อีสท์ เวสท์ ซีด คว้าตำแหน่งผู้นำอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ด้านการเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรรายย่อย ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ครั้งแรกของการจัดอันดับดัชนีการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรรายย่อย ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้มีการประเมิน 24 บริษัทชั้นนำในภูมิภาค ในด้านการสนับสนุนเพื่อเดินหน้าสู่การบรรลุมาตรฐานเป้าหมายด้านความยั่งยืน

กรุงเทพฯ, 12 พฤศจิกายน 2561 – อีสท์ เวสท์ ซีด (East-West Seed) ผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักอันดับหนึ่งของประเทศไทย แซงหน้าบริษัทระดับโลกอย่างBayer และ Syngenta ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของดัชนีการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรรายย่อย ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (the Access to Seed Index for South and Southeast Asia) ซึ่งเป็นการจัดอันดับของภูมิภาคดังกล่าวเป็นครั้งแรก โดยดัชนีดังกล่าว เกิดจากการประเมินบริษัทเมล็ดพันธุ์ในภูมิภาคทั้งหมด 24 บริษัท เพื่อสนับสนุนการเติบโตด้านความสามารถในการผลิตของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยองค์กรสหประชาชาติ (SDGs)

 

จากรายงานล่าสุดขององค์การสหประชาชาติ[1] พบว่า ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 350 ล้านคนที่ขาดแคลนสารอาหาร ซึ่งตัวเลขดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดระยะเวลา ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ มีจำนวนประชากรเด็กในภูมิภาคนี้ที่ขาดสารอาหารประมาณ 30% และมีเกษตรกรรายย่อยที่เป็นผู้ผลิตอาหารมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ให้กับภูมิภาคนี้ ดังนั้น การช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยกว่า 170 ล้านรายในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สามารถผลิตแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้มากขึ้น คือกุญแจสำคัญสู่ความมั่นคงและปลอดภัยทางด้านอาหารและโภชนาการ

ดัชนีการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรรายย่อย พบว่า บริษัทเมล็ดพันธุ์ชั้นนำหลายบริษัท มีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์กับทุกๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ หรือการเพาะพันธุ์เมล็ดพืชมีแนวโน้มกระจุกตัวอยู่ในเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น ที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศอินเดีย และประเทศไทย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นในอัฟกานิสถาน เนปาล ศรีลังกา พม่า ลาว และกัมพูชา กำลังเสี่ยงต่อการล่าช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากการลงทุนจากบริษัทชั้นนำในประเทศเหล่านี้ยังมีจำนวนน้อย โดยสรุปแล้ว ยังมีเกษตรกรรายย่อยในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่บริษัทชั้นนำเหล่านี้ยังเข้าไม่ถึงอยู่มากถึง 80%

 

ไอโด เวอร์ฮาเกน ผู้อำนวยการระดับสูงแห่งมูลนิธิเพื่อการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ (the Access to Seeds Foundation) กล่าวว่า การเพิ่มผลผลิต การรับมือกับความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการเกษตร ทั้งหมดนี้ล้วนเริ่มต้นจากเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรเลือกใช้ ซึ่งอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์มีส่วนสำคัญในการพัฒนา ปรับปรุงด้านการเข้าถึง และความสามารถในการจับจ่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีในกลุ่มเกษตรกรรายย่อย

 

อีสท์ เวสท์ ซีด คือผู้นำของอุตสาหกรรม ด้วยรูปแบบโมเดลธุรกิจที่สร้างขึ้นเพื่อเกษตรกรรายย่อย รวมถึงเพาะพันธุ์พืชเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะทาง ขายเมล็ดพันธุ์ในแพคเกจขนาดเล็ก และจัดตั้งการฝึกอบรม โดยฐานลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย (98 เปอร์เซ็นต์) หมายความว่า โมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งได้ผลกับทั้งเกษตรกรรายย่อย และตัวบริษัทเองนั้น สามารถเป็นไปได้จริง นอกจากนี้ ใน 10 อันดับแรกของบริษัทที่ติดอันดับดัชนีดังกล่าว มี บริษัทเมล็ดพันธุ์จากประเทศอินเดีย และ บริษัทเมล็ดพันธุ์ระดับโลกที่มาจากนอกภูมิภาค

 

ทั้งนี้ บริษัทที่ได้รับคะแนนสูงสุด อันดับแรก ล้วนมีการดำเนินงานบนเวทีระดับโลก นอกจาก อีสท์ เวสท์ ซีด (อันดับ 1)  Advanta (อันดับ 4) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มาจากในภูมิภาค ส่วนบริษัทอื่นๆ ได้แก่ Bayer (อันดับ 2), Syngenta (อันดับ 3) และ Corteva Agriscience[2] (อันดับ 5) ล้วนมีการเพาะพันธุ์ การผลิต และการจัดจำหน่ายในภูมิภาคมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งเทียบเท่ากับการก่อตั้งบริษัทในภูมิภาค ทั้งนี้ ลูกค้าของ Bayer ในภูมิภาคนั้น มีสัดส่วนเป็นเกษตรกรรายย่อยมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์

 

สิ่งที่เราเห็นจากดาต้าของเราคือ อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ที่มีการแข่งขันสูง และขับเคลื่อนด้วยการวิจัย บริษัทต่างๆจากในภูมิภาคล้วนมีส่วนสำคัญ โดยเฉพาะในด้านการวิจัยและการพัฒนา ด้วยโปรแกรมเพาะพันธุ์พืชที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการเฉพาะทางของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งบริษัทระดับโลกอย่าง Bayer และSyngenta ได้คะแนนอยู่ในอันดับสูง หมายความว่า พวกเขาได้กลายเป็นบริษัทที่มีรากฐานมั่นคงอยู่ในภูมิภาคนี้” เวอร์ฮาเกน กล่าวเสริม

นอกจากนี้ ผลวิจัยจากดัชนีการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรรายย่อย ยังพบว่า บริษัทที่ติดอันดับเหล่านี้ มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และ/หรือ สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเคร่งครัด และยังสามารถให้การสนับสนุนในด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางพันธุกรรมในภูมิภาคได้เช่นกัน

 

ในแง่ทรัพย์สินทางปัญญา ครึ่งหนึ่งของบริษัทเหล่านี้ ระบุอย่างชัดเจนว่า พวกเขาไม่ได้จำกัดการใช้พันธุ์พืชที่มีอยู่ในการเพาะพันธุ์อย่างต่อเนื่อง หรือใช้เพื่อการเก็บรักษาไว้ในฟาร์ม ผลวิจัยยังเผยว่า มีบริษัทบางแห่งที่วางกลยุทธ์ด้านราคาโดยเฉพาะสำหรับวัสดุ อุปกรณ์บางประเภท เพื่อให้แน่ใจว่าเกษตรกรรายย่อยจะสามารถหาซื้อได้

 

ดัชนีการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรรายย่อย ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือหนึ่งในเกณฑ์มาตรฐานการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน (SDG) เกณฑ์แรกที่จัดขึ้นโดย World Benchmarking Alliance ดัชนีดังกล่าวถูกเปิดตัวในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา ในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์ค โดยการวัดและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานขององค์กรบนเกณฑ์ SDG ดัชนีดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนมุ่งมั่นพัฒนาตนเองจนสามารถบรรลุเกณฑ์SDG ได้สำเร็จ ทั้งนี้ ดัชนีการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรรายย่อย ถูกจัดตั้งขึ้นด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิบิลและมาลินดาเกตส์ (Bill & Malinda Gates Foundation) และรัฐบาลเนเธอร์แลนด์