เข้าฉายวันพุธที่ 2 ตุลาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์
รายละเอียดเพิ่มเติม | https://www.joker2-thaiticket.com/
#JokerMovieTH #JokerFolieADeux #JokerMovie
#โจ๊กเกอร์โฟลีย์อาเดอ #โจ๊กเกอร์

ผลงานจากผู้เขียนบทฯ / ผู้กำกับฯ / ผู้อำนวยการสร้างฯ ชื่อดัง ทอดด์ ฟิลลิปส์ สู่ภาพยนตร์เรื่อง “Joker: Folie À Deux” ที่มีการเฝ้ารออย่างมาก ผลงานต่อจากภาพยนตร์ปี 2019 ที่ได้รับรางวัล Academy Award เรื่อง “Joker” ที่กวาดรายได้บ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกไปมากกว่า 1 พันล้านเหรียญ และยังคงเป็นภาพยนตร์เรท R ที่กวาดรายได้สูงสุดตลอดกาล ในภาพยนตร์เรื่องใหม่นำแสดงโดย วาคีน ฟีนิกซ์ ผู้กลับมารับบทควบทั้งอาร์เธอร์ เฟล็ค/โจ๊กเกอร์ที่ทำให้เขาได้รางวัล Oscar มาแล้ว ร่วมกับเลดี้ กาก้า เจ้าของรางวัล Oscar (“A Star Is Born”)

ภาพยนตร์เรื่อง “Joker: Folie À Deux”จะเห็นอาร์เธอร์ เฟล็คถูกขังอยู่ที่อาร์คแฮม เพื่อรอการไต่สวนจากเหตุการณ์ก่ออาชญากรรมของเขาในร่างโจ๊กเกอร์ ขณะที่กำลังต่อสู้กับการมีบุคลิกสองด้านของตัวเอง อาร์เธอร์ไม่ได้เสียศูนย์เพราะความรักเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้พบกับเสียงดนตรีที่อยู่ในตัวเขาเสมอมาด้วย

ภาพยนตร์ยังนำแสดงโดย เบร็นแดน กลีสัน ผู้ชิงรางวัล Oscar (“The Banshees of Inisherin”) และแคทเธอรีน คีเนอร์ (“Get Out,” “Capote”) ร่วมกับซาซี่ บีตซ์ ผู้กลับมารับบทเดิมจากเรื่อง “Joker”

ฟิลลิปส์เคยเข้าชิงรางวัล Oscars จากการกำกับฯ เขียนบทฯ และอำนวยการสร้างฯ เรื่อง “Joker” ทำการกำกับฯ เรื่อง “Joker: Folie À Deux” จากบทภาพยนตร์ของเพื่อนร่วมงานผู้เข้าชิงรางวัล Oscar สก็อตต์ ซิลเวอร์ และ ฟิลลิปส์ สร้างอิงจากตัวละครของดีซี ภาพยนตร์อำนวยการสร้างฯ โดย ฟิลลิปส์ ผู้ชิงรางวัล Oscar เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์ และ โจเซฟ การ์เนอร์ อำนวยการสร้างบริหารฯ โดย ไมเคิล อี. อุสลาน, จอร์เจีย คาแคนเดส, ซิลเวอร์, มาร์ค เฟรดเบิร์ก และ เจสัน รูเดอร์

ทีมงานผู้ร่วมงานเบื้องหลังกล้องมาจากเรื่อง “Joker” รวมถึงผู้กำกับภาพผู้เข้าชิงรางวัล Oscar ลอว์เรนซ์ เชอร์ ผู้ออกแบบฉาก มาร์ค เฟรดเบิร์ก ผู้ลำดับภาพผู้เข้าชิงรางวัล Oscar เจฟฟ์ กรอธ และผู้ลำดับภาพ ฮิลเดอร์ กุนนาดอทเทียร์ ผู้ได้รับรางวัล Oscar จากผลงานของเธอในภาพยนตร์เรื่องแรก ผู้ร่วมงานหน้าใหม่ในเรื่อง ได้แก่ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายผู้ชิงรางวัล Oscar อาเรียน ฟิลลิปส์ (“Once Upon a Time in… Hollywood,” “Don’t Worry Darling”) รูเดอร์ทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ผู้ดูแลด้านเสียงดนตรีในภาพยนตร์ ผู้ควบคุมเสียงดนตรีในเรื่อง ได้แก่ แรนดัล โปสเตอร์ และ จอร์จ ดราคูเลียส คัดเลือกนักแสดงโดย ฟรานไซน์ เมสเลอร์ (ภาพยนตร์เรื่อง “Dune”, “Challengers”)

วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส นำเสนอภาพยนตร์จาก A Joint Effort Production, A Film by Todd Phillips, เรื่อง “Joker: Folie À Deux” จะฉายทั่วโลกโดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิเจอณ์ส และจะฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศวันที่  4 ตุลาคม 2024 และเริ่มฉายต่างประเทศวันที่ 2 ตุลาคม 2024

แถลงการณ์จากผู้กำกับฯ 

ปี 2018 เป็นช่วงเวลาที่เราสร้างเรื่อง “Joker” เป็นครั้งแรก เราไม่เคยนึกภาพออกเลยว่าจะจุดอารมณ์ผู้ชมทั่วโลกได้ขนาดนั้น วาคีนกับผมเคยคุยกันเรื่องภาคต่อแต่เป็นการคุยที่ไม่ได้จริงจังนัก ทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อเราเห็นปฏิกิริยาของผู้ชมที่มีต่อเรื่องราวของอาร์เธอร์ 

แต่หากเราจะสร้างภาคต่อขึ้นมา เรารู้ว่าเราต้องเขย่าอารมณ์อย่างรุนแรง เราต้องการสร้างผลงานที่มีความคลั่งและกล้าหาญให้เหมือนตัวโจ๊กเกอร์ สก็อตต์ ซิลเวอร์กับผมจึงเขียนบทฯ ที่มีการพัฒนาเรื่องราวไกลขึ้นถึงประเด็นส่วนตัว อาร์เธอร์ เฟล็คคือใคร? และเสียงดนตรีที่อยู่ในตัวเขามาจากไหน?

— ทอดด์ ฟิลลิปส์

นั่งพูดคุยกับทอดด์ ฟิลลิปส์

ผู้กำกับฯ · ผู้เขียนบทฯ · ผู้อำนวยการสร้างฯ

ทำไมอาร์เธอร์ เฟล็คจึงครองใจผู้ชมในเรื่อง “Joker” และจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องใหม่หลังความสำเร็จจากผลงานภาคแรก

“ภาพยนตร์คล้ายกับกระจกสะท้อนให้เห็นถึงสังคมหรือจุดที่เรายืนอยู่ในช่วงเวลานั้นของสังคม ผมคิดว่านั่นคือสิ่งที่เราสัมผัสได้จากภาคแรก ผลงานภาคแรกประสบความสำเร็จมากสำหรับเราราวกับพายุ มีอะไรหลายอย่างเกิดขึ้นจนเราต้องใช้เวลานานพักใหญ่ สก็อตต์ [ซิลเวอร์] และผมคุยทางโทรศัพท์กันว่าเราจะสร้างภาคต่อกันอย่างไร และมันก็ค่อยๆ พัฒนาตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ” 

เขาและสก็อตต์ ซิลเวอร์ ผู้ร่วมเขียนบทฯ คิดอะไรอยู่ในส่วนของธีมต่างๆ เมื่อพวกเขาเริ่มเข้าไปสำรวจเรื่องราว… 

“ผมคิดว่าธีมต่างๆ ในภาคแรกค่อนข้างมีความเป็นอมตะ และเราเริ่มคุยกันเหมือนเราพูดถึงหนังเรื่องใดสักเรื่องในส่วนของประเด็นสำคัญ เราไม่ได้คุยกันเรื่องแบบแผนอะไร และจนถึงในภาคต่อรเก็ไม่มีการพูดถึงตัวละครมากนัก เพราะเรารู้จักอาร์เธอร์อยู่แล้ว เราจะเน้นไปคุยกันเรื่องประเด็นอื่นๆ เราอยากสะท้อนเรื่องอะไร หรืออย่างน้อยหวังว่าเราจะเข้าไปสัมผัสเรื่องอะไรบ้าง 

“ในภาคแรกอาร์เธอร์พูดไว้ว่า ‘มีแค่ผมคนเดียวหรือข้างนอกยังมีใครที่คลั่งกว่านี้อีก?’ นั่นคือจุดเริ่มต้นของภาคแรก และผมคิดว่าถ้าเราดูหนังแล้วคิดว่า ‘ไม่มี มีแค่นายนั่นแหละ’ ในภาคนี้ตัวละครนั้นจะไม่ได้พูดอะไรเสียงดังมากนัก แต่เราจะคิดว่า ‘สิ่งที่โลกต้องการตอนนี้คือความรัก’ นั่นคือจุดก้าวกระโดดสู่การเขียนบทภาพยนตร์ขึ้นมา”

การสร้างภาคแรกของพวกเขาสู่การสร้างความแปลกใหม่ในภาคนี้

“เราย้อนกลับไปหาบางเรื่องที่เราชอบมากในภาคแรก และหนึ่งนั้นคือจินตนาการของอาร์เธอร์ ชีวิตในจินตนาการของอาร์เธอร์ การมีเครื่องมือนั้นช่วยให้เรารู้สึกว่าเราจะสร้างอะไรขึ้นมาก็ได้ในภาคนี้ 

“เมื่อเรามีโอกาสออกมาเป็น ‘โจ๊กเกอร์’ เราจะรู้สึกว่า ‘เราจะทำอะไรก็ได้ อะไรก็ได้ที่สร้างความท้าทายให้เรา’ ผมกำลังพูดถึงสก็อตต์กับผมในฐานะผู้เขียนบทฯ ผมในฐานะผู้สร้างภาพยนตร์ แลร์รี่ [เชอร์] ในฐานะของตากล้อง เราจะท้าทายตัวเองในสิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อนได้อย่างไรบ้าง? 

เนื้อเรื่องและประเด็นต่างๆ เรื่องทั่วไปในภาพยนตร์… 

“มันยากที่จะอธิบายได้ว่าภาพยนตร์เป็นอย่างไรโดยไม่เจาะลึกถึงเอกลักษณ์ของเรื่อง แต่สิ่งที่สำคัญคือนี่เป็นเรื่องราวที่มีเอกลักษณ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาร์เธอร์ เฟล็คคือใครและโจ๊กเกอร์คือใคร อย่างน้อยก็เห็นได้ผ่านแววตาของเขาเอง และการยอมรับตัวตนที่แท้จริงของเรา การเป็นตัวเรานั้นมีความหมายขนาดไหน? นี่คือสิ่งที่เขาต้องทำในท้ายที่สุด ผมคิดว่าหนังเรื่องนี้มีความหวังสำหรับอาร์เธอร์มากกว่าภาคแรก ในภาคแรกใจความสำคัญจะเป็นเรื่องกาต่อสู้ระหว่างอาร์เธอร์กับเงาของตัวเองในร่างอาร์เธอร์ ซึ่งเป็นไอเดียที่เราคุยกันว่าเหมือนเราเดินไปพร้อมกับการใส่หน้ากากในชีวิต จะเกิดอะไรขึ้นหากเราถอดหน้ากากและได้เป็นตัวเองอย่างแท้จริง? สำหรับอาร์เธอร์มันคือเรื่องการสวมหน้ากากจนสร้างความสับสนให้ทุกอย่าง และทำให้เขาเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงออกมา 

อาร์เธอร์อยู่ที่ไหนเมื่อเราได้พบกับเขาในเรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

เราได้กลับไปพูดคุยกับอาร์เธอร์ เขาได้รับการรักษาด้วยจากสถาบันอย่างหนัก เราอยากให้เขาดูถูกตัดการติดต่อและไม่สนใจอะไรทั้งนั้น จนกระทั่งได้พบกับ [ตัวละครของเลดี้ กาก้า] ลี มันรู้สึกลงตัวสำหรับเขาโดยไม่มีการพูดคุยอะไร อันที่จริงประโยคแรกในหนังของเขาคือ “ขอบุหรี่หน่อยได้ไหม?” ซึ่งก็ดูลงตัวดี 

อาร์เธอร์อยู่ที่อาร์คัมมานานเท่าไหร่แล้วในช่วงที่เราได้พบเขาอีกครั้ง

“เราไม่ได้คิดถึงเรื่องนั้นมากนัก แต่เราคิดว่าเหมือนเขาอยู่ในสถาบัน/เรือนจำแห่งนี้มานาน 2-3 ปีแล้ว นั่นคือสิ่งที่เราไม่ได้คุยกันจริงจังเลยแม้แต่กับวาคีน เพราะเราแค่อยากเริ่มต้นจากจุดที่เราอยากให้เป็น เข้าใจผมใช่ไหม? มันเลยไม่เน้นที่ประเด็น ‘ให้เข้าไปอยู่ในนั้น 2 ปีแล้วดูว่าเขาเป็นอย่างไรบ้าง’ มันจะเหมือนกับ ‘ตอนนี้เขาอยู่ในจุดนี้’ อาร์เธอร์ถูกตัดขาดการติดต่อโดยสิ้นเชิง เขาไร้การจุดประกายอย่างที่เคยมีในตอนจบของภาคแรก และเราก็ได้พบกับอาร์เธอร์ผู้หมดเรี่ยวแรงและแตกสลาย 

การพูดคุยกันในช่วงแรกกับวาคีน ฟีนิกซ์เรื่องการเตรียมตัวรับมือกับสภาพร่างกายและจิตใจของอาร์เธอร์อีกครั้ง

“มันไม่เหมือนกับใครแรกที่ได้เจอเขาเมื่อประตูนั้นเปิดไว้แล้ว เพราะผมใช้เวลาอยู่กับเขาหลายเดือนก่อนที่จะไปอยู่จุดนั้น เขาเป็นนักแสดงที่มีความทุ่มเทสูงมากเท่าที่เคยร่วมงาน เราคุยกันตั้งแต่ช่วงแรกของการทำงานเรื่องลดน้ำหนักอีกรอบ ผมบอกเขาว่า ‘ในหนังจะเป็นอีกเวอร์ชันหนึ่งที่อาร์เธอร์ไม่ได้ผอมเหมือนภาคแรก มีการให้ยารักษาตัว ไม่มีการออกกำลังกายในนั้น เขาไม่ต้องเดินขึ้นลงบันไดอีกแล้ว เก็บตัวอยู่ในห้องอย่างเดียวเลย’ ผมขอให้เขาไม่ทำตัวผอมเกินไป วาคีนตอบกลับว่า ‘ไม่เป็นแบบนั้นแน่นอน’ อันที่จริงเขาอยากจะผอมยิ่งกว่านั้นอีก” 


การอินกับบทอาร์เธอร์ของวาคีน ฟีนิกซ์ได้อย่างงดงามในภาคแรก แต่นำมาสู่อีกขั้นหนึ่ง รวมถึงเรื่องการเต้นแท็ป

“มันย้อนกลับไปหาไอเดียของผมที่เขาไม่ยอมรับมัน แต่วาคีนสามารถทำอะไรก็ได้ เมื่อเราท้าให้เขาทำอะไรไร้สาระอย่าง ‘โอ้ ปรากฏว่าอาร์เธอร์เต้นได้ด้วย ไม่ใช่การเต้นในห้องน้ำสวยๆ นะ แต่เขาเต้นแท็ปได้จริงๆ’ มันอยู่ในตัวเขา และวาคีนก็พูดว่า ‘โอเค ขอผมนึกภาพก่อน’ เราจับเขาไปอยู่กับไมเคิล อาร์โนลด์ ผู้ออกแบบท่าเต้นสุดมหัศจรรย์ พวกเขาร่วมงานกันเพื่อการเต้นนั้นหลายเดือน… จากนั้นเราก็เห็นว่าเขาทำได้ 

“และตอนนี้ทุกคนไปดูหนังก็ต่างคิดว่าทุกอย่างคือคอมพิวเตอร์กราฟฟิค ทุกสิ่งคือเรื่องโกหก ผมมีความคิดว่า ‘จะมีคนคิดว่าเราตัดต่อหัวของวาคีนไปอยู่บนร่างแดนเซอร์ไหมนะ?’ แต่เขาแสดงเองทุกอย่างจริงๆ และเขาไม่มีพลาดเลย มันเหลือเอมาก เจฟฟ์กับผมบางครั้งนั่งอยู่ในห้องตัดต่อและหาความผิดพลาดในหลายเทค เขาทำได้ถูกต้องตลอดทั้งแต่ต้นจนจบทุกครั้ง”

ช่วงเวลาที่อาร์เธอร์ได้พบกับลีและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเขา … 

“มันเป็นฉากที่ยากครับ หากสังเกตในหนังเราจะมีการถ่ายแบบสโล-โมช่วงวินาทีหนึ่งตอนที่เขามองเห็นเธอ เราเกิดไอเดียอยากชักจูงความคิดนิดหน่อย เพราะเคยถูกหลอกมาแล้วครั้งหนึ่ง จริงไหมครับ? ในภาคแรกความสัมพันธ์ระหว่างเขากับโซฟีไม่ใช่เรื่องจริง เราอยากชวนเข้าถึงไอเดียนั้น นี่มันเรื่องจริงไหม? โดยเฉพาะตอนที่เธอเอาปืนจ่อหัวตัวเอง หากดูหนังเป็นครั้งแรกคุณจะคิดว่า ‘อ๋อ เข้าใจแล้ว เธอเป็นภาพมายา ไม่ใช่เรื่องจริง’ แต่ปรากฏว่าเธอทำจริง เธอทำเพราะพวกเขาสร้างหนังเกี่ยวกับอาร์เธอร์ และนั่นคือส่วนหนึ่งของเรื่อง 

