(จากซ้ายไปขวา) นพ.แมน จันทวิมล อายุรแพทย์ด้านโรคหัวใจป๋าเต็ด ยุทธนา บุญอ้อม และ นพ.นิธิวัฒน์ กิจศรีอุไร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

 

กรุงเทพฯ – ผลกระทบของโรคหัวใจส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในวงกว้างและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในสาเหตุหลักเกิดจากการที่คนส่วนใหญ่อาจขาดความรู้ความเข้าใจ หรือมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทำให้ละเลยหรือรู้ตัวตอนสายเกินไป ด้วยเหตุนี้ แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลสมิติเวช เพื่อจัดงาน “Healthy Heart Can Start It Now” เชิญนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ และอดีตผู้ป่วย มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตนเองให้กับทุกคน เนื่องในวันโรคหัวใจโลก 2566 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular diseases) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนกว่า 20 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตกว่า 85% เกิดจากภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือ เส้นเลือดในสมองแตก[1] นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาถึงตัวเลขของผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่มีถึง 17 ล้านรายในปี 2562 พบว่า 38% เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด[2] ด้วยเช่นกัน

นพ.แมน จันทวิมล อายุรแพทย์ด้านโรคหัวใจ กล่าวว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารบางประเภท และขาดการออกกำลังกาย รวมไปถึงสภาวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้น การคำนึงถึงสัญญาณเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด อาทิ อาการแน่นหน้าอก อาการหน้ามืด หรือ อาการใจสั่น ซึ่งในปัจจุบันมีตัวเลือกการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือการรักษาผ่านการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน ดังนั้น การวินิจฉัยของแพทย์ที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญเฉพาะด้าน รวมไปถึงการตรวจคัดกรองโรคอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างเหมาะสมและทันเวลา ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้มากขึ้น

การตรวจคัดกรองโรคในระยะเริ่มต้นถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนในช่วงอายุ 35 – 40 ปีขึ้นไป ควรทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG, ECG) อย่างน้อยปีละครั้ง หรือเข้ารับการตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT calcium scoring) เพื่อตรวจวัดระดับแคลเซียมหรือคราบหินปูนที่ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเกิดจากการสะสมและเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง ผ่านเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วและปลอดภัยในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน (CAD) อีกทั้ง ยังเป็นวิธีการตรวจที่มีความแม่นยำสูงในการบ่งชี้โอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนจะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิตได้

ป๋าเต็ด ยุทธนา บุญอ้อม พิธีกรชื่อดังของเมืองไทย ได้มาบอกเล่าเรื่องราวในฐานะอดีตผู้ป่วยโรคหัวใจ ว่า “จากเช้าวันธรรมดาวันหนึ่ง ที่ตื่นมาอย่างปกติเหมือนทุกวัน ทันใดนั้น ผมก็รู้สึกมีเหงื่อซึมออกมาตามร่างกาย ทั้งที่อากาศไม่ได้ร้อน แต่กลับมีอาการแน่นหน้าอกเหมือนมีของหนักวางทับ และมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่าปกติเมื่อดูจากสมาร์ทวอทช์ ผมเลยรีบเดินทางไปโรงพยาบาลสมิติเวช ซึ่งคุณหมอได้ทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เจาะต้นขา และฉีดสี ทำให้พบว่ามีเส้นเลือดหัวใจตัน เส้น ร่วมไปกับเส้นเลือดหัวใจตีบ ทั้งนี้ เนื่องจากผมรู้ตัวเร็ว ทำให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวดหัวใจ ซึ่งหลังจากที่ทำอาการแน่นหน้าอกได้หายไปทันที  หลังจากที่ทำการผ่าตัดเมื่อ ปีก่อน ปัจจุบันผมได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีวินัยในตัวเองมากขึ้น ทั้งการเลิกสูบบุหรี่ทันที เลิกทานอาหารรสจัด ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงการพบแพทย์และทานยาตามแพทย์สั่งอยู่เสมอ เพราะว่าโรคนี้ถ้าเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาด ดังนั้น เราจึงต้องดูแลตนเองเพื่อไม่ให้เป็นซ้ำ และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

เนื่องในโอกาสวันหัวใจโลก โครงการ Hug Your Heart โดยแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จึงได้จัดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ พร้อมให้คำแนะนำในการป้องกันปัญหา และดูแลสุขภาพหัวใจให้แก่ประชาชน ผ่านการทำงานร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ร่วมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหัวใจชนิดต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเตรียมรับมือกับโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น

###

 

 

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.com และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca