• การระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคไทยสนใจการกินเพื่อสุขภาพมากขึ้น
  • ผักและผลไม้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีความนิยมมากที่สุด
  • มากกว่า 5 ใน 10 คน ตั้งใจจะหาความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเพิ่มเติมและทำอาหารที่บ้านมากขึ้น
  • ราคายังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ยังมีข้อจำกัดด้านการใช้จ่าย

  

(กรุงเทพฯ ประเทศไทย 2566) งานวิจัยล่าสุดจากมินเทล บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านข้อมูลการตลาด พบว่า ในช่วงหลังการระบาดใหญ่โควิด-19 ผู้บริโภคในประเทศไทยให้ความสำคัญกับชีวิตสุขภาพดีมากขึ้นผ่านการเลือกอาหาร ผู้บริโภคมากกว่าห้า ในสิบคน ต้องการจะหาความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและทำอาหารที่บ้านมากขึ้น (52% และ 51% ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ราคาก็ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญโดยเฉพาะผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ยังมีข้อจำกัดของด้านการใช้จ่าย 

งานวิจัยจากมินเทลพบว่าแรงจูงใจในการกินอาหารเพื่อสุขภาพของคนไทยนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากการกินเพื่อป้องกันโรค ผู้บริโภคในปัจจุบันได้รับแรงผลักดันจากปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย (38%) และการมีสุขภาพจิตที่ดี (28%) ผู้บริโภคจำนวนน้อยกว่า 1 ใน 5 คน (17%) ระบุว่าการป้องกัน/รักษาโรคเรื้อรังเป็นแรงผลักดันให้พวกเขาเลือกสิ่งที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น 

แม้ว่ารายงานฉบับนี้จะระบุถึงแนวโน้มว่าผู้บริโภคไทยใช้ความพยายามมากในการทำให้แน่ใจว่าอาหารของพวกเขาดีต่อสุขภาพ (เช่น หาความรู้ด้านโภชนาการด้วยตนเอง และทำอาหารที่บ้านบ่อยขึ้น) แต่มุมมองของพวกเขายังคงให้ความสำคัญกับการเสริมโภชนาการมากกว่าการจำกัดการกิน คนไทยจำนวน 7 ใน 10 คน (70%) บอกว่าการกินผักและผลไม้เป็นสิ่งสำคัญต่อการมีสุขภาพดี โดยมีเพียงผู้บริโภคจำนวนน้อยกว่า 3 ใน 10 คน (21%) ที่มีมุมมองแบบเดียวกันต่อการจำกัดการบริโภคเนื้อสัตว์ 

 คุณ พิมพ์วดี อากิลา Associate Director ของแผนกอาหารและเครื่องดื่ม มินเทล รีพอร์ทส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นหลังการระบาดใหญ่ คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มส่วนผสมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง (เช่น ผักและผลไม้ อาหารที่หลากหลาย) ในมื้ออาหารของพวกเขา มากกว่าการจำกัดการกินอาหารบางชนิด (เช่น อาหารที่ผ่านการแปรรูปสูงและเนื้อสัตว์) 

  

“แบรนด์ควรให้การสนับสนุนความต้องการของผู้บริโภคด้วยการนำเสนออาหารที่ทำจากพืช (Plant-based) ซึ่งถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญ เพราะงานวิจัยของเราพบว่าผู้บริโภคจำนวนเกือบ 1 ใน 4 คน (24%) บอกว่าพวกเขาได้ตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนจากการกินเนื้อสัตว์มาเป็นอาหาร Plant-based ในอนาคต ดังนั้นการสร้างทางลัดสู่ความสำเร็จผ่านการส่งเสริมผลิตภัณฑ์เนื้อ Plant-based และใช้สิ่งทดแทนผลิตภัณฑ์จากนม ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสดังกล่าว”  

แม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของการกินผักและผลไม้มากขึ้นในแต่ละวัน ปัจจัยด้านราคายังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ ท่ามกลางความปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผู้บริโภคในประเทศไทยกำลังให้ความสำคัญกับการคุมการใช้จ่ายและการซื้อสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ งานวิจัยจากมินเทลระบุว่าจำนวนน้อยกว่าครึ่ง (37%) ของผู้บริโภคอายุต่ำกว่า 24 ปี ที่มีสถานะทางการเงินในระดับต่ำ บอกว่าพวกเขามีเงินพอที่จะซื้อผักและผลไม้เป็นประจำ  

“แม้อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น เรายังคงมองเห็นความไม่เท่าเทียมกันที่สะท้อนผ่านการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การขาดสารอาหาร และจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (NCD) ทุกคนต่างรู้ประโยชน์ที่ได้จากการกินผักและผลไม้ แต่สถานะทางการเงินเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการกินผักและผลไม้มากขึ้นใน งานวิจัยของเราพบว่าปัญหานี้พบได้มากขึ้นในชนบทผู้บริโภคในชนบทจำนวนเพียง 48% กินผักและผลไม้อยู่เป็นประจำ ซึ่งน้อยกว่าสัดส่วนของคนเมืองที่กินผักและผลไม้เป็นประจำ (56%)” 

“รายงานฉบับนี้ได้เน้นยำว่าแบรนด์จำเป็นต้องมีความพยายามมากกว่าเดิมในการเพิ่มการเข้าถึงของการกินเพื่อสุขภาพ ผ่านการลดราคาและเพิ่มความสะดวกสบาย ประเทศไทยมีการผลิตผักและผลไม้ท้องถิ่นตามฤดูกาลจำนวนมาก ผลผลิตเหล่านี้มีราคาที่จับต้องได้และเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับการเป็นตัวเลือกเพื่อสุขภาพที่ราคาเป็นมิตรต่อผู้บริโภค” คุณ พิมพ์วดี อากิลากล่าว 

 

อ่านรายงานทัศนคติต่อการกินเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคไทย ประจำปี 2566 จากมินเทล ได้ที่นี่ 

-ENDS-