“แต่ก็จริงครับ เมื่อเขาเข้าไปในตึกนั้น เขาได้ยินเสียงเธอร้องเพลงนั้นในช่วงที่ร้องเพลงในห้อง มันเหมือนการทำให้เราเข้าใจอาร์เธอร์ขึ้นมาได้ มันเป็นเหมือนจุดเปลี่ยนหรือการปลุกวิญญาณบางอย่างขึ้นมา” 

ตัวละคร ลี ควินเซล ของเลดี้ กาก้า

“ลีเชื่อในสิ่งที่อาร์เธอร์ทำ และสิ่งที่เขาพูดเอาไว้ในรายการ ‘The Murray Franklin Show’ เธอดูภาพยนตร์ที่พวกเขาสร้างเกี่ยวกับโจ๊กเกอร์มาแล้วประมาณ 10 ครั้งได้” 

การแสดงของเลดี้ กาก้าในบทลี ผู้มีบทบาทต่ออาร์เธอร์ทั้งในโลกแห่งความจริงและจินตนาการ

“สิ่งที่เธอแสดงให้เห็นในแบบของเธอคือความสมจริงของตัวละคร เธอเข้าใจหนังภาคแรกเป็นอย่างดี การคุยกันครั้งแรกของเราเกี่ยวกับหนังภาคแรกเป็นส่วนใหญ่ ผมคิดว่าเธอเข้าสู่โลกใบนั้นได้อย่างง่ายดาย มันดูไม่เหมือนเธอพยายามเป็นฮาร์ลีย์ ควินน์จากหนังเรื่องอื่นหรือหนังสือการ์ตูน เธอสวมบทบาทลีในโลกใบนี้ เหมือนตัวละครเหล่านี้รวมถึงฮาร์วีย์ เดนท์ ก็อตแธม ทุกอย่างที่ถูกสร้างขึ้นมาก่อนและตัวละครที่สวมบทบาทนี้มาก่อน สิ่งที่เราแตกต่างออกไปคือพยายามพาพวกเขามาอยู่ในโลกแห่งความจริง พวกเขาอยู่ในโลกแห่งความจริงในหนังเรื่องอื่นมาแล้ว ครั้งนี้เป็นการสะท้อนผ่านโลกของเรา ผมขอเรียกแบบนั้นแล้วกัน” 

ในตอน “folie à deux” เกี่ยวข้องกับอะไรบ้างในหนังเรื่องนี้

“จากการค้นหาข้อมูลที่สก็อตต์กับผมช่วยกันหาอาการทั่วไปและความแตกต่างของการป่วยทางจิต ‘folie à deux’ เป็นคำที่มีการใช้จริงในเชิง… ผมคิดว่ามันเป็นความผิดปกติทางจิต หนึ่งในหนังสือที่นำเสนอไอเดียเรื่องความบ้าคลั่ง ในหนังเรื่องนี้คุณจะตีความมันได้หลายอย่าง คุณอาจพูดได้ว่า ‘เห็นได้ชัดเลยว่าเป็นการแชร์ความบ้ากันระหว่างสองคนนั้น’ หรือระหว่างอาร์เธอร์กับโจ๊กเกอร์ ความผิดปกติทางจิตที่อยู่ภายในตัวเขา? สำหรับผมอันที่จริงแล้วมันขึ้นกับว่าคุณดูหนังจากมุมหนัง เข้าใจใช่ไหมครับ?” 

การพาผู้ชมเร่งสปีดให้เห็นว่าโลกมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อโจ๊กเกอร์หลังจากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในภาคแรกผ่านการสัมภาษณ์กับแพดดี้ เมเยอร์ส รับบทโดยสตีฟ คูแกน

“ผมคิดว่ามันคือสิ่งสำคัญด้วยเหตุผลบางประการ ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ตั้งคำถามในตอนจบของเรื่อง เพราะเราปิดฉากด้วยอาร์เธอร์อยู่ในสถาบัน ผมจำได้ว่ามีแต่คนคอยถามผมตลอด ‘มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นหรือ? ทุกอย่างเป็นแค่เรื่องในจินตนาการหรือ?’ เราเลยคิดว่ามันคงสนุกและมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อตอบคำถามเหล่านั้นและอธิบายว่าทำไมเขาจึงมาอยู่ที่นี่ เพื่อชดใช้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น” 

การกลับมาของตัวละครบางตัวจากภาคแรก

“สำหรับผมนั่นคือความสนุกของการสร้างหนังภาคต่อ ได้นำตัวละครเหล่านั้นกลับมา เลห์ กิลล์ รับบทแกรี่ พัดเดิลส์ เลห์เป็นหนึ่งในตัวละครโปรดจากภาคแรก และแน่นอนว่ายังมีซาซี่ [บีตซ์] ผู้รับบทโซฟี ดูมอนด์ มันเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับการพาตัวละครเหล่านั้นกลับมา” 

อาร์เธอร์ดูมีพลังอำนาจมากขึ้นหรือเกิดการแหลกสลายตลอดเรื่องนี้ โดยเฉพาะในช่วงที่เขาถูกสอบสวน… 

“ความสำคัญอยู่ที่การถ่ายทอดออกมา ไม่ว่าในภาคนี้จะมีการถ่ายทอดออกมาอย่างไร อาร์เธอร์ก็ยอมรับความเป็นอาร์เธอร์อยู่แล้วตอนที่เราพบเขาช่วงเริ่มเรื่อง แต่ด้วยบางเหตุผลที่ผมจะไม่เล่าออกไป อาร์เธอร์เริ่มค่อยๆ ยอมรับตัวตนบุคลิกที่เขาสร้างขึ้นมา ซึ่งเป็นอีกมุมหนึ่งในตัวเขา เขาเริ่มสวมวิญญาณโจ๊กเกอร์มากขึ้นเรื่อยๆ เท่าที่เขาจะทำได้”

ในฉากเปิดตัวมีทั้งการพยายามทำสิ่งต่างๆ ในวันนั้น และหลักปรัชญาที่ซ่อนอยู่

“เรามีการวางแผนเสมอ แต่เรามักจะลองปรับเปลี่ยนเมื่อมีโอกาสเสมอ และผมคิดว่ามันช่ยให้นักแสดงรู้สึกผ่อนคลายและเข้าใจว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ มันรู้สึกเหมือน… แต่ละวันมีชีวิตชีวามากขึ้น ไม่ใช่สิ่งที่ผมมักจะเลือกให้เป็นแบบนั้นบ่อยๆ แต่หากพวกเขาอยากลองทำอะไรบางอย่างที่ต่างออกไปสัก 3 แบบ ผมจะไม่พูดว่า “ไม่นะ ไม่ แจ็คกี้ชอบแบบนี้ ผมอยากเห็นแค่ 3 หรือ 5 แบบของเขาเท่านั้น” หรือสำหรับมุมของวาคีนคือ 19 แบบ เข้าใจไหม? แต่ผมจะพูดว่า “ได้สิ แสดงทั้งหมดให้ดูหน่อย” เพราะภาพยนตร์มีการเขียนขึ้นมา 3 แบบ ถูกเขียนขึ้นโดยสก็อตต์กับผม จากนั้นแลร์รี่กับผมก็นำมาเขียนใหม่ หลังจากนั้นเจฟฟ์ [กรอธ] ผู้ลำดับภาพและผมก็สร้างร่าง 3 ซึ่งเป็นร่างสุดท้ายขึ้นมา 

“ฉะนั้นเราไม่รู้เลยว่าแจ็คกี้ในแบบที่ผมเขียนขึ้นร่วมกับสก็อตต์เมื่อ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมาจะเป็นแจ็คกี้คนเดิมในตอนจบของเรื่องหรือไม่ แต่หากเบร็นแดนพร้อมแสดงฝีมือทั้ง 3 เวอร์ชันหรือแสดงฉากนั้นแบบนี้ จากนั้นลองอีกแบบหนึ่งที่ต่างออกป มันก็ช่วยในส่วนของงานเขียนตอนสุดท้าย ซึ่งก็คือในส่วนของการลำดับภาพออกมา ใช่ไหม?” 

ตัวละครของเบร็นแดน กลีสัน ผู้คุมเรือนจำ แจ็คกี้ ซัลลิแวน

“แจ็คกี้คิดว่าตัวเองนำแสงสว่างเพียงน้อยนิดสู่สถานที่อันมืดมิดอย่างโรงพยาบาลแห่งอาร์คัม แต่เขาทำทุกอย่างเพื่อตัวเองเสมอ เขาไม่ได้คำนึงถึงนักโทษหรือผู้ป่วยแต่อย่างใด เราชอบบรรยากาศนั้นที่ตัวละครนี้เดินอย่างมีความสุข เขาจะแกว่งกุญแจไปมาในสถานที่อันหดหู่และมืดหม่นแห่งนี้” 

ความพิเศษของการร่วมงานกับเบร็นแดน กลีสัน

“เบร็นแดนคือนักแสดงแห่งตำนาน เขาถ่ายทอดพลังออกมาอย่างเต็มตัว เขามีความทนหลายด้านในฐานะของนักแสดง สำหรับวาคีนมีสิ่งที่ผมเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงแรกในหนังภาคแรก คือเขาดีขึ้นเรื่อยๆ เราผลักดันให้เขาดีขึ้นอย่างที่เขาควรจะเป็น เข้าใจใช่ไหมครับ? เราพาเขาไปพบกับโรเบิร์ต เดอ นีโร และเราได้ฉากสุดวิเศษออกมา แม้จะไม่ใช่บทที่ยิ่งใหญ่นักสำหรับเบร็นแดน กลีสัน สำหรับผมมันเหมือนกับ ‘โอ้ มันต้องดีมากแน่เลย เหมือนมวยรุ่นเฮฟวี่เวทประกบคู่กับวาคีนเลย’”

การเข้ามาร่วมงานของเลดี้ กาก้า และให้เธอได้แสดงฝีมือในฐานะนักร้องเพลง

ป๊อป

“ผมคิดว่ามันสำคัญมากที่เราจะต้องถ่ายทอดเสียงดนตรีในเรื่องแบบที่เราทำกัน เธอคือคนที่เราแคสต์มาคู่กับาคีน ฟีนิกซ์ การถ่ายทอดเสียงดนตรีคู่กันระหว่างพวกเขาช่วยสร้างอารมณ์ให้ผู้ชมให้ผู้ชมได้มาก มันไม่ใช่แค่มีเสียงดนตรีดังขึ้นระหว่างพวกเขา แต่ยังมีเหตุผลที่พวกเขาร้องเพลงและทำไมต้องเป็นตอนนี้ด้วย? สิ่งที่เราพยายามจะไม่แตะต้องคือช่วงเวลาที่พวกเขาเข้าสู่การร้องเพลง มันมักจะมีเหตุผลเสมอ มีบางสิ่งผลักดันให้เขาทำแบบนั้น พวกเขามักจะมีอาการประหม่าให้เห็นเวลาร้องเพลง เพื่อทำให้ดูเป็นธรรมชาติในเรื่อง ผมมีการร่วมงานกับเธอเรื่อยๆ ผมเคยเป็นโปรดิวเซอร์ในเรื่อง ‘A Star Is Born’ จนกลายเป็นเพื่อนกับเธอ เธอมีพลังมหาศาลมาก ตอนที่เราเริ่มเขียนบทฯ กัน สก็อตต์ กับผมก็เริ่มเขียนบทโดยที่มีเธออยู่ในความคิดตลอด 

“นั่นหมายถึงประเด็นสำคัญคือลีไม่ใช่นักร้องมืออาชีพ และเราไม่อยากให้เธอร้องเพลงแย่จนเกินไป เพราะในความเป็นจริงเธอร้องเพลงแย่ขนาดนั้นไม่ได้ เราไม่ต้องการอะไรแบบนั้น ความสำคัญอยู่ที่การร้องออกมาจากอารมณ์ ไม่ใช่เรื่องของเทคนิค มันเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่จะมองเห็นได้ แต่เธอกับผมมีการคุยกันเรื่องนั้นตลอด มันเป็นเรื่องง่ายมากสำหรับนักร้องอาชีพที่จะลดเทคนิคตัวเองลงมาหน่อย เราให้วามสนใจที่การสะท้อนอารมณ์มากกว่า” 

การถ่ายทำฉากแสดงดนตรีแบบสดๆ และดนตรีช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้นอย่างไร

“นี่คือภาพประกอบสิ่งที่ผมพูดถึงได้อย่างดีมาก เราไม่สามารถบันทึกเสียงในสตูดิโอไว้ล่วงหน้าในช่วง 1 เดือนครึ่งก่อนถ่ายหนัง โดยหวังว่านักแสดงจะเกิดความรู้สึกแบบที่ควรจะเป็นตามเนื้อเพลงได้ มีทางเดียวคือต้องร้องสด ณ วันนั้นในบรรยากาศนั้น ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเธอทำได้ เธอคือนักร้องมืออาชีพ สำหรับวาคีนผมคิดว่าจะโน้มน้าวเขาได้ยากกว่า หรือทำให้เขาแสดงออกมาได้ยากกว่า แต่เหมือนที่เคยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เขาทำให้ผมทึ่งได้เสมอ เขาทำได้ทุกอย่างจริงๆ” 

เสียงดนตรีในภาพยนตร์กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของเรื่อง

“นั่นคือสิ่งที่เราคุยกันก่อนจะคุยเรื่องหนังภาคต่อด้วยซ้ำ ไอเดียนี้มาจากตอนที่ผมคุยกับวาคีนตั้งแต่ช่วงแรกว่าอาร์เธอร์มีเสียงดนตรีในตัวเขา มันคือการแสดงความเป็นอาร์เธอร์และแสดงความอบอุ่นในตัวอาร์เธอร์ แม้แต่ในภาคแรกก็ตาม และผมรู้ดีว่าตัวเองเกลียดการพูดแทนวาคีน แต่ผมต้องยอมรับความเป็นวาคีน ไอเดียของอาร์เธอร์ผู้มีเสียงดนตรีอยู่ในตัวเห็นได้บ่อยครั้งในภาคแรก ส่วนใหญ่คือตอนที่เขาเต้นในห้องน้ำ แต่เขาจะมีการขยับร่างกายตลอดทั้งเรื่องอยู่แล้ว เราเลยคิดว่ามันควรจะมีเหตุผลในการแยกประเด็นออกมา” 

แนวเพลงที่เลือกใช้ในภาพยนตร์ แรงบันดาลใจมาจากที่ไหน

“การเลือกดนตรีคือสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง ผมอยากให้เสียงดนตรีสะท้อนถึงสิ่งที่อาร์เธอร์รู้จัก อาจจะเป็นเสียงเพลงที่คุณแม่ของเขาเปิดในอพาร์ทเมนท์ตอนที่เขาโตขึ้นมา หลายเพลงก็มาจากช่วงนั้น หากคุณจำได้ในภาคแรกเขาฟังเพลงของ Lawrence Welk กับแม่ทางวิทยุ เราเลยอยากเอาบรรยากาศของเพลงสมัยก่อนมาใช้ 

“ฉะนั้นในเรื่องนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าไม่ใช่เพลงต้นฉบับ เพราะเราต้องการสิ่งที่อาร์เธอร์รู้จัก เราไม่คิดว่าจะช่วยอะไรหากมีนักแต่งเพลงเก่งๆ มาร่วมงานและแต่งเพลงต้นฉบับขึ้นมา เพราะมันไม่ใกล้เคียงกับมาตรฐานที่เรามี และไม่รู้สึกว่าถึงความเป็น ‘อาร์เธอร์’ ในการแต่งเพลงต้นฉบับ เพลงที่ใช้มีอยู่แล้วบนโลกและเป็นเพลงที่อยู่ในหัวของเขา” 

เพลงพิเศษที่เลือกใช้และขั้นตอนการเลือกเพลงของพวกเขา … 

“ส่วนใหญ่จะอยู่ในคริปต์ครับ สก็อตต์กับผมจะมีเพลงที่เตรียมเอาไว้ ผมคิดว่าในภาคแรกเป็นช่วงเวลาที่เราคิดว่า ‘อาร์เธอร์ต้องร้องเพลงในหนัง’ คือเพลง ‘For Once In My Life’ สำหรับผมมันเหมือนการสื่อถึงความปรารถนาของอาร์เธอร์ในการสร้างความสัมพันธ์กับมนุษย์ เราเริ่มฟังเพลงนั้นบ่อยๆ และนั่นจุดประกายสำคัญทำให้เราต้องมีเพลงในหนัง เพราะระหว่างที่เราคุยเรื่องเสียงเพลงกับอาร์เธอร์ ไม่เคยมีเรื่องไอเดียของการแต่งเพลงในเรื่องเลย แต่พอเราพบเพลงนั้นเราก็เห็นภาพอาร์เธอร์ร้องเพลงนั้นในสถานบำบัด”

เจสัน รูเดอร์ ผู้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะโปรดิวเซอร์ผู้บริหารด้านเสียงดนตรี

“ถ้าเจสัน รูเดอร์ไม่มีคิวว่าง ผมคงต้องเลื่อนวันฉายภาพยนตร์ออกไปรู้ไหมว่าจะเลื่อนการหนังสักเรื่องเพื่อตารางการทำงานของนักแสดงได้อย่างไร? ผมจะทำแบบนั้นหากเจสันไม่มีคิวว่าง เขาร่วมงานในหนังของผมหลายเรื่องมาก เขาคือคนสำคัญในส่วนของเสียงเพลงในหนัง โดยเฉพาะเรื่องเสียงเพลงเขากับผมทำงานกันได้โดยไม่ต้องพูดอะไรเลย เขาช่วยกันร่วมงานกับฮิลดูร์ [กืดนาดอตเตียร์] ในภาคแรก และเพลงของฮิลดูร์คือส่วนสำคัญของภาคแรก เรียก่าเป็นตัวละครรองที่สำคัญมากของภาคแรกเลย และมันขึ้นกับการร่วมงานกันระหว่างเจสันและฮิลดูร์จริงๆ เจสันเข้าใจบรรยากาศของหนังเป็นอย่างดีตั้งแต่ก้าวแรก” 

