ความสำคัญของปัญหาสุขภาพของชุมชนเมือง การดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะ การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านสุขภาพ รวมทั้งขาดการปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของประชาชนในชุมชนเมือง เมื่อเร็วๆ นี้  วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงได้จัดอบรม  “โครงการอาสาจุฬาภรณ์”  ขึ้นวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาจุฬาภรณ์ ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้ดี สามารถถ่ายทอดความรู้ระหว่างกัน และสามารถดูแลสุขภาพคนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ CRA Hall ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิสุทธิ์ ล้ำเลิศธน รักษาการรองคณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน เป็นประธานเปิดโครงการอาสาจุฬาภรณ์ กล่าวว่า

“กิจกรรมวันนี้ ประชาชนที่มาตั้งใจอยากได้ความรู้ ส่วนนักศึกษาของเราได้เรียนรู้ รับทราบ มีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน เขาจะได้รู้ด้วยว่าชุมชนที่มามีสุขสภาวะดีขึ้นอย่างไร จากการที่ทุกฝ่ายช่วยกัน นอกเหนือจากนั้นยังมีประโยชน์ด้านงานวิจัย นำความรู้จากการทำงานเชิงรุกไปต่อยอดและแก้ปัญหาตรงจุด ซึ่งแผนงานในอนาคตเราอยากสร้างชุมชนต้นแบบที่มีความยั่งยืน ให้เป็นไปตามสามหลักการ สร้างคนให้อาสาสมัครจุฬาภรรณ์ ได้ตระหนักรู้ เอาความรู้ไปดูแลตัวเอง ครอบครัว ชุมชน จากนั้นใช้เทคโนโลยีมาช่วย เก็บข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการดูแลตัวเอง รวมถึงการทำงานวิจัยของนักศึกษา ท้ายที่สุดสามารถเชื่อมต่อ สร้างระบบบริการให้ประชาชนส่งต่อข้อมูลจากชุมชนสู่สถานบริการได้อย่างไม่ติดขัด”

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ดำเนินโครงการอาสาจุฬาภรณ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และตามรอยพระปณิธานในศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนเมือง ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะ ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมาก แต่ประชาชนจำนวนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านสุขภาพ รวมทั้งขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนด้วยกันเอง โครงการอาสาจุฬาภรณ์เป็นโครงการที่เน้น 3 หลักการ ได้แก่ 1. การสร้างคน ได้แก่ อาสาจุฬาภรณ์ ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ได้รับการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ มีความมั่นใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน 2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ในรูปแบบแอปพลิเคชันอาสาจุฬาภรณ์ และ 3. การสร้างระบบการบริการสุขภาพ ที่เชื่อมโยงจากชุมชนสู่สถานบริการ เพื่อให้เกิดระบบชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็งด้านสุขภาพสู่ความยั่งยืน ของประเทศไทย

จากการดำเนินงานโครงการอาสาจุฬาภรณ์ที่ผ่านมาพบว่าอาสาจุฬาภรณ์รุ่นที่ และ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้ดี สามารถถ่ายทอดความรู้ระหว่างกัน และสามารถดูแลสุขภาพคนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นได้จากการที่ชุมชนดังกล่าว ได้ผ่านวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของ โรค COVID-19 ที่ผ่านมาได้อย่างเข้มแข็งและปลอดภัย

โครงการอาสาจุฬาภรณ์ได้รับการตอบรับที่ดีจากชุมชน มีผู้เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่องสู่รุ่นที่ 3 และมีนักศึกษาจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒนเข้าร่วมเป็นอาสาจุฬาภรณ์ในทุกรุ่นด้วย วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน จึงได้จัดโครงการอาสาจุฬาภรณ์ขยายผล และขยายพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาศักยภาพของประชาชน รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนและบุคลากรในหน่วยงานท้องถิ่นนั้นมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ ปฏิบัติหัตถการทางการแพทย์ในเบื้องต้นได้ อีกทั้งมีส่วนร่วมในการสร้างระบบการดูแล ส่งเสริมสุขภาพชุมชน และสนับสนุนการวิจัยชุมชนที่อาจช่วยพัฒนาชุมชนในระยะยาว ทั้งนี้ ยังให้อาสาจุฬาภรณ์เสนอแนวคิดในการพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและชุมชนไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

