สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23–30 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,330 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นนโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “สยามเทคโนโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และโปรแกรม Google Form โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.00

จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป เกี่ยวกับนโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 26.39 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับมากที่สุด มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 22.26 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับมาก ร้อยละ 16.31 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 13.08 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับน้อยที่สุด ร้อยละ 12.56 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับน้อย และร้อยละ 9.40 ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น

ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนว่ารัฐบาลควรมีนโยบายใดเพื่อกำจัดการรับสินบนในระยะยาว พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.23 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการปลูกฝังและให้ความรู้การต่อต้านการรับสินบนในโรงเรียน มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 16.84 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมการไม่รับสินบนในสังคม ร้อยละ 13.83 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการกำหนดกฎหมายบทลงโทษการรับสินบนอย่างเด็ดขาด ร้อยละ 13.38 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการเพิ่มโทษกรณีเจ้าหน้าที่รัฐรับสินบน ร้อยละ 11.66 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนร่วมตรวจสอบ ร้อยละ 10.76 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการรับสินบน และ ร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.92 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 17.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 16.32 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 14.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 8.34 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 49.55 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.45 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 18.57 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 16.08 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 16.92 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 22.26 อายุ 46-55 ปี  ร้อยละ 15.94 อายุ 56-65 ปี และร้อยละ 10.23 อายุ 65 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.87 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.33 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.80 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 25.12 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.68 สถานภาพสมรส และร้อยละ 11.20 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.85 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 42.93 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.66 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.98 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.58 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.07 มีอาชีพหลักข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 24.51 มีอาชีพหลักพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.33 มีอาชีพหลักเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 10.68 มีอาชีพหลักเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 23.01 มีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน และร้อยละ 9.40 มีอาชีพหลักพ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.60 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 6.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.72 ไม่ระบุรายได้

สำหรับความเห็นของ ดร.ธนเสฏฐ์ อัคคัญภูญ์ภูดิส อาจารย์ประจำสำนักวิจัย สยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ให้ความเห็นเพิ่มเติมในกรณีนี้ว่า “จริยธรรม” หรือ “ความมีจิตสำนึกที่ดีในจิตใจ” จะสามารถลดปัญหาการทุจริตในรูปแบบการให้สินบนและอื่นๆได้จริง เพราะเกิดจากการสั่งสมคุณงามความดี การปลูกฝังหลักธรรมทางพระศาสนาที่มากพอ จะส่งผลให้มีภูมิต้านทาน ต่อค่านิยมทางวัตถุที่ได้มาด้วยความไม่บริสุทธิ์ ให้ไม่เหนือไปกว่าความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้อง โปร่งใส ซึ่งสังคมไทยจำเป็นต้องมีการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นค่านิยมหลักในการทำงานและการดำเนินชีวิต เพื่อความถูกต้อง เป็นที่ยอมรับได้อย่างสนิทใจ ในขณะที่ภาครัฐต้องมีความจริงจัง จริงใจ ในการป้องปราม ปฎิเสธการคอรัปชั่นในทุกรูปแบบอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ ระเบียบและการแก้กฎหมายให้มีความเข้มข้นและเข้มขลัง มีการตัดสินอย่างยุติธรรมเพื่อเป็นบรรทัดฐานที่ดี ก็จะสามารถช่วยให้สังคมไทย ปราศจากปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาในการเผยแพร่ ด้วยความเคารพอย่างสูง

 

 

สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล

  1. ท่านเชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่
ความคิดเห็นของประชาชนว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่ ร้อยละ
เชื่อว่ากำจัดสินบนได้ ในระดับมากที่สุด 26.39
เชื่อว่ากำจัดสินบนได้ ในระดับมาก 22.26
เชื่อว่ากำจัดสินบนได้ ในระดับปานกลาง 16.31
เชื่อว่ากำจัดสินบนได้ ในระดับน้อย 12.56
เชื่อว่ากำจัดสินบนได้ ในระดับน้อยที่สุด 13.08
ไม่แสดงความคิดเห็น 9.40
รวม 100.00

 

  1. ท่านคิดว่าในระยะยาวรัฐบาลควรมีนโยบายใดเพื่อกำจัดการรับสินบน
ความคิดเห็นของประชาชนว่ารัฐบาลควรมีนโยบายใดเพื่อกำจัดการรับสินบนในระยะยาว ร้อยละ
การปลูกฝังและให้ความรู้การต่อต้านการรับสินบนในโรงเรียน 33.23
การสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมการไม่รับสินบนในสังคม 16.84
การกำหนดกฎหมายบทลงโทษการรับสินบนอย่างเด็ดขาด 13.83
การเพิ่มโทษกรณีเจ้าหน้าที่รัฐรับสินบน 13.38
การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนร่วมตรวจสอบ 11.66
การปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการรับสินบน 10.76
ไม่แสดงความคิดเห็น 0.30
รวม 100.00

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ
กรุงเทพมหานคร 132 9.92
ภาคกลาง 133 17.52
ภาคเหนือ 217 16.32
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 441 33.16
ภาคใต้ 196 14.74
ภาคตะวันออก 111 8.34
รวม 1,330 100.00

 

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ จำนวน ร้อยละ
ชาย 659 49.55
หญิง 671 50.45
รวม 1,330 100.00

 

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ จำนวน ร้อยละ
18-25 ปี 247 18.57
26-35 ปี 214 16.08
36-45 ปี 225 16.92
46-55 ปี 296 22.26
56-65 ปี 212 15.94
65 ปี ขึ้นไป 136 10.23
รวม 1,330 100.00

 

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา จำนวน ร้อยละ
พุทธ 1,275 95.87
อิสลาม 31 2.33
ศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ 24 1.80
รวม 1,330 100.00

 

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพสมรส

สถานภาพสมรส จำนวน ร้อยละ
โสด 334 25.12
สมรส 847 63.68
หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ 149 11.20
รวม 1,330 100.00

 

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 264 19.85
มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 571 42.93
อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 62 4.66
ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 412 30.98
สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 21 1.58
รวม 1,330 100.00

 

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ
ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 134 10.07
พนักงานเอกชน 326 24.51
เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 297 22.33
เกษตรกร/ประมง 142 10.68
รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 306 23.01
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน 125 9.40
รวม 1,330 100.00

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ
ไม่มีรายได้ 274 20.60
ไม่เกิน 10,000 บาท 315 23.68
10,001-20,000 บาท 358 26.92
20,001-30,000 บาท 136 10.23
30,001-40,000 บาท 84 6.32
40,001 บาทขึ้นไป 47 3.53
ไม่ระบุ 116 8.72
รวม 1,330 100.00