ภาพลักษณ์ที่สมจริงและอารมณ์ในบรรยากาศนั้น

“ผมคิดว่าสำหรับหนังทุกเรื่อง นี่ไม่ใช่เรื่องที่โดดเด่นสำหรับหนังเรื่องนี้เลย เราอยากสร้างความรู้สึกสมจริงให้ได้มากที่สุด ซึ่งมันมาพร้อมกับเสื้อผ้า เครื่องประดับ และการออกแบบฉาก นักแสดงที่อยู่ฉากหลัง เราต้องการให้ทุกอย่างดูสมจริง” 

สำหรับการสร้างฉาก 360 องศา และเหตุผลที่การสร้างบรรยากาศระดับนั้นมีความสำคัญมาก … 

“ฉาก 360 องศามีความสำคัญต่อมาร์ค เฟรดเบิร์ก [ผู้ออกแบบฉาก] การถ่ายทำของผมกับ [ผู้กำกับภาพ] แลร์รี่ [เชอร์] รวมถึงวาคีนด้วย เมื่อเขาต้องอยู่ในสถานที่มีผนัง 4 ด้านโอบล้อม และสถานที่ๆ เขาจะไปที่ไหนก็ได้ แม้แต่การสร้างฉากขึ้นมาตรงนี้ เราไม่อยากควบคุมนักแสดงอย่างวาคีน เราอยากมอบอิสระให้เขาเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศนั้นได้จริง” 

การเปลี่นฉากด้วยร่ม ครั้งแรกที่มีการเริ่มใช้สีสัน และทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนไปสำหรับอาร์เธอร์

“สำหรับผมมันสื่อถึงในตัวอาร์เธอร์ยังมีเรื่องมหัศจรรย์เหลืออยู่ และเมื่อพวกเขาออกมาจากประตูเหล่านั้น มีบรรยากาศอึมครึมและฝนตก ทุกคนยกร่มขึ้นมากาง สิ่งที่อาร์เธอร์เห็นคือสีสันต่างๆ ไอเดียนั้นทำให้เขามาอยู่ที่นี่นาน2 ปีและมันเกิดอะไรขึ้นอีกบ้าง? ในช่วง 10 หรือ 12 นาทีแรก เขาถูกโจมตีอย่างหนัก แต่เมื่อเขาก้าวออกมาข้างนอกและมองขึ้นฟ้าจะรู้สึกว่า มันยังมีเรื่องมหัศจรรย์ ยังพอมีแสงสว่างอันน้อยนิด ไม่ได้มืดมิดไปซะหมด’ นั่นคือสิ่งที่ต้องการสื่อออกมา” 

การสร้างความมั่นใจเรื่องโทนสี ขนาด และภาพลักษณ์ทั่วไปที่ต่างจากเรื่อง“Joker”… 

“เราไมอยากทำอะไรที่ดูเป็นการปรับโฉมของภาคแรก เราอยากให้เรื่องนี้มอบความรู้สึกที่ต่างไปโดยสิ้นเชิ้ง แต่ภาคแรกยังมีการสื่อภาษาบางอย่างที่เราต้องนำมาใช้ต่อในเรื่องนี้ ทั้งเรื่องโทนสีในช่วงแรกของเรื่อง ส่วนใหญ่จะสะท้อนมาจากตอนจบของภาคแรก จนกระทั่งได้พบกับลี จนกระทั่งเรื่องมหัศจรรย์กลับมาหาชีวิตของอาร์เธอร์ และเสียงดนตรีกลับเข้ามาชีวิตของอาร์เธอร์ สิ่งเหล่านั้นคือจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของเขา [ผู้ออกแบบฉาก] มาร์ค [เฟรดเบิร์ก] กับผมคุยกันตั้งแต่ช่วแรกว่าอยากได้ความรู้สึกเหมือนการสร้างหนังเรื่องนี้เมื่อนานมาแล้ว ไม่ใช้ฉากคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและบลูสกรีน เราอยากให้รู้สึกถึงส่วนที่เป็นจินตนการและมีเสียงดนตรี เหมือนย้อนเวลาไปหาการสร้างหนังเหล่านั้นสมัยก่อน” 


มีการกลับไปถ่ายทำที่นิวยอร์คช่วงสั้นๆ รวมถึงสำนักงานศาลและบันไดอันเลื่องชื่อในตอนนี้ … 

“ข้อดีที่ได้จากภาคแรกคือเหมือนเรามีเรดาร์นำทาง ปกติจะมีทั้งปาปาราซซี่ มีทั้งคนเดินไปมา เหมือนกับหนังทุกเรื่อง แต่สำหรับเรื่องนี้มีความต่างออกไป เช่น บันไดที่บรองซ์คือตัวอย่างของความท้าทายที่ยากมาก ชาวบ้านแถวนั้นเหลือเชื่อมากเลย พวกเขาต้อนรับเรา และนั่นเป็นเพราะ เดวิด เว็บบ์ ผู้ช่วยผู้กำกับฯ มือ 1 ของผมและทีมงานของเขาที่มีวิธีดูแลชาวบ้าน ทำอย่างไรให้พวกเขารู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมและเรามีการจ้างเด็กๆ ท้องถิ่นมาช่วยงานในฉาก ชาวบ้านแถวนั้นให้การต้อนรับดีมาก มีการขัดขวางคนนอกที่มาถ่ายหนังในนิวยอร์คจนยุ่งยากกว่าที่เคยทำมาในภาคแรก แต่ขณะเดียวกันอย่างน้อยวาคีนกับผมยอมรับเรื่องนั้น เราเข้าไปพูดคุย ‘เฮ้ นี่คือแบบนี้นะ มาทำแบบนี้กัน’ และนั่นคือทุกอย่างที่สะท้อนในหนัง มันช่วยนักแสดงหรือช่วยการทำงานของแลร์รี่กับผม ขณะที่อาจรู้สึก ‘วันนี้เหนื่อยเป็นบ้าเล’ มันก็มักจะได้กลิ่นอายบางอย่างสะท้อนออกมาในหนัง 

การนำฮิลดูร์ กืดนาดอตเตียร์ ผู้ประพันธ์ดนตรีเจ้าของรางวัล Oscar กลับมาร่วมงาน

“ไม่มีความลังเลอะไรเลย จะไม่มีหนังเรื่องนี้ออกมาแน่หากเราไม่ได้โทรหาฮิลดูร์ให้มาดูแลด้านเพลงประกอบภาพยนตร์ ผมคิดวว่าเพลงของเธอคือตัวละครรองที่มีความสำคัญมากในภาคแรก เราเลยร่วมงานกับเธอตั้งแต่ช่วงแรกเหมือนในหนังภาคแรก เธอได้มีการอ่านบทฯ แต่ไม่ใช่แค่อ่านบทและเริ่มแต่งเพลงในหนัง เราให้เธอมาเรียบเรียงบางเพลงด้วย เช่น ‘For Once In My Life’ หรือ ‘Bewitched’ และขอให้เธอสร้างความเป็นตัวเธอสู่เพลงด้วย เราไม่อยากใช้คำนั้นเลย ผมก็เพิ่งคิดคำได้ แต่ต้องเอาเสียงเพลงของเธอมาใส่รวมตามมาตรฐานนั้นจริงๆ เธอมักจะสร้างความสุขแบบนั้นออกมาได้ และช่วยสร้างมาตรฐานขึ้นมาจนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในหนังของเราไปเลย” 

ฉากภาพเคลื่อนไหวในภาพยนตร์

“ผมคิดว่ามันมีความสำคัญในหนังเรื่องนี้ เพื่อสร้างความรู้สึกเหมือนผู้ถูกคุมตัวกำลังวิ่งอยู่ในสถานบำบัด เราคุยกันเรื่องการเปิดลูนีย์ ทูนส์ และเวอร์ชันของเราที่ควรจะเป็นหากพวกเขาสร้างการ์ตูนโจ๊กเกอร์ขึ้นมาในช่วงนั้น หากเรามีการฉายตอนหนึ่งขึ้นมาแต่ตอนนั้นมีการสร้างเป็นหนัง ผลงานภาคแรกจะเกี่ยวกับอะไร หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร และไอเดียระหว่างอาร์เธอร์กับเงาของเขา”

การร่วมงานกับผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวระดับตำนาน ซิลเวน โชเมต์

“พอเราตัดสินใจว่าจะมีการใช้ภาพเคลื่อนไหวร่วมด้วย เราคิดกันว่า ‘โอเค วิเศษไปเลย แต่ใครจะรับหน้าที่นี้ล่ะ?’ ผมมีเพื่อนที่ปารีสทำงานให้กับ Paris Cinematheque ผมอีเมล์สุ่มถามไปว่า ‘รู้จักซิลเวน โชเมต์ไหม? ผมเป็นแฟนของเขา สก็อตต์กับผมดูหนังของเขาและเราพูดถึงเขากันเยอะมาก’ เขาเอาอีเมล์ให้ผม ผมส่งอีเมล์ให้เขาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยและบอกว่าผมคือใคร เขารู้จักหนังภาคแรกและเราก็เริ่มคุยกันนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

“เราใช้เวลาหลายเดือนจนเขาส่งการออกแบบตัวละครอาร์เธอร์รวมถึงทุกอย่างในฉากมาให้ผม ผมไม่เคยทำงานแอนิเมชั่นมาก่อนหรือร่วมงานกับผู้สร้างแอนิเมชั่น เขาคือผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวในยุคบุกเบิก เขาสร้างทุกอย่างด้วยมืด ทำให้มันได้ภาพที่มีเอกลักษณ์และชวนนึกถึงบรรยากาศสมัยก่อน ซิลเวนเป็นผู้ที่ร่วมงานด้วยแล้วรู้สึกประทับใจมาก ทีมงานของเขาก็วิเศษ มีแต่ความเซอร์ไพรส์จริงๆ ทุกอย่างราบรื่นมาก สำหรับผมมันออกมาดีมากเลย ผมรักมันนะ”  

การสร้างประสบการณ์ทางภาพยนตร์อย่างแท้จริงสำหรับผู้ชม

“ผมจะทำหนังสำหรับฉายโรงภาพยนตร์ตลอดไป ผมมีเพื่อนและเพื่อนร่วมงานที่ทำหนังสำหรับสตรีมเมอร์นะ แต่ผมไม่มีวันทำแบบนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ไม่งั้นขอไม่สร้างหนังดีกว่า เพราะผมเชื่อในประสบการณ์จากโรงภาพยนตร์ มันไม่ใช่การพูดเรื่องแปลกใหม่เลย แต่สิ่งสำคัญคือมันเป็นประสบการณ์ของการดูหนัง มันไม่ใช่แค่การแชร์พื้นที่ร่วมกับคนแปลกหน้า 400 คน แต่ยังมีเรื่องของขนาดและความรู้สึกที่คุณจะได้สัมผัส จากนั้นภาพยนตร์ถึงจะฉายขึ้นมา แลร์รี่ ผม มาร์ค และทีมงานทุกคนเราสร้างหนังสำหรับการรับชมในโรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะหนังเรื่องนี้ที่แลร์รี่กับผมเลือกถายด้วยไอแมกซ์หลายฉาก ผมคิดว่าหากคุณดูในระบบไอแมกซ์ จะได้สัมผัสความเป็นไอแมกซ์ที่แท้จริง มันเหลือเชื่อมากเลย”

สิ่งที่ผู้ชมรักในภาคแรกจะพบได้เมื่อดูเรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

“ผมคิดว่าหากคุณรักภาคแรก นั่นก็เพราะคุณรักอาร์เอร์ เพราะเรื่องราวภาคแรกเกี่ยวข้องกับอาร์เธอร์ตลอดเวลา หวังว่าความรักที่มีต่อตัวละครอาร์เธอร์จะยังคงอยู่ นั่นคือสิ่งที่เราเน้นย้ำและคิดว่ามีความรักมากกว่าที่เราคิดเอาไว้ด้วยซ้ำ ในเรื่องนี้มีความยิ่งใหญ่กว่าที่เราคิดเอาไว้ ที่คิดว่ายิ่งใหญ่ไม่ใช่แค่เพราะสิ่งที่แลร์รี่กับผมสร้าง การถ่ายทำของพวกเรา ไม่ใช่เพราะฉากที่มาร์คสร้างไว้  แต่เพราะความรักสำหรับตัวละครนี้ที่วาคีนสร้าง เราคิดว่าหากเราเน้นไปที่เรื่องนั้น และเราดึงตัวอาร์เธอร์ออกมาและขัดขวางอาร์เธอร์ในช่วงท้ายของเรื่อง น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสม” 

นั่งพูดคุยกับทีมนักแสดง

วาคีน ฟีนิกซ์

อาร์เธอร์ เฟล็ค

เมื่อไหร่และทำไม ไอเดียของภาคต่อเรื่อง “Joker” จึงเกิดขึ้น…

“ทอดด์กับผมเริ่มคุยกันเรื่องการหาเรื่องราวมาเล่าใหม่พร้อมกับตัวละครในช่วงที่กำลังถ่ายทำภาคแรก ก่อนที่จะมีการฉายภาคแรกนานมาก มันคือสิ่งที่เราทั้งคู่ต่างรู้สึกว่าอยากเข้าไปสำรวจตัวละครมากขึ้น และผมรักไอเดียนั้นรวมถึงความท้าทายในการสานต่อเรื่องราว แต่ต้องหาโทนในการนำเสนอที่ต่างออกไปด้วย”

การร่วมงานกับผู้สร้างภาพยนตร์ ทอดด์ ฟิลลิปส์

“หากจะให้พูดถึงเขาคือผู้สร้างภาพยนตร์ที่มีสีสัน มีมุมมองที่โดดเด่นและไม่เหมือนใคร นั่นคือสิ่งสำคัญมากอย่างน้อยก็สำหรับผมเวลาร่วมงานกับผู้กำกับฯ นอกจากนั้นผมยังรักวิธีการแก้ปัญหาของเขาด้วย เขาค่อนข้างจะไม่เกรงกลัวอะไร เขาเป็นคนคิดไวซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก มันทำให้เราเดินเข้าฉากในแต่ละเทคด้วยรูปแบบที่ต่างกันไปได้ตามใจเรา และเวลาที่เราพบกับปัญหา เขาจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ผมไม่เคยร่วมงานกับใครที่คล้ายเขาเลย”


ตัวละครอาร์เธอร์ เฟล็คผู้มีเสียงดนตรีในหัวของเขา…

“ในภาคแรกเราได้เห็นช่วงเวลาที่อาร์เธอร์และโจ๊กเกอร์เข้าสู่โลกที่ได้สัมผัสเสียงดนตรี มีท่าทางที่ดูอ่อนโยนอย่างน่าประหลาด บางจังหวะเพลงกระตุ้นการขยับเคลื่อนไหวร่างกายของเขา มีความคิดถึงเสียงดนตรีที่เขาฟัง เสียงดนตรีที่วนเวียนในหัว ที่เราค้นพบมากขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างการถ่ายทำ”

การร่วมงานกับเลดี้ กาก้าผู้รับบทลี ควินเซล…

“ผมได้พบว่าเธอไม่มีอีโก้อะไรเลย แค่ดูเป็นคนมุ่งมั่นที่พร้อมทำความเข้าใจกับพวกเรา นับเป็นประสบการณ์ที่ดีที่มีคนอื่นมาร่วมงานด้วย และพร้อมจะร่วมฉากทุกแบบกับเรา มีนักแสดงไม่กี่คนที่จะรู้สึกสบายใจกับการทำงานในแบบนั้น เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงในบางช่วงและเราต้องลองแสดงกันในเวอร์ชันอื่น แต่เธอพร้อมลุยกับทุกอย่าง ที่เห็นชัดเจนคือเธอมีน้ำเสียงที่เพราะมากและเล่นดนตรีเก่ง ผมคิดว่าการลดขีดความสามารถเรื่องนั้นน่าจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่มีพรสวรรค์ แต่ผมกลับได้เห็นคนที่พร้อมทุ่มเทการทำงาน เข้าใจที่ทอดด์ต้องการให้มันดูมีความเป็นธรรมชาติสมจริงผ่านการร้องเพลงของเธอ นั่นคือสิ่งที่เธอถนัดมาก สามารถพัฒนาและถ่ายทอดออกมาในช่วงเวลานั้นได้ทุกครั้ง”

เบร็นแดน กลีสัน ในบทแจ็คกี้ ซัลลิแวน ผู้คุมเรือนจำ

“เบร็นแดนเป็นนักแสดงที่ผมรักนะครับ ผมร่วมงานกับเขาเมื่อหลายปีที่แล้วในเรื่อง ‘The Village’ เขาเป็นนักแสดงที่น่าทึ่งมากเลย”

การร่วมงานกับแคทเธอรีน คีเนอร์ ในบทมารีแอน สจ๊วต ทนายของอาร์เธอร์

“ผมรู้จักแคทเธอรีนมานานหลายปีแล้วครับ ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กเลยล่ะ อายุ 8 ขวบหรือเท่าไหร่สักอย่าง แต่ไม่เคยร่วมงานกับเธอ นับเป็นเรื่องดีมากที่มีโอกาสนั้น ตอนที่เราได้พบกับตัวละครเธอ เราจะรู้สึกได้เลยว่าเธอเป็นคนเดียวที่ทำหน้าเป็นมิตรต่ออาร์เธอร์ในช่วงที่เขาอยู่ในอาร์คัม แทบจะเป็นคนแรกที่สร้างความประทับใจให้เขาหรือมองเขาอย่างใส่ใจในอาการเจ็บป่วยของเขา ในช่วงแรกเขาไม่พูดอะรมากนักในเรื่องเพราะไม่คิดว่าจะมีใครรับฟังเขาหรือใส่ใจเขาจริงๆเธอเป็นคนแรกที่เราได้เห็นความใส่ใจ และสุดท้ายเธอคือก้าวสำคัญของการเดินทางของเขาตลอดทั้งเรื่อง มันวิเศษมากครับที่ได้ร่วมงานกับเธอ”