โครงการอาสาจุฬาภรณ์ ขยายผลสู่ชุมชนเมือง ครั้งนี้ อาสาจุฬาภรณ์ที่เข้าร่วมโครงการได้แก่อาสาจุฬาภรณ์ รุ่นที่ 1-3 ของชุมชนเมือง ได้แก่ ชุมชนการเคหะหลักสี่และชุมชนโดยรอบ ประกอบด้วย อาสาจุฬาภรณ์ รุ่นที่ จำนวน 40 คน อาสาจุฬาภรณ์ รุ่นที่ จำนวน 31 คน อาสาจุฬาภรณ์ รุ่นที่ จำนวน 44 คน นักศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน จำนวน 57 คน รวม 172 คน

กิจกรรมพัฒนาอาสาจุฬาภรณ์ ชุมชนเมือง ประกอบด้วย กิจกรรมสานสัมพันธ์ และกิจกรรมภาคปฏิบัติ ฐาน ที่ให้ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย อาทิเช่น กะหล่ำปลีบรรเทาปวด ฐานการวัดความดัน ฐานการทำแผลอย่างถูกต้อง ฐานการเจาะวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ฐานการวัดสัดส่วนร่างกายที่ถูกต้อง ฐานการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ฐานสุขภาพจิตในชุมชน ฐานการช่วยเหลือชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ Basic Life Support และการระดมความคิดเพื่อทำกิจกรรมในชุมชน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม “ค้นหาของดี เรียนรู้ชุมชน” เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างรายได้เสริมผ่านการมีส่วนร่วมด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชนอีกด้วย

จึงนับได้ว่า โครงการอาสาจุฬาภรณ์ เป็นโครงการที่จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการวางรากฐานให้ประชาชนในเขตชุมชนเมืองได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน ทั้งในด้านการป้องกันโรค และการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้น ภายใต้การดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากคณาจารย์และบุคลากรของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้มีสุขภาพที่ดี สมดังพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงจัดตั้งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขึ้น เพื่อความเป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต (Be excellent for lives)

นอกจากนี้ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์พชรพล พะระรามันห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาหารในชุมชน เพื่อค้นหาของดีในชุมชนที่สามารถนำไปพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ ในการดูแลสุขภาพนำไปสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ทั้งนี้อาสาจุฬาภรณ์ได้ค้นพบสิ่งที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดมากกว่า 10 อย่าง เช่น การนำพืชสมุนไพรในชุมชน มาทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และสร้าง Gastronomy Tourism เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวบริเวณรอบชุมชนอีกด้วย ฯลฯ  ท้ายสุดอาสาจุฬาภรณ์ยังได้ระดมความคิดเสนอโครงการพัฒนาสุขภาพในชุมชน เช่น โครงการรำกลองยาวเพื่อสุขภาพ บาสโลปเพื่อสุขภาพกายและใจที่ดี และ โครงการหมอมาแล้ว ฯลฯ

 

ด้านตัวแทนอาสาสมัคร อาทิ นางนันทวัน สุวัฒนา ตัวแทนชุมชนเคหะหลักสี่ รุ่นที่ 1 นายฉัฐณัฐ วิมลธีรโชค ตัวแทนชุมชนเคหะหลักสี่ รุ่นที่ 2 และ นางบุญเยี่ยม บุญเลิศ ตัวแทนชุมชนหมู่บ้านบัวบาน รุ่นที่ 3 กล่าวให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกว่า   “การก้าวเข้ามาเป็นอาสาจุฬาภรณ์ ได้รับความรู้ทางด้านสุขภาพที่หลากหลาย โดยพร้อมจะนำความรู้ที่ได้ทั้งหมดไปเผยแพร่ให้กับชุมชนอย่างถูกวิธี   ขอบคุณทางโครงการฯ ที่เปิดโอกาสให้มีส่วนเข้าร่วม เพราะคนที่จะดูแลกันได้ดีที่สุดในเบื้องต้นก็คือคนในชุมชน วันนี้ได้รับความรู้ที่ถูกต้องจากอาจารย์ แพทย์ นักศึกษาแพทย์  เกิดความประทับใจ สุดท้ายอยากเชิญชวนให้ทุกคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ขยายวงกว้างต่อไป”

————————