป็นต้องปรับการบริหารธุรกิจด้วยมุมมองใหม่ ได้แก่ Think Ahead : คิดตอบโจทย์ล่วงหน้ามองความต้องการลูกค้าเป็นหลัก Build Brands : เสริมแกร่งแบรนด์ตนเอง และเชื่อมต่อกับผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้นโดยเน้นความจริงใจ Customer Direct : สื่อตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงให้มากที่สุด Go to Digital : ใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มโอกาสสร้างการเชื่อมต่อแบบไร้ที่ติ และ Embrace the Environment : เทรนด์ผู้บริโภคปัจจุบันคาดหวังจากแบรนด์ในเรื่องของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นายพรวิช ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP กล่าวว่า การค้าระหว่างประเทศยังเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการไทย แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะเกิดการระบาดของโควิด-19 แต่ภาคการส่งออกยังขยายตัวถึง 17.4% แนะนำให้ผู้ประกอบการไทยควรปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของตลาด มองตลาดใหม่ที่เฉพาะเจาะจง เข้าสู่ช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่สอดรับกับแนวทาง Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG Model ตามเทรนด์ของโลก ซึ่ง DITP พร้อมที่จะแนะนำข้อมูลผู้ประกอบการผ่าน Market Intelligence Tools ด้านต่าง ๆ รวมถึงยังมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และกิจกรรมขยายตลาดในต่างประเทศอื่น ๆ ผ่านโครงการ SMEs Pro-active Program ทั้งหมดนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นำสินค้าเข้าไปทำตลาดได้มากขึ้น และเป็นการสร้างความมั่นใจว่าผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการจะได้พบกับคู่ค้าตัวจริงที่มีศักยภาพ และผ่านการคัดกรองมาแล้วอย่างดี ด้าน นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ เริ่มต้นจากธุรกิจเอสเอ็มอี จำหน่ายสินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มน้ำผลไม้ที่ใช้นวัตกรรมทำให้สินค้ามีความโดดเด่นและแตกต่างในท้องตลาด รวมทั้งได้ขยายตลาดต่างประเทศ ส่งออกไปในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ธุรกิจเติบโตได้มากขึ้น จนปัจจุบันมีสินค้าเซ็ปเป้กว่า 10 แบรนด์สินค้า 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ จำหน่ายใน 98 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทางบริษัทฯ ได้มีการปรับกลยุทธ์บริหารสต๊อกสินค้าเพื่อระบายสินค้า โดยใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อเชื่อมต่อกับผู้บริโภคมากขึ้น พร้อมแชร์เทคนิคการบริหารธุรกิจต่างประเทศด้วยการกำหนดโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมกับประเทศนั้น ๆ มุ่งเน้นการสร้าง Brand Awareness และกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการทำธุรกรรมการเงินเพื่อปิดความเสี่ยงของค่าเงินที่มีความผันผวน เนื่องจากมีรายรับหลายสกุลเงินเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของธุรกิจ
https://www.ttbbank.com/pr-tradefx-apr22 สำหรับผู้สนใจรับชมสัมมนาออนไลน์ ttb SME I the X-Change “เจาะลึกสูตรสำเร็จการค้าระหว่างประเทศ เดินหน้าสู่การเป็น Smart SME ยุค Next Normal” สามารถเข้าไปชมย้อนหลังได้ที่ https://youtu.be/43p1IPCaQWc * * * * * * #finbizbyttb #ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต #เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #ttb #MakeREALChange * * * * * *
นางสาวบุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า ผู้ประกอบการธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่ตลอดเวลา ทั้งสถานการณ์โลก ไม่ว่าจะเป็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาพลังงานและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดวิกฤตเงินเฟ้อเฉลี่ยสูงขึ้นทั่วโลกเกือบ 10% ทำให้ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเห็นได้จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ มีการปรับ ตัวแข็งค่ามากกว่า 10% เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินหลัก แต่ความผันผวนของค่าเงินเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการได้ หากได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและทันท่วงที โดยธนาคารแนะนำให้มีการปิดความเสี่ยงโดยการใช้สกุลเงินท้องถิ่นทำการค้าด้วยให้มากขึ้น แต่หากทำการค้าด้วยหลายสกุลเงินแล้วจะบริหารอย่างไรให้สะดวกและมีประสิทธิภาพ ในวันนี้ ธนาคารมีโซลูชันที่อยากจะแนะนำให้ผู้ประกอบการธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สามารถปิดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ด้วย บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน ทีทีบี (ttb multi-currency account) ที่สามารถบริหารจัดการ 11 สกุลเงินในบัญชีเดียวรวมสกุลเงินบาท ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน การแลกเปลี่ยนเงิน และการเรียกดูรายการเดินบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ ก็สามารถทำได้อย่างสะดวก ง่าย และรวดเร็ว ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยทีเอ็มบีธนชาต ถือว่าเป็นธนาคารแรกและธนาคารเดียว ที่พัฒนาบัญชีนี้เพื่อผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกโดยเฉพาะ ซึ่งผู้ส่งออกสามารถใช้บัญชีนี้บัญชีเดียวในการบริหารธุรกิจทั้งในและต่างประเทศได้เลย ผู้ประกอบการที่สนใจเปิดบัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน ทีทีบี (ttb multi-currency account) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่