การร่วมงานกับเลห์ กิล ผู้รับบทแกรี่ พัดเดิลส์อีกครั้ง…

“ตอนที่ผมร่วมงานกับเลห์ในภาคแรก ผมจำได้ว่าเขาทำให้ผมต้องประหลาดใจ และหลังจากวันนั้นผมจำที่คุยกับทอดด์ได้ว่าเขาน่าทึ่งมาก ตัวละครนั้นมีความลึกซึ้งและเรื่องราวในอดีตที่เราสัมผัสได้ มีหลายครั้งที่ยากจะแสดงออกมาได้เมื่อเรามีเพียง 2 ฉากในหนัง ผมอยากเข้าฉากกับเขาในภาคแรกมากกว่านั้น ผมพยายามเข้าไปหาเขาในทุกฉากเลย ผมเลยดีใจมากตอนที่ทอดด์กับผมคุยกันครั้งแรกว่าตัวละครนี้จะได้กลับมาและเขาจะกลับมาร่วมงานด้วย เขาแสดงฉากนั้นเก่งมากและนั่นเป็นช่วงสำคัญในหนังด้วย”

ซาซี่ บีตซ์ กลับมารับบทโซฟี ดูมอนด์อีกครั้ง…

“มันวิเศษมากที่ได้ร่วมงานกับเธออีกครั้ง เธอเข้ามาพร้อมความสมบูรณ์แบบและความมหัศจรรย์ ไม่ต่างจากเลห์ที่เราสัมผัสได้ถึงเรื่องราวในอดีต การใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ แม้จะแค่วันเดียวแต่ก็รู้สึกดีมากที่ได้พบเธออีกครั้ง”

บรรยากาศที่สร้างขึ้นเพื่อภาพยนตร์…

“ฉากที่มาร์ค เฟรดเบิร์กสร้างขึ้นมาค่อนข้างน่าทึ่งมาก อาร์คัมมีหลายชั้นและพอเราเขาไปในฉากจะรู้สึกเหมือนหลงเข้าไปในนั้นเพราะมีขนาดใหญ่มาก มันน่าประทับใจจริงๆ และที่สำคัญคือเหมือนเราหลุดจากโลกของโรงถ่ายในสตูดิโอไปเลย ซึ่งห่างไกลจากความเป็นหนังมาก ได้เข้าไปในฉากและได้หลงอยู่ในทางเดินนั้น ทุกอย่างสามารถเดินเข้าไปได้และทำให้รู้สึกสมจริง มันเป็นฉากที่ใหญ่ของในหนังและเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้นักแสดงเข้าถึงโลกใบนั้นด้วย”

เครื่องแต่งกายที่อาเรียน ฟิลลิปส์ออกแบบสำหรับภาพยนตร์…

“อาเรียนสามารถสร้างความสมจริงให้บรรยากาศของอารัมและความโรแมนติก ช่วงเวลาที่มีความคลาสสิคแห่งจินตนาการผ่านเครืองแต่งกายของเธอได้ดีเยี่ยม เธอคือผู้ชำนาญและเป็นผู้ที่ผมร่วมงานด้วยมานานหลายปีแล้ว มันเลยวิเศษมากที่ได้ร่วมงานกับเธออีกครั้ง” 

การนำเสียงดนตรีสู่การผสมผสาน…

“เราเริ่มคุยกันเรื่องแสดงดนตรีตั้งแต่แรกเริ่มนานมากๆ ก่อนทอดด์และสก็อตต์ [ซิลเวอร์] จะเริ่มนักเขียนบทฯ ด้ยซ้ำ จนสุดท้ายมีความชัดเจนว่าเราอยากให้มันมีความเป็นธรรมชาติ ปราศจากกุญแจมือ และดูมอมแมมในแบบที่เราไม่คิดว่าจะเห็นได้จากหนังแนวนั้น เรารู้สึกว่าไม่อยากให้เหมือนสิ่งที่เคยเห็นมาก่อน หรือทำอะไรที่เหมือนการร้องเพลงทั่วไปในหนัง มันมีทั้งความตื่นเต้นและความท้าทาย เพราะมันรู้สึกเหมือนเราต้องออกไปแสดงสด ร้องเพลงที่ส่งความรู้สึกสมจริง แต่อาจจะไม่ได้ถูกต้องงดงามตามเพลงมากนัก และมีบางอย่างที่สร้างความรู้สึกตื่นเต้นได้มากด้วย”

การร่วมงานกับนักเปียโน อเล็กซ์ จูลส์ ในการแสดงสด …

“จอร์จ ดราคูเลียส ผู้ควบคุมด้านเสียงดนตรีเขาร่วมงานกับทอดด์ตลอด และผมรู้จักเขามานานหลายปีแล้ว ตั้งแต่ช่วงแรกๆ เขาแนะนำให้รู้จักกับนักเปียโน อเล็กซ์ จูลส์ พอเราเริ่มร่วมงานกันก็คลิกกัน ผมบอกเขาว่าต้องการความรู้สึกที่ต่างออกไป เราไม่เคยกำหนดด้วยคำพูดหรือแนวการร้องเพลงเพียงอย่างเดียว มันมีการปรับเปลี่ยนเกิดขึ้นในเทคนั้นตลอด และเขาก็รับฟังด้วยดีมาก เข้าใจว่าผมน่าจะรู้สึกแบบไหน มีหลายครั้งที่ผมร้องเพลงใช้เสียงหนักและดัง และบางครั้งผมก็ต้องใช้เสียงนุ่มลง ผมอยากร่วมงานกับคนที่ไปทิศทางเดียวกับผมและเปิดใจกว้าง รับฟังผม และปรับเปลี่ยนจังหวะการแสดงสดได้”

ผู้ประพันธ์ดนตรี ฮิลดูร์ กืดนาดอตเตียร์กลับมาร่วมเรียบเรียงดนตรีในหนัง

“เพลงประกอบภาพยนตร์ของฮิลดูร์มีส่วนสำคัญต่อภาคแรกมาก และช่วยพัฒนาตัวละครขึ้นมาได้จริงๆ ผมคิดว่าตัวเองค้นพบตัวละครระหว่างฟังเพลงของเธอในฉากพร้อมกับการเดินหน้าถ่ายทำ มันเป็นความรู้สึกที่พิเศษจริงๆ สิ่งต่างๆ ดูมีชีวิตขึ้นมาได้เพราะแบบนั้น และต้องถ่ายทอดออกมาสู่ภาพยนตร์ จากช่วงเวลานั้นผมรู้สึกว่าตัวละครและเสียงดนตรีของฮิลดูร์เชื่อมโยงกันได้อย่างแนบเนียน มันเลยเกิดความตื่นเต้นเมื่อรู้ว่าเธอจะกลับมาร่วมงานในภาคนี้ ผมคิดว่าเราพยายามหาทางให้ตัวละครได้เปิดเผยตัวตนออกมาในภาคนี้ และเสียงดนตรีของฮิลดูร์ก็ช่วยได้เยอะเลย มันไมได้มีข้อดีแค่เธอได้กลับมาร่วมงานด้วย แต่ยังมีการได้ฟังเพลงของเธอเวอร์ชันใหม่สำหรับบางธีม”

การร่วมงานกับผู้ออกแบบท่าเต้น ไมเคิล อาร์โนลด์

“ไมเคิล อาร์โนลด์เข้าถึงการเต้นโดยผ่านแววตาของตัวละคร บางช่วงเวลาที่ผมชอบคือตอนที่เราอยู่ในสตูดิโอ เขาจะเปิดเพลงและเริ่ม… รู้สึกบางอย่างและเต้นออกมา เราจะรู้สึกได้อย่างรวดเร็วว่ามันลงตัวดีมาก และความรู้สึกนั้นเหมือนกับตัวละครและบางสิ่งที่ไม่ลงตัว เขาไม่เห็นความสำคัญอะไรเป็นพิเศษเลย เขาแค่ช่วยปรับบางสิ่งเพื่อความสามารถของเราหรือลักษณะร่างกายของเรา เพราะเขาจะทำอะไรก็ได้ เต้นแบบไนหก็ได้ และแน่นอนว่าผมมีขีดจำกัด แต่เขาเป็นครูที่เก่งมาก เขาใส่ใจในสิ่งที่ตัวเองทำและรักมันจากใจ มันคือสิ่งที่ส่งต่อถึงกันได้และเป็นความรู้สึกดีที่ได้อยู่ใกล้เขา”

ผู้บริหารการผลิตเสียงดนตรี เจสัน รูเดอร์

“มันดีมากเลยครับที่มีเขามาอยู่ในฉากและพร้อมให้ความช่วยเหลือ มีหลายอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างฉาก ผมชอบสงสัยว่า‘เรายืดช่วงเวลานี้หน่อยได้ไหม? คำแรกมันเริ่มเร็วเกินไป ถ้ายืดเวลาออกไปสักหน่อยจะเป็นอย่างไร?’ เขาจะนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ของเขา สร้างช่วงจังหวะและเพิ่มเสียงเพลงบางส่วนขึ้นมา หลังจากนั้นไม่กี่นาทีเราก็จะได้วิธีการร้องเพลงในอีกรูปแบบหนึ่งออกมา”

เลดี้ กาก้า

ลี ควินเซล

ปฏิกิริยาที่มีต่อบทภาพยนตร์และความรู้สึกแรกต่อบทของเธอในเรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

“ความรู้สึกของฉันตอนอ่านบทครั้งแรก คือรู้สึกตื่นเต้นที่มีโอกาสได้แสดงเยอะมาก ฉันรู้สึกว่าบทภาพยนตร์ถูกเขียนขึ้นออกมาอย่างตั้งใจและเห็นได้ชัดเจนว่านี่คือเรื่องเกี่ยวกับความรัก การเล่าเรื่องราวความรักของเราต้องไม่เหมือนกับที่เคยแสดงหรือเห็นที่ไหนแน่นอน และนั่นหมายถึงว่าลีควรเป็นตัวละครที่เราไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อนด้วย สิ่งหนึ่งที่ฉันชอบในบทคือเธอดูมีความสมจริงมาก”


เมื่อรู้ว่าฮาร์ลีย์ ควินน์เคยปรากฏตัวในหนังสือการ์ตูนและทางทีวีมาแล้ว ในเรื่องนี้มีความต่างอย่างไรบ้าง

“แน่นอนว่าฉันมีการคิดถึงฮาร์ลีย์ ควินน์ในทุกรูปแบบที่เคยมีมาก่อนบทเรื่องนี้ มันเป็นความตื่นเต้นสำหรับฉันที่จะไดสร้างลีในโลกของทอดด์และวาคีนขึ้นมา โลกแห่ง ‘Joker’ ของพวกเขาต่างจากโลกของคนอื่นที่เราเคยเห็น แต่นี่เป็นเรื่องราวของอาร์เธอร์ เฟล็ค เรื่องราวก่อนจะมีโจ๊กเกอร์ที่เต็มไปด้วยเรื่องสะเทือนใจ ฉันเข้าใจดีว่าลีต้องดูเป็นมนุษย์ที่ดูสมจริงสำหรับเรื่องนี้ ฉันร่วมงานกับทอดด์และวาคีนแต่ละวันเยอะมาก เพื่อถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ของเธอออกมาสู่หนังและเรื่องราวที่โหดร้ายนี้” 

อาร์เธอร์กำลังคิดอะไรอยู่เมื่อเขาได้พบกับลี

“ฉันคิดว่าในช่วงแรกของเรื่องอาร์เธอร์อยู่ในจุดที่แย่มาก และคิดว่าทอดด์พยายามเล่าถึงระบบนี้ที่ทำร้ายผู้คนออกมาได้อย่างลึกซึ้ง ฉันคิดว่าในช่วงแรกของเรื่อง เราได้พบอาร์เธอร์ในสภาพดูไร้ชีวิตชีวา และการพบกันครั้งแรกนี้เป็นเหมือนการบอกว่าอาจจะยังมีความหวัง” 

สิ่งสำคัญของการค้นพบตัวตนของลีระหว่างแสดงบทของเธอ

“ฉันสนุกมากที่ได้ค้นพบความเป็นลีในฉาก และพูดได้เลยว่าการร่วมงานกับทอดด์ การร่วมงานกับวาคีน ในฐานะผู้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดในทุกวันเป็นการเปิดโลกของฉันด้านการสร้างภาพยนตร์อย่างมาก และทำให้ฉันได้เข้าฉากอย่างเข้าใจว่าอาจจะค้นพบตัวละครได้จากในฉาก และเราจะทำอย่างไรไม่ให้ตัดสินตัวละครตัวเองไปก่อนล่วงหน้า? มันเป็นเรื่องที่สนุกมากค่ะ” 

การสร้างความคล่องแคล่วในการทำงาน

“เรามีการซ้อมเต้นวอลซ์นานหลายเดือน ฉันต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเพลงของฉันนานหลายเดือนเหมือนกับวาคีน แต่เราทำทุกอย่างสบายๆ เพราะนี่เป็นการถ่ายทอดความงดงามที่สำคัญออกมา ในท้ายที่สุดการลำดับภาพจะเป็นตัวเลือกผลงานสุดท้ายออกมาอยู่ดี แต่ในฉากเราไม่ต้องตัดสินใจอะไรเลย เราแค่เตรียมตัวจากนั้นก็แสดงออกไป”

ความหมายของ “folie à deux” พูดถึงในเชิงไหน… 

“ฉันมีการค้นหาเรื่อง folie à deux และอ่านคำอธิบายทางการแพทย์ในเรื่องนี้ บางคนพูดถึงความวิกลจริตซ้ำซ้อน บางคนพูดถึงสภาวะที่ผู้ป่วยวิกลจริต 2 คน คนหนึ่งแสดงออกถึงความผิดปกติสู่อีกคนหนึ่ง โดยพวกเขาเชื่อในจินตนาการที่แชร์ร่วมกัน มีการแชร์ภาพลวงตาและบรรยากาศรอบตัวร่วมกัน พวกเขาพร้อมปกป้องจินตนาการที่มีร่วมกันไม่ว่าจะต้องแลกกับอะไรก็ตาม”

เส้นกำหนดระหว่างโลกแห่งจินตนาการกับโลกแห่งความเป็นจริง

“จินตนาการในเรื่องคือการถ่ายทอดของทอดด์ที่มองเห็นพวกเขา ทั้งอาร์เธอร์และลีพวกเขาถ่ายทอดสิ่งที่โจ๊กเกอร์และฮาร์ลีย์ หรือลีและอาร์เธอร์ หรือโจ๊กเกอร์และลี และอาร์เธอร์กับฮาร์ลีย์ได้พบเจอในชีวิต มันขึ้นอยู่กับผู้ชมที่จะได้สัมผัสและตัดสินเอาเอง”

การผสมเข้ากันลงตัวอย่างเป็นธรรมชาติของเสียงดนตรีกับเนื้อเรื่อง

“ทอดด์พูดเสมอว่ามีเสียงดนตรีอยู่ในตัวอาร์เธอร์ และนั่นเป็นเรื่องยากที่ฉันจะคุยเรื่องจุดเริ่มต้นของเรื่องนี้โดยไม่เริ่มจากเรื่องของอาร์เธอร์และผลงานภาคแรก สำหรับฉันเสียงดนตรีมีบทบาทสำคัญต่อหนังเรื่องนี้เพราะมันคือส่วนหนึ่งที่ทำให้โจ๊กเกอร์มีชีวิต เหมือนปลุกอาร์เธอร์ขึ้นมา และฉันคิดว่ามันคือจุดเปลี่ยนให้อาร์เธอร์กลายเป็นโจ๊กเกอร์ด้วย เสียงดนตรีในตัวเขาทำให้ฉันคิดถึงการถ่ายทอดอารมณ์ในบางช่วงด้วยคำพูดไม่ได้ในฉากนั้น มันต้องถ่ายทอดออกมาผ่านเสียงเพลงหรือการต้น

“ฉันคิดว่าเสียงดนตรีนั้นมีการเลือกสรรมาอย่างงดงามสำหรับเรื่องนี้ พวกเขาสนใจภาพยนตร์เป็นอันดับแรก และทุกอย่างเชื่อมโยงกับตัวละครเหล่านี้ ฉันไม่คิดว่าเสียงดนตรีนั้นจะลงตัวกับหนังเรื่องนี้ได้หากไม่มีเหล่าตัวละคร ส่วนหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมหลุดโลกทั้งหลายโดนใจเราขณะดูหนัง เป็นเพราะมันมีความจริงบางส่วนในเรื่องราว” 

การค้นหาน้ำเสียงของลี

“มีการร่วมงานกับจอร์จ ดราคูเลียส, เจสัน รูเดอร์, แรนดี้ โปสเตอร์, ทอดด์, วาคีน… เราร่วมงานกันอย่างหนักเพื่อหาน้ำเสียงสำหรับทุกคนในหนัง และสำหรับฉันการค้นหาเสียงของลีเป็นขั้นตอนที่มีความน่าสนใจ ฉันรู้ว่าลีไม่ใช่นักร้องที่เก่ง เธอร้องเพลงอย่างเต็มที่และนั่นคือส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้ ทั้งสองตัวละครต้องถ่ายทอดออกมาอย่างเต็มที่ ซึ่งในชีวิตจริงเราก็พยายามทำเต็มที่กันมาตลอดไม่ใช่หรือ? ฉะนั้นการทำสุดความสามารถ แสดงให้เห็นตัวตนของเธอ คือจุดเริ่มต้นของการร้องเพลงของฉันในเรื่องนี้ค่ะ”

การร่วมงานกับทอดด์ ฟิลลิปส์ในเรื่อง

“ทอดด์สาดคอนเซ็ปต์ทั้งหมด รวมถึงบทภาพยนตร์สู่ผลงานภาคต่อของ ‘Joker’ ด้วยความกล้าและมีความซับซ้อน ในเรื่องมีทั้งเสียงดนตรี การเต้น ความดราม่า และความเครียดในห้องพิจารณาคดี ความตลก ความสุข ความเศร้า มันมีครบทุกรายละเอียด บางเพลงก็เหมือนจินตนาการ บางเพลงก็เหมือนฉากนั้น มันคือความแหวกแนวที่ฉันคิดว่ามีความชัดเจนมาก และนั่นคือบทพิสูจน์ของเขาในฐานะของผู้กำกับฯ ที่เน้นความสร้างสรรค์มากกว่าจะถ่ายทอดแค่เรื่องราวความรัก ในฐานะของผู้สร้างภาพยนตร์ฉันไม่คิดว่าเขาจะยืนจุดเดิมและพูดว่า ‘นี่คือสิ่งที่ผมอยากให้คุณรู้สึก’ ฉันคิดว่าเขาจะเข้าไปสำรวจ 2 คนนี้ ฉันชื่นชมเขาเสมอที่เขาสร้างชื่อเสียงให้อาร์เธอร์ในภาคแรกได้ และในภาคที่ 2 เขาทำได้ยิ่งกว่านั้น” 

การร่วมงานกับวาคีน ฟีนิกซ์

“ฉันรักการร่วมงานกับวาคีนค่ะ เขาคือประสบการณ์พิเศษในการร่วมงานทั้งหมดนี้ด้วย ฉันได้เรียนรู้หลายอย่างเกี่ยวกับการแสดง การร่วมงานกับเขา และฉันสนุกกับการแสดงดนตรีร่วมกับเขารวมถึงการเต้นที่เกิดขึ้นประจำ” 

เพื่อนนักแสดงในภาพยนตร์ เบร็นแดน กลีสัน และ แคทเธอรีน คีเนอร์

“ฉันรักการร่วมงานกับเบร็นแดน กลีสัน เรามีช่วงเวลาที่ดีในฉากร่วมกัน ฉันคิดว่าเขามีน้ำเสียงที่วิเศษมาก ฉันรักการร่วมงานกับเขา แคทเธอรีน คีเนอร์ก็เป็นนักแสดงที่น่าทึ่งและเป็นคนตลกมาก เราหัวเราะด้วยกันเยอะมากเลยค่ะ”

การถ่ายทอดอารมณ์ของลีผ่านเสียงดนตรี

“หนึ่งในเพลงโปรดของฉันในหนังทั้งเรื่องที่ฉันแสดงคือ ‘Close to You’ เพราะมันถ่ายทอดอารมณ์ที่ตึงเครียดระหว่าง 2 ตัวละครนี้ เราค้นพบหลายครั้งหลังจากถ่ายทำฉากนี้ มันมีความสนุกจากความกล้าของลีที่พร้อมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ใกล้ชิดโจ๊กเกอร์ เพลงนี้เลยเป็นความสนุกของเธอและเป็นการเตือนเขาในสิ่งที่ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องจริง “เฮ้ คุณรักความสนุกเหมือนกันนี่ เวลาที่คุณรู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกหวาดกลัว ฉันก็รู้สึกไม่ต่างกัน” 

การร่วมงานกับนักเปียโน อเล็กซ์ สมิธ และการแสดงสดที่เกิดขึ้นในฉาก

“อเล็กซ์ สมิธกับฉันร่วมงานกับมานานหลายปี เขาแค่ไม่อยู่ในฉากและเข้ามาอยู่ในหู ทำให้เขาเป็นเหมือนนักแสดงที่มีความหมายในฉากนั้น ฉันไม่เคยรู้สึกว่าเขากดดันให้ฉันเดินหน้าหรือถอยหลังมากเกินไป เขาทำให้ฉันรู้สึกเหมือนที่คุยกับอาร์เธอร์หรือโจ๊กเกอร์ ทุกอย่างเป็นการแสดงสด เสียงเปียโนก็เล่นสด เสียงร้องก็ร้องสด วาคีนเองก็แสดงสดพร้อมกับนักดนตรีของเขาเอง ฉันคิดว่ามันสร้างความสมจริงให้สิ่งที่ดูเหมือนเป็นโลกแห่งจินตนาการ มันมีทั้งความอึดอัดและความชวนหลงใหลเกิดขึ้น เพราะคนปกติจะไม่ตัดเข้าหาเพลงระหว่างการพูดคุยกัน แต่ลีและอาร์เธอร์ทำแบบนั้น แล้วใครล่ะที่จะบอกได้ว่านั่นไม่ปกติ? ฉันคิดว่าต้องเป็นอเล็กซ์ หากไม่มีความรู้ความชำนาญจากเขา ฉันคิดว่านี่จะต้องเป็นฉากที่ยากมากแน่ๆ ฉันรู้สึกโชคดีมากที่เรามีเขามาร่วมงานในฉาก” 


การร่วมงานกับผู้ออกแบบท่าเต้น ไมเคิล อาร์โนลด์ ในเพลงวอลซ์พร้อมกับนักแสดงคนอื่น

“ไมเคิล อาร์โนลด์เป็นทั้งผู้ออกแบบท่าเต้นและแดนเซอร์ที่มีพรสวรรค์เหลือเชื่อ เขาร่วมงานด้วยอย่างไม่มีเหน็ดเหนื่อย ไมใช่แค่การสอนเราเรื่องท่าเต้น แต่ยังมีการปรับเปลี่ยนท่าเต้นตลอดเวลา การร่วมงานกับพวกเราเพื่อทำให้ท่าเต้นเหมือนออกมาจากพวกเขาจริงๆ วาคีนเป็นนักเต้นที่น่าทึ่งมาก เขามีไอเดียท่าเต้นหลายอย่าง ไมเคิลก็เป็นคนที่ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เขาทำให้เราเข้าใจภาษาของเขาและเจาะลึกถึงมัน จากนั้นเราก็โยนทิ้งไปและเริ่มถ่ายทำฉากนั้น มันเหมือนการคุยกันธรรมดาทั่วไป

“และคุณรู้ใช่ไหมว่าความตื่นเต้นของการสร้างภาพยนตร์อยู่ที่ตรงไหน? เหมือนการเต้นกลายเป็นการพูดคุย และการพูดคุยกลายเป็นการเต้น การร้องเพลงกลายเป็นความเงียบ ทุกอย่างมันมีความต่างออกไปในการถ่ายทอดสิ่งที่มีเอกลักษณ์ ส่วนที่ฉันชอบในการถ่ายทำคือการที่เราค้นพบฉากนั้นและทุกอย่างดูสมจริง เพราะเรามีการซ้อมฉากนั้นโดยที่ไม่มีการซ้อมฉากอื่นกันเลย มันมีความน่าสนใจมากที่ได้เห็นสิ่งที่ซ้อมออกมาเป็นรูปเป็นร่างขึ้นได้” 

ความสำคัญของเพลง “Gonna Build A Mountain” ในเรื่อง

“เราเคยคุยกันตลอดว่าลีคิดว่าอาร์เธอร์จะได้ออกจากเรือนจำจริงๆ หรือไม่ และเพลง ‘Build A Mountain’ สำหรับฉันก็มีความหมายสำคัญมาก เธอเชื่อว่าเขาจะได้ออกไป มันเป็นเพลงที่สำคัญต่อฉันเพราะเป็นเพลงที่มีแรงดึงดูดทุกอย่าง ความฝันเหล่านี้ยิ่งใหญ่ขนาดไหน พวกเขาจะล้มเหลวขนาดไหนหากทำฝันเหล่านั้นไม่สำเร็จ”

ความรู้สึกของลีที่มีต่ออาร์เธอร์และโจ๊กเกอร์ ความรู้สึกเหล่านั้นลึกซึ้งขนาดไหน

“สำหรับฉันในช่วงแรกของเรื่อง ลีไม่รู้เลยสักนิดว่าตัวเองเป็นใคร เธอเหมือน… ทุกสิ่งก็เพื่อเขา ฉันอยากใกล้ชิดคุณ อยากอยู่ใกล้คุณ อยากพูดคุยกับคุณ ฉันอยากหนีออกไปจากที่นี่ ลีดูไร้เหตุผลที่คอยไล่ตามโจ๊กเกอร์และอาร์เธอร์ ฉันคิดว่าความรักนั้นทำให้เธอพบคำตอบว่าชีวิตที่เหลือเธอจะเป็นใคร” 

พัฒนาการของลีและการร่วมงานกับผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย อาเรียน ฟิลลิปส์

“อาเรียน ฟิลลิปส์เป็นคนทีน่าทึ่งมาก ฉันรักการทำงานร่วมกับเธอ เธอเหมือนต้นกำเนิดความสุขในแต่ละวัน เริ่มจากที่อาร์คัม ฉันต้องสวมกางเกงของโรงพยาบาลและเสื้อเชิ้ตสีขาว เราสนุกกับมันมาก ชุดชั้นในของฉันเองก็ถูกเลือกอย่างลงตัวจนเชื่อว่าลีจะสวมใส่แบบนั้น มันดูคล้ายกับตัวเลือกที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ ฉันคิดอยู่ในใจว่าลีมีความคิดที่ดูเป็นเด็กกว่าตัวตนในชีวิตจริง และฉันสวมเสื้อแขนยาวที่มีลายฮาร์ลีควินปรินท์อยู่บนนั้น มันเป็นการบอกใบ้ให้รู้ว่าเธอจะกลายเป็นใคร และเป็นรายละเอียดที่ทุกคนจะจดจำได้ 

“การจัดชุดสำหรับขึ้นศาลของเธอก็เป็นเรื่องที่ชวนตื่นเต้นมาก ด้วยอะไรหลายๆ อย่างทำให้ฉันรักได้มากเท่ากับการเปิดเผยตัวตนฮาร์ลีย์ไปขึ้นศาลวันสุดท้ายของโจ๊กเกอร์ ฉันคิดว่าทุกคนคงจะคิดว่านั่นเป็นช่วงเวลาโปรดของฉัน การได้เลือกว่าลีจะสวมชุดอะไรขึ้นศาลตอนที่อาร์เธอร์ถูกสอบสวนเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมาก วันหนึ่งฉันจำได้ว่าเคยพูดกับอาเรียน ‘ฉันอยากดูดีในสายตาเขา’ เราเลยเลือกชุดที่ดูเหมือนลีจะไปโบส์มาใส่ เธออยากดูพร้อมปรากฎตัวและสวมชุดที่ดู… คำไหนนะที่ดูเหมาะสม? ฉันอยากให้เธอสวมชุดที่ดูเหมาะจะเดินทางไปศาล และฉันคิดว่านั่นคือตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับตัวละครที่ฉันคิดว่าท้าทายระบบและดูก่อกบฎ ลีดูหมดหนทางจะเป็นที่ยอมรับในห้องพิจารณานี้ เพราะเธอต้องการให้อาร์เธอร์หลุดพ้น เพื่อที่เธอจะได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ไปกับเขา”

การถ่ายทำที่นิวยอร์คสำหรับบางฉาก

“ฉันสนุกกับการอยู่ที่นิวยอร์คมากค่ะ ฉันได้อยู่ในบรรยากาศแบบนั้นและพยายามไม่สับสนกับนิวยอร์คซิตี้ เพราะทุกอย่างดูสมจริงในฉากนี้มาก ขณะที่ทุกอย่างรอบตัวถูกกำกับจากพื้นที่ห่างไกลครึ่งไมล์ มันยากที่จะเข้าใจได้ว่าของจริงเป็นแบบไหน แต่นั่นคือโลกแห่งความจริงของเราและมันก็ออกมาอย่างดีมาก”

สิ่งที่ผู้ชมคาดหวังได้ว่าจะพบเมื่อดูหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์

“ฉันคิดว่าไม่ต้องสงสัยอะไรเลย หนังเรื่องนี้เหมาะสำหรับการดูในโรงภาพยนตร์เท่านั้น เพราะหนังเรื่องนี้เหมาะจะสัมผัสความรู้สึกจากโรงภาพยนตร์ ไม่ใช่ความรู้สึกแบบที่ใครๆ ก็สัมผัสได้ ฉันพยายามระวังไม่ใช้คำว่ามิวสิเคิลเวลาอธิบายถึงหนังเรื่องนี้ เพราะรู้สึกว่ามันเป็นการจำกัดความคิดก่อนที่พวกเขาจะได้ดูหนัง มันเป็นหนังที่ทั้งเสียง เพลงประกอบภาพยนตร์ ความรู้สึกในโรงหนังจะถ่ายทอดผ่านตัวละคร ความตั้งใจของผู้กำกับฯ และมีความสนุกที่ได้มีส่วนร่วมในหนังเรื่องนี้”

เบร็นแดน กลีสัน

แจ็คกี้ ซัลลิแวน

พูดถึงตัวละครของเขา แจ็คกี้ ซัลลิแวน ผู้คุมที่มีความสุขอย่างน่าประหลาดในเรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

“ผมรับบทแจ็คกี้ ผู้คุมนักโทษในโรงพยาบาลอาร์คัม เขามักจะร้องเพลงออกมาบ่อยมาก ผมคิดว่าเขาพยายามสร้างความสดใส เขาดูมีความเป็นนักแสดงอยู่บ้าง ทั้งการร้องและเต้นที่แสดงออกมาให้เห็น ตอนที่ผมคุยกับทอดด์ [ฟิลลิปส์] ถึงตัวละครนี้ เขาเล่าอย่างชัดเจนเลยว่า ‘เวลาที่ผมคิดถึงแจ็คกี้ ผมจะคิดถึงเรื่องกลี’ ผมคิดว่าแจ็คกี้มีสปิริตในความพยายามสูงมาก แต่ตอนนี้เขาอาจจะไม่มีความพยายามอย่างที่ควรจะเป็น ผมคิดว่ายังมีความพยายามหลงเหลืออยู่ การรับบทแจ็คกี้ของผมมองว่าเขาไม่ได้เลวร้าย ระบบนั้นต่างหากที่มีความทารุณ และเขาพยายามทำเหมือนมันไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อเขา เขารู้ว่าตัวเองไม่ใช่บุคคลสำคัญอะไรขนาดนั้น แต่เขาชอบความรู้สึกที่ได้เป็นตัวเอง”

มิตรภาพระหว่างแจ็คกี้กับอาร์เธอร์ เฟล็คนักโทษในอาร์คัม

“มิตรภาพที่เกิดขึ้นระหว่างแจ็คกี้กับอาร์เธอร์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน เพราะมีแรงดึงดูดบางอย่างที่เกิดขึ้นกับอาร์เธอร์ เขาเหมือนดาวเดนผมคิดว่าแจ็คกี้หลงใหลตรงนั้น และความผูกพันระหว่างพวกเขาเป็นเรื่องที่ยากจะอธิบายได้… ผมคิดว่ามันคล้ายกับความรัก คล้ายกับความรู้สึกของคนเป็นหัวหน้าครอบครัว คล้ายกับสิ่งที่เราทำกับดารา ผมคิดว่าเขาหลงเสน่ห์อาร์เธอร์ในแบบนั้น เขาพยายามทำหลายอย่างเพื่อให้ได้ความไว้ใจจากอาร์เธอร์ เช่น ในคลาสดนตรี เขาพาเข้ามาอยู่ในคลาสดนตรี เขาคอยผลักดันและทำเพื่อตัวของเขาเอง”

อาร์คัมมีหน้าตาเป็นแบบไหน

“มันเหมือนกับสถานที่หลายแห่งในเวลาเดียวกัน มันเป็นที่สำหรับนักโทษวิกลจริต มันเลยมีความผิดเพี้ยนที่เกิดข้ามผ่านกัน ไอเดียของผู้คุมนักโทษที่มาอยู่ในโรงพยาบาลก็เป็นเรื่องแปลก เพราะนักโทษอาจเป็นอันตรายหรือทำให้เกิดเหตุร้ายได้ แต่ที่นั่นเป็นศูนย์ฟื้นฟูด้วย แม้ว่าจะมีการบอกใบ้เพียงเล็กน้อย แจ็คกี้เข้าสู่ที่แห่งนี้ด้วยความรู้สึกว่าเขาสามารถสร้างความสดใสให้สิ่งต่างๆ ขึ้นมาได้บ้าง ตั้งใจมาช่วยฟื้นฟูแต่โดยพื้นฐานก็ต้องทำหน้าที่ผู้คุมด้วย”

ความผูกพันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างอาร์เธอร์และลี

“ผมคิดว่าแจ็คกี้ระวังการจุดไฟรักระหว่างอาร์เธอร์และลี ผมคิดว่าในตัวแจ็คกี้มีความโรแมนติกซ่อนอยู่ ทอดด์มักจะพูดว่า “เขามักจะชอบจับคู่สุมไฟแล้วดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น” ทุกคนดูไร้ชีวิตชีวาในอาร์คัม เพราะต้องอยู่ในที่แบบนั้นอย่างยาวนาน แทบจะไม่เห็นประกายไฟอะไร ผมคิดว่าเขาเข้าใจดีและอยากเฝ้าดูการเติบโต เขาอยากให้คลาสดนตรีมีเวลามากขึ้นในวอร์ด B และร้องเพลงกับตัวเอง มันดูเห็นแก่ตัวไปสักหน่อย แต่ผมคิดว่าในตัวแจ็คกี้มีบางสิ่ง เขาอยากเห็นอาร์เธอร์ใจฟูขึ้นมาบ้าง”

การร่วมงานกับวาคีน ฟีนิกซ์

“ผมร่วมงานกับเขามาก่อนในเรื่อง ‘The Village’ ซึ่งเป็นการพิสูจน์ได้พอควร แต่เราอยู่กันนอกเพนซิลวาเนียกันพักหนึ่งเพื่อถ่ายทำเรื่องนั้น ผมไมค่อยมีเวลาแสดงหนังแอ็คชั่นกับเขาสักเท่าไหร่ แต่ผมรู้สปิริตของเขาดีจากบรรยากาศนั้น เขามีสปิริตที่ยิ่งใหญ่และความกระตือรือร้นของเขาก็น่าตื่นเต้นมาก วาคีนเป็นคนตรงไปตรงมาและพร้อมตามหาคำตอบด้วยความมุ่งมั่น นับจากตอนั้นผมรู้จักเขามานานหลายปี ผมรู้ว่าเขามีความเป็นศิลปินสูงมาก เขามีความใจกว้างในสิ่งที่พยายามทำให้สำเร็จ และสำหรับผมการได้มีส่วนร่วมในโปรเจ็กต์นี้ การที่ทอดด์สร้างบรรยากาศนี้ให้เกิดขึ้นได้ มันมีความตื่นเต้นและมหัศจรรย์มากเลย”

การร่วมงานกับทอดด์ ฟิลลิปส์และทีมงานของเขา

“การร่วมงานกับทอดด์จะมีการวางแผนเพื่อให้ทุกอย่างราบรื่น เป็นแผนที่ไม่มีข้อกำหนดตายตัว แต่ไม่ได้หมายความว่าการวางแผนนั้นไร้ความหมาย เราต้องมีโครงสร้างการทำงานในสิ่งที่ต้อง ผมจำได้มีบางช่วงที่เข้าฉากกับสตีฟ คูแกน ผมดูในจอมอนิเตอร์จะเห็นทั้งเฟรมแสงไฟและภาพโดยรวมทั้งหมด รายละเอียดทุกอย่างมีความเป็นภาพยนตร์อย่างไม่ธรรมดาเลย และผมก็นึกขึ้นได้ทันทีว่า เรารู้สึกเหมือนตัวเองอยู่ในบรรยากาศที่แคบและสกปรก แต่หลังจากนั้นทุกอย่างรอบตัวก็ดูมีมิติขึ้นมา มันดูแล้วรู้สึกสวยมาก ทอดด์มีความพิถีพิถันในการเตรียมงาน และมีความยืดหยุ่นต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ส่วนแลร์รี่ดูแลด้านแสงไฟและการเคลื่อนไหวของกล้องทุกด้าน มันมีการวางแผนไว้แล้วทุกอย่าง แต่ก็ยอมรับในแผนอื่นด้วย มันวิเศษมากเลยครับ”

แคทเธอรีน คีเนอร์

มาร์ยาน สจ๊วต

การมีส่วนร่วมในเรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

“ฉันคิดว่าการแสดงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะรวมการแสดงหนังอินดี้เอาไว้ด้วย ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ฉันชอบและรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้าน หนังเรื่องนี้อาจจะเป็นหนังที่ใหญกว่า แต่มีบรรยากาศเหมือนหนังอินดี้เพราะทอดด์มักจะคอยปรับเปลี่ยนไอเดียต่างๆ ตลอด จินตาการของเขาโลดแล่นไปเรื่อยทั้งก่อนมีการวางแผน พูดคุย เตรียมตัวกัน ฉะนั้นเมื่อเรามาร่วมงานมันก็จะมีชีวิตชีวาในแบบตัวเอง ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ดีสำหรับการทำงานมาก ผลงานทั้งหมดที่เราทำลงไปมีความหมายมาก มันมีจังหวะของมันที่ฉันคิดว่าเป็นบรรยากาศที่ดีมาก แม้ว่าจะมีการพูดถึงกันอย่างตรงไปตรงมา เรายังมีช่วงที่ได้ขยับปรับเปลี่ยน หาบาลานซ์ และได้โน้ตต่างๆ กลับมา ภาพยนตร์ก็เหมือนกับทีมกีฬาที่ทุกคนมารวมตัวกันและแสดงฝีมือออกมา มันมีความเฉพาะตัวของทีมงานแต่ละคน ทุกคนมีการทำงานของตัวเองอย่างไร ทุกคนมีบุคลิกของตัวเอง และทุกคนมีส่วนร่วมกันในขั้นตอนการทำงานทั้งหมด” 

การร่วมงานกับวาคีน ฟีนิกซ์

“การร่วมงานกับวาคีน… ฉันพูดออกมาอย่างชัดเจนไม่ได้เพราะฉันรู้จักวีนมานนาแล้ว และเขาเป็นคนที่ดีมากเลย เขาสร้างความประทับใจให้ฉันจากการทำงานของเขาเสมอ มันเป็นความรู้สึกที่น่าทึ่งมากเลย” 


ตัวละครของเธอร์ มาร์ยาน สจ๊วต ทนายของอาร์เธอร์และความเห็นของเธอที่มีต่อสถานภาพของอาร์เธอร์

“มาร์ยานเชื่อมั่นในตัวอาร์เธอร์ เธอรู้ว่าเขาป่วยทางจิต ฉันคิดว่าเธอรู้สึกว่าเขาอาจคิดว่านั่นไม่ใช่ตัวเขา และนั่นเป็นตัวละครสำคัญ โจ๊กเกอร์คืออีกตัวตนหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมาเพื่อความอยู่รอด”

ตัวละคร ลี ควินเซล ของเลดี้ กาก้า

“ฉันมีความเห็นต่อลีที่ต่างออกไป เพราะนี่คือยุค 1980 มันเหมือนจุดเริ่มต้นความเสมอภาคของผู้หญิงก่อนจะเกิดการสะท้อนกลับอย่างรุนแรงในยุค 90 และลีต้องมีเรื่องราวของตัวเองที่นำเธอมาอยู่ตรงนี้ และเธอขัดขวางมาร์ยานที่มายื่นความช่วยเหลือและความปลอดภัยให้เขา ฉันไม่รู้ว่าเธอมีความเข้าใจแบบไหน แต่คิดว่าเธอมองเป็นเรื่องการปลดปล่อยอิสรภาพ”

เสียงดนตรีในภาพยนตร์

“ฉันรักเสียงดนตรีในเรื่องนะคะ มันถูกเลือกมาอย่างมีความหมายและเหมาะกับอารมณ์มาก มันมีความยาวนานหลายสิบปีและทุกประเภทเลย มันไม่ใช่แค่การสร้างผลกระทบ แต่ยังเป็นตัวละครหนึ่งในหนงัด้วย แต่ละเพลงมีบทบาทสำคัญในแง่ของการบรรยายค่ะ”

ร่วมพูดคุยกับผู้อำนวยการสร้างฯ

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  ·  โจเซฟ การ์เนอร์

เหตุผลที่โจ๊กเกอร์ครองใจผู้ชมอย่างยิ่งใหญ่

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  : “‘โจ๊กเกอร์’ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และประเด็นต่างๆ ในเรื่องก็มีความเป็นสากล อาร์เธอร์ต้องต่อสู้กับระบบ ความรู้สึกของเขาไม่มีใครได้ยินและมองเห็นได้ เป็นเรื่องราวของมนุษย์ที่สะท้อนถึงทุกคนและพาพวกเขาย้อนกลับไปหาช่วงเวลานั้นเพื่อมองดูมันอีกครั้ง”

โจเซฟ การ์เนอร์: “ผมคิดว่า ‘โจ๊กเกอร์’ ภาคแรกได้รับความนิยมด้วยหลายเหตุผล เพราะมันรู้สึกถึงความแตกต่างและโดดเด่น มันรู้สึกเหมือนเข้าไปสัมผัสกับสิ่งเดิมในมุมของจิตวิญญาณมนุษย์ที่จับต้องได้จริง ผมจำได้ว่าอยู่ในโรงภาพยนตร์ในช่วงที่ทดสอบการฉายช่วงแรก พอหนังฉายจบทุกคนแทบไม่รู้ตัวเลยว่ามันสร้างความรู้สึกอย่างไรให้พวกเขาไปแล้ว”

ความสำเร็จของ โจ๊กเกอร์’…

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  : “ฉันรู้ตั้งแต่ตอนทดสอบหน้ากล้องว่าเราสร้างความพิเศษขึ้นมาจากฝีมือของพวกเรา มันเกิดขึ้นก่อนที่เราจะถ่ายทำตอนวาคีนพูดอะไรออกมาด้วยซ้ำ คิดย้อนไปแล้วฉันรู้สึกเซอร์ไพรส์กับความสำเร็จของหนังไหม? ไม่เลย มันคือผลงานระดับมาสเตอร์พีซ”

โจเซฟ การ์เนอร์: “เราหวังว่าจะสร้างบางสิ่งที่เชื่อมโยงถึงผู้ชมได้อย่างมีความหมาย ความสำเร็จของโจ๊กเกอร์จึงเป็นเรื่องที่เรียบงายมาก การลอยตัวเหนือกลุ่มต่างๆ และวัฒนธรรมทั่วโลกนับเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมาก”

ต้นกำเนิดของเรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  : “ฉันจำไม่ค่อยได้นักว่ารู้เรื่องที่ทอดด์กับสก็อตต์ ซิลเวอร์จะเข้าสู่การทำงานภาคต่อเมื่อไหร่ แต่ทอดด์โทรหาฉันเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2021 และพูดว่า  ‘อีก 2 อาทิตย์ผมจะมีร่างแรกส่งให้คุณ เราไปทานข้าวเย็นด้วยกัน เขาเอาบอร์ดมาให้ดูและบอกว่าเลดี้ กาก้าจะมารับบทฮาร์ลีย์ ควินน์ในเวอร์ชันของเรา ฉันเป็นแฟนผลงานของเธอในฐานะศิลปิน นักร้อง นักดนตรี ฉันมีความสุขมากเลยค่ะ อดใจรอที่จะอ่านบทไม่ไหวเลยค่ะ”

โจเซฟ การ์เนอร์ : “ทอดด์และวาคีนพัฒนาความสัมพันธ์ในภาคแรกและกลายเป็นเพื่อนกันจริงๆ พวกเขาพูดทีเล่นทีจริงเรื่องภาคต่อก่อนที่หนังภาคแรกจะฉาย น่าจะเป็นช่วงที่มีการออกไปข้างนอกด้วยกันมากขึ้น ช่วง 1 ปีก่อนมีการเกิดโรคระบาดและบรรยากาศในวงการมีการหยุดชะงักลง ทอดด์และสก็อตต์ ซิลเวอร์เริ่มคุยกันเรื่องไอเดียต่างๆ อย่างจริงจัง ฉันรู้ว่าพวกเขาไม่มีทางสร้างภาคต่อจนกว่าจะได้เนื้อเรื่องที่มีความตื่นเต้นสุดๆ แน่นอน”

ความรู้สึกเมื่ออ่านบทฯ เรื่อง ‘Joker: Folie À Deux’…

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  : “ตอนที่ฉันได้อ่านบทฯ ฉันคิดไม่ออกเลยว่าตัวเองกำลังอ่านอะไรอยู่ แต่ฉันรักทุกหน้าเลยค่ะ ฉันรู้สึกทึ่งกับความฉลาดของบทฯ มันมีรายละเอียดเยอะมากแต่ก็มีความตรงไปตรงมาและทรงพลัง..”

โจเซฟ การ์เนอร์: “ผมรู้สึกทึ่งมากเมื่อได้อ่านบทฯ เป็นครั้งแรก ผมจำคืนที่ทอดด์ส่งบทมาให้ผมได้ ตอนนั้นผมวางบทไม่ลงเลย ผมอ่านบทถึง 2 รอบโดยที่นั่งอยู่ที่เดิมไม่ลุกไปไหน  มันมีทั้งความเข้มข้นและเล่นกับอารมณ์จากภาคแรก แต่เป็นการพาเรื่องราวสู่ทิศทางใหม่ที่คาดไม่ถึง มันรู้สึกเหมือนการพัฒนาเรื่องราวได้เป็นธรรมชาติอย่างน่าทึ่งเกี่ยวกับการเดินทางของอาร์เธอร์ เฟล็ค พร้อมกับการแนะนำฮาร์ลีย์ ควินน์ให้รู้จัก”

รายละเอียดบางมุมจากภาคแรกที่ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องการถายทอดสู่เรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  : “สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือโอกาสของทอดด์และวาคีนในการสร้างและพัฒนาเรื่องราว สิ่งสำคัญคือเราออกแบบตารางทำงานที่เหมาะกับตรงนั้น ทีมงานสร้างสรรค์ของเราส่วนใหญ่กลับมาร่วมงานในภาคนี้ด้วย รวมถึงทีมผู้ช่วยผู้กำกับฯ นำทีมโดยเดวิด เว็บบ์ เขาเป็นคนที่มีความเก่งและมีความช่างคิดตารางี่ทำให้เราได้ฝึกซ้อม มีเวลาที่ทำให้เราสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างลงตัว”

โจเซฟ การ์เนอร์: “เราอยากรักษาความสดใหม่และสไตล์การสร้างภาพยนตร์ที่ทำให้หนังภาคแรกดูมีพลังมาก ความสมจริงและการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวละครคือรายละเอียดที่มีความจำเป็น และถ่ายทอดออกมาเป็นอย่างดีในภาคแรก เราตั้งใจจะเชื่อมโยงถึงสิ่งที่อาร์เธอร์พยายามต่อสู้ระหว่างการขยายเรื่องราวและเข้าไปสำรวจกับความรู้สึกแปลกใหม่ ส่วนตัวละครของเลดี้ กาก้าคือลี ควินเซลคือตัวเร่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเรื่องราวของอาร์เธอร์ภาคนี้ เธอจุดประกายความสดใส แสงแห่งความหวังสู่โลกที่มีแต่ความมืดและไร้ชีวิตชีวาแห่งนี้ มิตรภาพระหว่างพวกเขาทำให้เกิดเสียงดนตรีอย่างเป็นธรรมชาติสู่เรื่องราวความรักของพวกเขา”

ความแตกต่างในประสบการณ์ถ่ายทำภาคนี้

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  : “ฉันคิดว่าเป็นเพราะเราอิงจากภาพของฉากขนาดใหญ่ในหนังเรื่องนี้ มันจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าหากอยู่ในพื้นที่ควบคุมได้และสถานที่ถ่ายทำได้จริง ฉะนั้นการอยู่ในฉากคือเรื่องที่ดีมากด้วยหลายเหตุผล เช่น เรื่องการควบคุมที่จะไม่ถูกล็อคอยู่ในสถานที่แห่งเดียว และมีความยืดหยุ่นในการทำงาน ขึ้นอยู่กับการทำงานในแต่ละวัน เรามีสถานที่หลายแห่งในโรงถ่ายของวอร์เนอร์ บราเดอร์สที่เบอร์แบงค์และนิวยอร์ค ซึ่งเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการถ่ายทำมาก แต่เหมาะสำหรับแค่วันเดียวและยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แทบไม่มีความยืดหยุ่นเลย”

โจเซฟ การ์เนอร์: “แต่ละเรื่องราวจะเป็นตัวกำหนดความต้องการของมันเอง ในภาคแรกเหมาะกับสถานที่จริง มีการถ่ายทอดพลังของเมืองในแบบที่อาร์เธอร์มองไม่เห็น มีมุมที่เงียบเหงาท่ามกลางกลุ่มคนมากมาย ส่วนในภาคนี้บทภาพยนตร์ต้องการบรรยากาศที่มีการควบคุมได้มากขึ้น  ทำให้อาร์เธอร์รู้สึกว่ามีกำแพงปิดกั้นเขาอยู่ ทั้งทางร่างกายและความรู้สึกที่แหลกสลาย มันเป็นการทำงานที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงแต่ช่วยให้ผู้ชมเข้าสู่โลกของอาร์เธอร์ได้อย่างเต็มที่”

ความงดงามในแง่ศิลปะจากผู้ออกแบบฉากฯ มาร์ค เฟรดเบิร์ก

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  : “ผลงานของมาร์ค เฟรดเบิร์กไม่ค่อยมีให้เห็นมากสักเท่าไหร่ สิ่งที่เขาสร้างเอาไว้นหนังเรื่องนี้ทั้งภาคแรกและภาคสองมีความพิเศษมาก เขารวมทีมงานที่เก่งมาร่วมงานกันทั้งทีมผู้กำกับศิลป์และช่างฝีมือ ตั้งแต่จิตรกรในฉากไปจนถึงผู้ออกแบบฉาก ฉันเล่าได้ไม่หมดว่ามาร์คและทีมงานของเขามีส่วนสำคัญในหนังเรื่องนี้ขนาดไหน การออกแบบฉากเหมือนตัวละครหนึ่งในหนังเรื่อง และมันเป็นการทำให้เราเห็นภาพของหนังภาคก่อนสู่อีกระดับหนึ่ง”

โจเซฟ การ์เนอร์: “มาร์ค เฟรดเบิร์กเป็นหนึ่งในคนแรกๆ ที่เราโทรหาเรื่องผลงานภาคต่อ ในภาคแรกเขาสร้างผลงานที่น่าทึ่งมากเอาไว้ จินตนาการและความงดงามของเขาคือสิ่งที่สำคัญมากสำหรับภาคนี้ มาร์คและทีมงานของเขายกระดับมาตรฐานขึ้นไปอีกขั้น สร้างบรรยากาศที่น่าทึ่งและชวนเข้าไปสัมผัสทำให้บทภาพยนตร์มีความสมจริง ทุกสิ่งดูสมจริงมีชีวิตชีวามาก รู้สึกสมจริงเมื่อเดินอยู่ในฉากอาร์คัมและได้ออกไปสูดอากาศข้างนอก มันเป็นบรรยากาศที่ยากสำหรับการถ่ายทำ แต่สำคัญต่อการสร้างโลกของอาร์เธอร์เป็นอย่างมาก”

การมีส่วนร่วมของผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย อาเรียน ฟิลลิปส์

โจเซฟ การ์เนอร์ : “อาเรียนเข้ามามอบพลังบวกให้กับทีมงาน ในฐานะของผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย เธอมีความสามารถพิเศษอันน่าทึ่งในการถ่ายทอดความโดดเด่นของแต่ละตัวละครผ่านเสื้อผ้าของพวกเขาได้ ผลงานของเธอมีส่วนสำคัญต่อการสร้างภาพที่มีเอกลักษณ์ชัดเจนในเรื่อง และเพิ่มรายละเอียดให้การเล่าเรื่องราวผ่านเสื้อผ้า”

เลดี้ กาก้าและทีมดนตรี

“เลดี้ กาก้าเป็นคนที่เปิดใจกว้างมาก เข้าถึงได้ง่าย และสิ่งที่เธอถ่ายทอดสู่บทบาทก็มีความพิเศษมาก เธอมีพลัง ทุกครั้งที่เธอร้องเพลงหรือเต้นต่อหน้ากล้องคือช่วงเวลาที่ทำให้ผมต้องเตือนตัวเอง แรนดัล โปสเตอร์, จอร์จ ดราคูเลียส, เจสัน รูเดอร์? มันไม่ดีขึ้นเลย ฮิลดูร์กลับมาร่วมงานด้วย และมีทีมงานของกาก้า นักดนตรีของเธอ ไอเดียของเธอ… ดูน่าทึ่งมาก เธอกับวาคีนแสดงร่วมกันได้อย่างมหัศจรรย์ ผมคดว่าทุกคนจะต้องเซอร์ไพรส์ที่ทุกอย่างลงตัวอย่างแนบเนียนเมื่อดูหนังเรื่องนี้เป็นครั้งแรก ทุกคนดูเหมือนมาเข้ารับการบำบัดจริงๆ เลย”

ผลงานของผู้กำกับภาพ ลอว์เรนซ์ เชอร์ สู่ภาพยนตร์

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  : “ทอดด์และแลร์รี่ เชอร์ช่วยกันคิดประโยคของแต่ละฝ่ายขึ้นมา พวกเขาร่วมมือกันอย่างดีมาก แลร์รี่มีทั้งความรับผิดชอบ ฉลาด และมีพรสวรรค์ พวกเขาร่วมงานกันอย่างราบรื่น ให้ความไว้วางใจกันโดยไม่ต้องพูดอะไร มีความเข้าใจตรงกันตลอด และหากไม่เข้าใจตรงไหนก็จะคอยช่วยกันคิดหาทางออก พวกเขาเหมือนพี่น้องกันจริงๆ เป็นทีมที่สร้างความมหัศจรรย์ได้มากเลย”

โจเซฟ การ์เนอร์: “นี่เป็นหนังเรื่องที่ 7 ที่ทอดด์และแลร์รี่ร่วมงานกัน มาถึงจุดนี้พวกเขาเหมือนพี่น้องกันไปแล้ว ทั้งให้ความช่วยเหลือและเข้าใจกันเป็นอย่างดี แลร์รี่เก่งมากและการถายภาพของเขาก็มีความสำคัญต่อการสร้างภาพและความรู้สึกที่โดดเด่นในภาพยนตร์ ที่สำคัญกว่านั้นคือเขาเป็นนักเล่าเรื่องราวที่มีพรสวรรค์ไม่เหมือนใคร ถ่ายทอดอารมณ์ผ่านทางภาพสู่ผู้ชมได้เป็นอย่างดี”

การมีผู้ที่ไม่ใช่นักแสดงมาอยู่ในอาร์คัม

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  : “เรื่องที่สำคัญมากสำหรับทอดด์คือการสร้างความสมจริงในตัวละครเหล่านั้น มีทั้งคนที่ผ่านการคัดเลือก มีคนที่รู้จักเป็นอย่างดี และมีศิลปินตัวจริงอย่างเอเลียนอร์ เฮนดริคส์ ผู้มีพรสวรรค์พิเศษทางด้านนี้ เธอรักการเข้าไปอยู่ในสังคมนั้น ค้นหาใบหน้าที่เรียกความสนใจ เนื้อเรื่องที่สนุกสนาน และผู้คนมากมาย เราร่วมงานกับเธอและเธอหาคนมาเข้าฉากหลังของอาร์คัมได้ ผสมกับนักแสดงมืออาชีพของเราที่เทรซี่ ไดซอน ผู้คัดเลือกนักแสดงสมทบค้นหามาเพื่อเรา พวกเขามารวมตัวกันแล้วเหมือนส่วนผสมที่ลงตัวเลย”

โจเซฟ การ์เนอร์: “การใช้คนธรรมดามาเข้าฉากอาร์คัมช่วยเพิ่มความสมจริงได้มาก เราต้องการให้โลกนั้นดูมีการใช้ชีวิตอยู่จริงและสมจริง เราร่วมงานกับผู้กำกับการคัดเลือกนักแสดงและทีมงานท้องถิ่น เพื่อค้นหาผู้ที่แสดงบทบาทนั้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ มันมีส่วนสร้างความสมจริงให้ภาพรวมของหนังได้มาก”

สิ่งที่ผู้ชมจะได้พบเมื่อดูเรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

เอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์  : “ฉันคิดว่าเรื่อง ‘Joker’ เป็นหนังที่เพอร์เฟ็กต์แล้ว ฉันไม่ค่อยพูดแบบนั้นกับหนังสักเท่าไหร่ ฉันคิดว่าหนังเรื่องอื่นที่พูดแบบนั้นคือเรื่อง ‘Taxi Driver’ แต่สำหรับ ‘Joker: Folie A Deux’ ในความคิดของฉันแล้ว ฉันคิดว่าเราเจาะเรื่องราวได้ตรงประเด็น คิดว่าผู้ชมคาดหวังว่าจะได้พบความรู้สึกเดียวกับเรื่อง ‘Joker’ ได้เลย แต่เป็นรูปแบบที่แตกต่างออกไป”

โจเซฟ การ์เนอร์: “เราคาดเดาไม่ได้เลยว่าผู้ชมจะมีปฏิกิริยาอย่างไร แต่เป้าหมายของเราคือการสร้างสิ่งที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่และมีความกล้า ทอดด์สร้างภาพยนตร์ที่มีพื้นฐานมาจากภาคแรก แต่ลงลึกมากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น เราหวังว่าผู้ชมจะหลงใหลในการผจญภัยของอาร์เธอร์และลี ได้สัมผัสความรู้สึกและความลึกซึ้งของจิตใจในโลกของพวกเขา ความทุ่มเทและความสามารถของทั้งทีมงานและนักแสดงดูน่าประทับใจมาก เราหวังว่าเนื้อเรื่องในภาพยนตร์จะเข้าถึงผู้ชมทั่วโลกได้ดี”

มุมมองจากผู้ชำนาญด้านต่างๆ

ลอว์เรนซ์ เชอร์

ผู้กำกับภาพ

การกลับมาร่วมงานกับทอดด์ ฟิลลิปส์ ที่นับเป็นการร่วมงานกับผู้กำกับฯ อย่างต่อเนื่องและยาวนานในภาพยนตร์เรื่องที่ 7 นับเป็นวลา 16 ปีจนถึงผลงานภาคต่อเรื่อง “Joker”…

“ผมจำความสดใสในการสร้างเรื่อง ‘Joker’ ที่ทอดด์และวาคีนรักในตัวละครนี้มาก จนใกล้ถึงช่วงปิดกล้องผมคิดว่าวาคีนรู้สึกว่า ‘มาสร้างหนังกันต่อเถอะ’ ผมรู้ว่าเขารักตัวละครนี้ เขารักการเข้าไปสำรวจอาร์เธอร์ เฟล็คและโจ๊กเกอร์ ผมรู้เลยคิดว่าจะต้องมีอีกภาคหนึ่งแน่ นั่นเป็นการบอกได้ว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่ผมได้เรียนรู้จักทอดด์ในช่วง 16 ปีและผลงานภาพยนตร์เรื่องที่ 7 ที่ผมร่วมงานกับเขา คือเขาไม่เคยสร้างอะไรขึ้นมาบนเส้นทางที่เรียบง่าย เขามีความรู้สึกว่า ‘ฉันจะต้องหาความเสี่ยงมากขึ้น และจะต้องสร้างอะไรที่ใช้ความกล้ามากขึ้น แทนที่จะหาความธรรมดาที่อยู่ตรงกลาง มาสร้างความยิ่งใหญ่และวิ่งอย่างสุดชีวิตกลับบ้านกันเถอะ’”

ความรู้สึกครั้งแรกหลังจากที่อ่านบทฯ เรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

“เรื่อง ‘Joker’ ภาคแรกมีเสียงเพลงในเรื่องเยอะมาก และยังมีอีกหลายอย่างที่ไม่ได้เข้าไปสำรวจมากนักหลังทำการตัดต่อแล้ว แม้แต่การถ่ายภาพของอาร์เธอร์ เฟล็คก็มีความเกี่ยวข้องกับเสียงดนตรีและการเต้น สำหรับการสร้างเวอร์ชันนี้ขึ้นมานับเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของตัวละคร และตอนที่ผมได้อ่านบทฯ ก็รู้สึกว่า ‘โอ้ พระเจ้า มันวิเศษมาก มีความน่ากลัวในทางที่ดีหลายอย่าง สำหรับผมเวลาที่รู้สึกกลัวอะไร แสดงว่ามันมีความเสี่ยง และนั่นหมายความว่าเราต้องพร้อมเผชิญความท้าทายและการสร้างสรรค์ที่มีความเป็นไปได้ นั่นคือจุดยืนที่ดีที่สุดของมันเลยครับ”

การทำงานของเขาในเรื่องนี้

“ตอนที่ผมมาร่วมงานในเรื่องนี้ สิ่งแรกที่ผมคิดคือเรามีฉากขนาดใหญ่ 2 ฉากที่เป็นบรรยากาศ 360 องศา คือ อาร์คัมที่รวมหลายสถานที่ในอาร์คัมไว้ที่นั่น รวมถึงพืน้ที่โรงถ่ายที่เราถ่ายทำกันในดาวน์ทาวน์ แอล.เอ. ส่วนของสนาม และในห้องพิจารณาคดีที่มีบทหลายหน้า ระหว่างนั้นยังมีโอกาสถ่ายทำในฉากที่เหมือนจินตนาการซึ่งรวมพื้นที่จริงเอาไว้ด้วย สำหรับฉากเหล่านั้นผมถามตัวเองว่าใครถ่ายทำฉากนั้นได้ดีที่สุด มีการผสมผสานเสียงดนตรีได้อย่างเป็นธรรมชาติและดูงงดงาม นั่นคือส่วนที่มีความน่าตื่นเต้นมาก การสร้างฉากที่มีขนาดใหญ่เหล่านี้ให้ดูมีชีวิตชีวาพร้อมแสงสว่าง จุดประสงค์ของผมคือการทำให้พื้นที่นั้นมีความสว่าง ไม่ใช่ที่ใบหน้า แต่เป็นการทำให้นักแสดงเข้าสู่โลกใบนั้นได้อยางเต็มที่ ซึ่งนั่นหมายถึงเพียงไม่กี่อย่าง เช่น แสงไฟที่ตั้งอยูในฉาก เราพยายามส่องแสงสว่างจากด้านนอกฉากทุกครั้งที่ทำได้ในการถ่ายทำจริง”

การเก็บภาพด้วยกล้องในบรรยากาศ 360 องศา

“มีการร่วมงานกับแผนกออกแบบฉากหลายส่วนมาก เพื่อให้เราถ่ายทำได้ในมุมกว้างแบบเรียลไทม์ และการสร้างผลงานที่มีความยาวนานในแบบที่เราทำมาตลอด สำหรับเรามันไม่มีการซ้อมอะไรเลย ไม่ว่าฉากนั้นจะมีความยาวแค่ไหน เราเริ่มจากส่วนที่สำคัญสุดจนไปถึงส่วนสุดท้ายในทุกฉาก แม้ว่าเราจะโฟกัสที่การถ่ายโคลสอัพเป็นหลัก เริ่มจากตอนแรกและมาถึงตอนที่มีโอกาสสำรวจสิ่งที่อาจจะไม่ได้เจอหาเราถ่ายทำกันแบบทีละประโยค สำหรับทอดด์แล้วการถ่ายทำภาพยนตร์ไม่ใช่เรื่องของการคำนวณ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ มันเหมือนดนตรีแจ๊ส ไม่มีที่ไหนพิสูจน์ได้ว่าจริงมากกว่าในเรื่อง ‘Joker’ และตอนนี้คือเรื่อง ‘Joker: Folie À Deux’ มาร์ค [เฟรดเบิร์ก] ได้สร้างความสดใส การมีชีวิตชีวาของสถานที่ที่ดูยิ่งใหญ่และทำให้เราถ่ายทำทุกที่ตามใจต้องการได้”

การเก็บภาพความเป็นธรรมชาติในการแสดงของวาคีน ฟีนิกซ์

“ใบหน้าของวาคีนเหมาะสำหรับการเก็บภาพมาก เรารู้สึกประหลาดใจทุกครั้งที่เราทำการกำหนดสี เขามีใบหน้าอย่างที่เราอยากจะถ่ายทอดบนหน้าจอ ไม่ว่าจะถ่ายทำโดยทางเคมีหรือดิจิตอล มันไม่มีความหมายอะไรเลย แต่มันไม่ส่งผลอะไรเลย ความสำคัญในการถ่ายทำวาคีนและเป็นสิ่งที่ทอดด์นำมาปรับใช้ คือผมไม่อยากรู้ว่าวาคีนกำลังจะทำอะไร ผมไม่อยากเห็นการฝึกซ้อม ไม่อยากได้ยินข้อมูลอะไรเลย ผมแค่อยากไปอยู่ตรงนั้นตอนเริ่มฉาก มีแต่ผมกับผู้ควบคุมกล้องหลักและตัวยึดกล้องบนรถราง ผู้ชำนาญด้านการจัดไฟ ผู้ควบคุมดิมเมอร์บอร์ด พวกเราทุกคนอยู่กับหูฟังที่ใช้การกระซิบคุยกัน ผมถ่ายหนังได้เหมือนการเก็บภาพการแข่งกีฬาแบบสดๆ มันเป็นการดูนักแสดงที่เหมือนดูนักกีฬา เพราะเราไม่รู้ว่าเขาจะขว้างบอลไปทางไหน ได้แต่เตรียมพร้อมนการเผชิญกับทุกอย่าง”

การร่วมงานกับเลดี้ กาก้า ผู้รับบทลี ควินเซล

“ผมรู้สึกประทับใจกับการโฟกัสของเธอ ความใส่ใจในรายละเอียด และความยืดหยุ่นที่เธอมีด้วย เพราะพวกเราหลายคนร่วมงานกันมาในภาคแรก เราเข้าใจขั้นตอนการเตรียมความพร้อมและการโยนทุกอย่างทิ้งไปเป็นอย่างดี  แต่นี่เป็นครั้งแรกของเธอที่อยู่ในบรรยากาศนี้พร้อมกับทีมงานของเรา พร้อมกับทอดด์และวาคีน เธอสามารถปรับตัวรับสิ่งเหล่านั้นได้ พร้อมโยนทุกอย่างทิ้งไปและสำรวจตัวละครแบบเรียลไทม์ สำรวจสิ่งที่เกิดขึ้นกับลีตลอดทั้งเรื่องและแสดงให้เห็นความเป็นตัวเองในทุกด้าน”

การออกแบบโทนสีสำหรับภาพยนตร์

“สิ่งแรกและสิ่งที่สำคัญสุดเวลาเราคุยกันเรื่องโทนสี คือเราคุยไปพร้อมกับท่าทางการเคลื่อนไหว ในช่วงที่เปิดตัวภาพยนตร์เป็นช่วงเวลาที่อาร์เธอร์อยู่ในอาร์คัมมานาน 2 ปีแล้ว ที่นั่นเป็นบรรยากาศที่หดหู่ มีแสงไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนส์ มีการปิดไฟช่วงกลางคืน มีเพียงแสงอาทิตย์ในช่วงที่ตื่นขึ้น มีช่วงเวลาที่ฝนตกและมีความหนาวเย็น ไม่มีความอบอุ่นเลย ช่วงเวลาแรกที่ได้สัมผัสกับความอบอุ่นคือตอนที่ได้พบกับลี ควินเซล ตัวละครของเลดี้ กาก้า นั่นเป็นการบอกใบ้ครั้งแรกถึงความสดใส สิ่งที่ดูไม่โหดร้าย จุดที่เธออยู่ในหนังเต็มไปด้วยความอบอุ่น แม้จะไม่เป็นแบบนั้นตลอดเวลาก็ตาม เพราะเธอเป็นตัวละครที่มีความซับซ้อน แต่เมื่ออาร์เธอร์หนีออกจากโลกแห่งความจริงเพื่อเข้าสู่จินตนาการของเขา เขารู้สึกว่าที่นั่นเต็มไปด้วยสีสันในการใช้ชีวิตร่วมกับเธอ เราเลยมีการใช้สีสันไปตามอารมณ์ความรู้สึกของเขา”

เทคนิคสำหรับการถ่ายทำฉากในจินตนาการ โจ๊กเกอร์คือตัวฉันเอง”…

“ ฉากในจินตนาการ ‘โจ๊กเกอร์คือตัวฉันเอง’ เปิดตัวด้วยภาพแสงเงา เป็นภาพแสงเงาของโจ๊กเกอร์กำลังสูบบุหรี่และบรรยากาศรอบตัว บรรยากาศการถ่ายทำเกือบ 360 องศา ใช้เทคโนเครนในการถ่ายทำ เรามีผู้ควบคุมที่เก่งที่สุดในโลกอย่างเจสัน ทัลเบิร์ตและจอห์น แมงโก การร่วมงานกับพวกเขาทำให้เราใช้งานมันได้เหมือน Steadicam แต่มีความยืดหยุ่นการขึ้นหรือลงของเทคโนเครน มีความมั่นคงและน้ำหนักเบาน้อยกว่า Steadicam ทำให้เรารู้สึกเป็นอิสระ แสงแบล็คไลท์กลายเป็นแสงที่นำมาใช้ด้านหน้า มีการใช้แสงสีแดงร่วมด้วย และอีกมากมายเลย

การถ่ายทำสำหรับระบบไอแมกซ์

“สิ่งหนึ่งที่เรานำมาใช้ในภาคนี้และต่างจากโจ๊กเกอร์ภาคแรก คือเราถ่ายทำสำหรับระบบไอแมกซ์และมีการปรับเปลี่ยนเรื่องสัดส่วนด้วย หากคุณดูหนังเรื่องนี้ในสัดส่วน 1:4:3 จะเหนือความคาดหมายมาก เพราะเป็นประสบการณ์สุดตื่นเต้น สำหรับผมนันคือสิ่งที่หนังตั้งใจนำเสนอ และผมรู้สึกภูมิใจกับสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา ตื่นเต้นกับสิ่งที่ผู้ชมจะได้เห็นจริงๆ”

มาร์ค เฟรดเบิร์ก

ผู้ออกแบบฉาก

การร่วมงานกับผู้กำกับฯ ทอดด์ ฟิลลิปส์

“ทอดด์เป็นผู้กำกับที่พร้อมใช้ความช่วยเหลือมาก เขาร่วมงานกับทุกแผนก ใส่ใจเรื่องหัวหน้าแผนกที่เขาทำการเลือกมาและการร่วมงานกันระหว่างพวกเรา ทำให้เกิดการช่วยกันพัฒนาไอเดียและปรับภาพที่จะมีการป้อนเข้าไปในเรื่อง เพราะเรามองทุกอย่างเป็นระบบสำหรับการพัฒนาทุกสิ่ง และมันช่วยทำให้ทอดด์มีโอกาสปล่อยให้นักแสดงทำสิ่งที่ต่างออกไป สิ่งที่อาจสร้างแรงบันดาลใจให้วาคีน ฟีนิกซ์ทำสิ่งที่แตกต่างในช่วงเวลั้น ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี ทำให้เราเกิดพลังมากขึ้น ทุกสิ่งเริ่มขึ้นจากจุดหนึ่งจนกระทั่งจุดประกายการต่อยอดไอเดียใหม่ๆ ในครั้งแรกผมต้องใช้เวลาพูดคุยนานเป็นนาที จนตอนนี้ผมไว้ใจการทำงานระบบนี้ไปแล้ว เรามีการผลักดันจากเรื่องราว การผลักดันจากตัวละคร และการผลักดันจากทีมอย่างเต็มที่ ตราบใดที่เรามีความสามัคคีร่วมกัน ทุกอย่างก็ดูราบรื่นด้วยดี มันเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ มีทั้งการปรับเปลี่ยน การใช้เวทมนตร์ และสุดท้ายคือเสียงดนตรี”

บทบาทของสถาบันจิตเวชอาร์คัมในเรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

“สถาบันจิตเวชอร์คัมในโลกของดีซีล้วนเป็นสถานที่ที่เหล่าคนร้ายถูกส่งไปอยู่ เพราะหากพวกเขาถูกส่งไปยังเรือนจำที่มีการรักษาความปลอดภัยระดับสูงสุด น่าจะเป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะหลบหนีออกมาได้ และหากหนีออกมาไม่ได้ก็จะไม่มีเหล่าคนร้ายเกิดขึ้นอีก ในเรื่องราวของเราอาร์เธอร์อยู่ในจุดที่ต้องหาคำตอบว่าเขาเป็นคนไข้จิตเวชหรือเป็นพียงนักโทษ ไม่ว่าเขาจะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในสถาบันจิตเวชหรือถูกส่งตัวไปยังเรือนจำเพื่อรอการประหารชีวิตในท้ายที่สุดก็ตาม”

สถานที่ภายนอกของอาร์คัมที่ใช้ในเรื่อง

“สถาบันจิตเวชอาร์คัมถูกสร้างขึ้นและมีการสร้างขึ้นใหม่หลายครั้งในหนังสือการ์ตูนและหน้าจอภาพยนตร์ เราไม่อยากให้ดูเป็นสถานที่ชวนหลอนแนวโกธิคแบบเดิมของอาร์คัม ทอดด์ผลักดันให้พวกเราสร้างบรรยากาศที่ดูทารุณ หดหู่ สกปรกมากกว่าเดิม เพื่อสร้างความสอดคล้องจากภาคแรก การร่วมงานในโปรเจ็กต์นี้เราต้องทำการหาสถานที่สำหรับการสร้างอาร์คัมภายนอกอย่างกว้างขวางและเสาะแสวงหาทั่วประเทศ ตั้งแต่ทางภาคเหนือจนถึงภาคใต้ ทางตะวันออกจนถึงตะวันตก โดยตึกที่เราชอบสำหรับการสร้างอาร์คัมส่วนใหญจะไม่ไกลจากนวร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของภาคที่แล้ว สถานที่ตั้งของจัตุรัสก็อตแธม มีการสร้างขึ้นช่วงปลายปี 1920/ต้นปี 30 ตึกแห่งนี้เคยเป็นโรงพยาบาลรักษาวัณโรคและถูกปล่อยร้าง เราคิดเรื่องการกลับไปยัง Brooklyn Army Terminal ที่เรามีการใช้กันในภาคแรก แต่เราตัดสินใจว่าต้องการภาพด้านหน้าอาคารมากขึ้น และโครงสร้างโดยรวมเพื่อถ่ายทำฉากต่างๆ ตึกที่เราเลือกใช้มีสถาปัตยกรรมที่ดูคล้ายกับ Brooklyn Army terminal จนเราคิดว่ามันเหมือนกับตึกพี่น้อง อาร์คัมจากเรื่อง ‘Joker’ ดูเหมือนอยู่ในเมืองมากกว่า ส่วนโรงพยาบาลอย่าง Bellevue และอาร์คัมในเรื่องนี้เป็นสถานที่เหมาะสำหรับการส่งไปพักช่วงเวลาที่นานขึ้น และเราต้องการสร้างความรู้สึกที่เหมือนเรือนจำมากขึ้น เหมือนสถานที่ที่มีแต่ผู้คนอันตรายในนั้น สถานที่ที่ยากจะหลบหนีออกมาได้ เราต้องสร้างรั้วขนาดใหญ่และประตูพร้อมผู้คุมที่มีระบบอันซับซ้อนล้อมรอบ จากนั้นมีการปรับภาพให้เหมือนอยู่บนเกาะ”

การจับคู่ระหว่างบรรยากาศภายในกับบรรยากาศภายนอก

“แน่นอนว่าเรามีการจับคู่ระหว่างบรรยากาศภายในกับภายนอกเข้ากัน 100% ไม่ใช่แค่เรื่องขนาดหน้าต่างหรือสไตล์สถาปัตยกรรม แต่ยังรวมถึงเรื่องโครงสร้างและฉากขนาดใหญ่ เรายังอยากให้โลกของเรามีสถานที่ต่างๆ ที่ดูสมจริงมากที่สุดอีกด้วย เพราะฉะนั้นต้องอาศัยสถานที่ขนาดใหญ่หลายแห่ง แทนการสร้างทั้งหมดขึ้นมาด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิค อาร์คัมค่อนข้างมีความซับซ้อน มันตั้งอยู่บนเกาะมีทางหลวงต่อเชื่อมถึงที่นั่น มีระบบความปลอดภัยสูงสุดเหมือนกับเรือนจำ และส่วนที่ความปลอดภัยน้อยที่สุดคือจุดที่ลีใช้ชีวิตอยู่ เหมือนกับที่เราเห็นใน ‘Cuckoo’s Nest’ มีระบบการรักษาความปลอดภัยระดับนั้น และเรายังมีสนามหญ้าที่มีบรรยากาศเหมือนในเรือนจำ ซึ่งเราคุ้นตาจากบรรยากาศด้านนอกในนิวเจอร์ซีย์ เราค้นหาสถานที่ในแอล.เอ. และพื้นที่สำหรับสนามหญ้า จนท้ายที่สุดเราจำเป็นต้องสร้างมันขึ้นมาเพื่อให้ได้ความรู้สึกที่สมจริง เราถ่ายทำในพื้นที่อ่าวซานฟรานซิสโก มีการใช้พื้นที่เกาะ Yerba Buena และอัลคาทราซ การเชื่อมโยงกันระหว่างเกาะเหล่านั้น ทั้งทางน้ำ ทางอากาศ และพื้นที่ใน Hudson River นอกชายฝั่ง  Weehawken เรามีการถ่ายทำทางหลวงในบริเวณอุตสาหกรรมนิวเจอร์ซีย์ รวมถึงทางหลวงและรายละเอียดอีกหลายส่วนที่มารวมตัวกัน ผมเพิ่งเสร็จสิ้นการทำงานใน  ‘Mufasa’ ของแบร์รี่ เจนคินส์ ผมมีทีมผู้ชำนาญหลายคนที่คอยช่วยรวมสถานที่เหล่านั้นให้เป็นหนึ่งเดียวกับอาร์คัม เรามีการสร้างเป็นโมเดล 3 มิติขนาดใหญ่ ซึ่งมีกาสร้างบรรยากาศภายในเพิ่มที่โรงถ่ายของเรา เรายังมีโมเดล 3 มิติเสมือนจริงที่เราสามารถเข้าไปสัมผัสได้ผ่านแว่น VR และเดินไปรอบๆ ได้ เราสามารถติดตั้งกล้องและจัดแสงอาทิตย์รวมถึงแสงไฟที่เสมือนจริงได้ เราสามารถควบคุมและปรับปลี่ยนโลกของเราให้เป็นอาร์คัมที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันได้ คามหวังของผมคือทำให้มันดูแนบเนียนในสายตาผู้ชม ดูเป็นสถานที่มีอยู่จริง เหมือนผมไม่ต้องจัดการอะไรกับมันเลย”


การสร้างทางหลบหนีเดียวของอาร์เธอร์จากกำแพงอันแน่นหนาของอาร์คัม บนพื้นที่สนามของอาร์คัม

“เรารู้ว่าต้องการพื้นที่สนามที่เหมือนเรือนจำสำหรับสถาบันจิตเวชอาร์คัม อาร์เธอร์เป็นบุคคลอันตราย เขาถูกคุมขัง เขาเป็นบุคคลที่แทบจะดูเลวร้ายที่สุดเพราะผู้คุมทั้งดูถูกและทำการรับสินบน และที่นั่นต้องให้ความรู้สึกของโรงพยาบาลที่มีความปลอดภัยน้อยมากบนอีกฟากหนึ่งของพื้นที่สนาม ที่นั่นคือที่อยู่ของลี สถานที่ที่อาร์เธอร์ทำได้เพียงมองดู จะเข้าไปที่นั่นได้คือต้องมีผู้คุมพาเข้าไปเท่านั้น พื้นที่ของสนามต้องมีความรู้สึกที่สมจริง ลงตัวกับสถานที่ต่างๆ ของเราในบริเวณตึกด้านหน้าและฉากต่างๆ ที่เราออกแบบสำหรับบริเวณด้านใน เราตามหาสถานที่ต่างๆ รอบเมืองเพื่อหาสถานที่ใช้งานได้จริง มีขนาดตามที่กำหนดเอาไว้ แต่ไม่มีที่ไหนมอบความรู้สึกของโรงพยาบาล/เรือนจำของอาร์คัมได้ สุดท้ายแล้วเราเราตัดสินใจสร้างขึ้นมาใหม่ ข้อดีที่ได้คือเราสามารถสร้างฉากภายในได้ลงตัวกับบริเวณภายนอก เราสามารถเชื่อมโยงฉากต่างๆ ได้ ทั้งวอร์ดที่มีความปลอดภัยสูงสุดที่อาร์เธอร์อาศัยอยู่ และพื้นที่สนามที่เชื่อมโยงถึงตึกที่มีความปลอดภัยต่ำสุดที่อาร์เธอร์ไดเพบกับลี พื้นที่นั้นเป็นจุดเชื่อมพื้นที่ระหว่างความปลอดภัยสูงสุดไปจนถึงต่ำสุด จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของอาร์เธอร์ เป็นช่วงเลาที่สีสันต่างๆ เริ่มกลับเข้ามาในชีวิตของเขา”

การแสดงของอาร์เธอร์ในศาล

“สำนักงานศาลที่ 60 Centre Street ในเมืองนิวยอร์คถูกใช้เป็นบรรยากาศภายนอกศาลก็อตแธมซิตี้ ฉากนั้นมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณทางเข้าและทางออก มีฉากของอาร์เธอร์เดินทางมาเข้าร่วมการพิจารณาคดีในคาราวานของตำรวจ ซึ่งเราเรียกกันว่าบีเทิลมาเนีย ลีเดินขึ้นบันไดตามสไตล์ของเธอเอง 60 Centre เป็นสถานที่มีความโดดเด่นของนิวยอร์ค อยู่บนที่ตั้งสะพานข้ามบรูคลินจากซิตี้ฮอลล์”

การร่วมงานพร้อมความรับผิดชอบ

“เกือบ 95% สร้างขึ้นในโรงถ่าย มีวิธีหนึ่งที่เราจะลดการใช้วัสดุต่างๆ ได้คือการนำฉากกลับมาใช้ซ้ำ เรามีการนำกำแพงกลับมาใช้ซ้ำ รวมถึงกำแพงจากพื้นที่สนามอาร์คัมเกือบทั้งหมด และปรับเปลี่ยนเป็นฉากสำนักงานศาลที่ถูกระเบิด ส่วนฉากอื่นมีการนำกลับมาใช้ปรับเป็นฉากใหม่ เราพยายามใช้กำแพงของเรามากกว่า 1 ครั้ง เจฟฟ์ ชูว์เบิร์ต ผู้ควบคุมการสร้างของเราให้ความร่วมมือเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับแดน เว็บสเตอร์ ผู้ควบคุมการกำกับศิลป์ เราพยายามสร้างขยะให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ มันอาจจะช่วยประหยัดงบหรืออาจไม่ช่วยอะไรเลย แต่ที่แน่ๆ คือลดการใช้ต้นไม้”

เจฟฟ์ กรอธ  —

ผู้ลำดับภาพ

ขั้นตอนการลำดับภาพอย่างต่อเนื่องกัน

“หากเราจะพยายามลำดับภาพต่อเนื่องกัน เราต้องถ่ายฉากด้านหลังเอาไว้เสมอ เราจะเก็บฉากต่างๆ ถ่ายทำเพื่อใช้ในภายหลัง มันมีความสำคัญกว่าภาคแรกมาก เพราะเราได้ค้นพบทุกสิ่งทุกอย่าง ในภาคนี้แทบไมต้องไปหาคำตอบว่าอาร์เธอร์คือใครและเขาทำอะไรได้บ้าง แต่หากจำเป็นผมก็ยังชอบหาคำตอบนั้น เพราะเรามีโอกาสสังเกตหลายอย่างมากขึ้นและพูดได้ว่า ‘โอเค เรามีหนังครึ่งแรกแล้ว ตอนนี้เราพร้อมจะลงจอดกันแล้วล่ะ’”

การค้นหาภาพยนตร์ในเรื่องราวของภาพยนตร์

“ท้ายที่สุดแล้วสำหรับผมคือการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับอาร์เธอร์ขึ้นมา ผมมักจะตอบรับสิ่งที่วาคีนแสดงออกมาเสมอ เพราะเหมือนกับภาคแรกที่เขาแสดงทุกอย่างเต็มที่ผ่านการแสดงของเขา เรามีข้อมูลสำคัญของเรื่องทั้งหมดให้พร้อมสำรหับการเตรียมตัว แต่ในเรื่องของการค้นหาตัวละคร เรามีฉากที่ลงตัว เราเริ่มสร้างรายละเอียดรอบตัวสำหรับฉากอื่นๆ และมันช่วยให้เรามีตัวเลือกมากขึ้น แน่นอนว่าเวลาที่เรามีตัวลือกหลายทางทั้งมีเหตุผลและดูลงตัว สิ่งสำคัญคือบรรยากาศในช่วงแรกที่จะสร้างขึ้นมา จากนั้นจะเป็นตัวเลือกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและง่ายดาย เมื่อมีการสร้างภาพยนตร์ขึ้นมา มันมีการย้อนกลับไปหาเรื่องราวและสังเกตจากเทคอื่นๆ การแสดงอื่นๆ ที่อาจบอกอะไรได้อีกหลายอย่าง เราต้องเพิ่มผลงานแต่ละส่วนมากขึ้นเมื่อเราถ่ายทำต่อไป”

โทนของเรื่อง “Joker: Folie À Deux”…

“ผมขออธิบายโทนของเรื่องนี้ว่ามีความสดใสกว่าภาคแรก น่าจะมีความแตกต่างอย่างมากจากอาร์เธอร์ในภาคแรก มันมีบางสิ่งที่เกิดขึ้นและพัฒนาจากตัวเขา ส่วนในภาคนี้เขาผ่านจุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงและตอนนี้เรานำเรื่องราวของเขามาขยาย เขาต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงในอีกรูปแบบหนึ่ง แต่มันเป็นสิ่งที่ต่างไปอย่างสิ้นเชิง โทนเรื่องจะสดใสขึ้นเป็นส่วนใหญ่ของเรื่อง เราเข้าไปอยู่ในความคิดของอาร์เธอร์เป็นส่วนใหญ่ในภาคแรก เราจะค้นหาคำตอบสิ่งที่ซ่อนไว้ภายในตัวตนของเขา ส่วนภาคนี้ไม่ว่าอย่างไรเราจะได้เห็นสิ่งที่อยู่ในความคิดของเขา เราจะได้เห็นอีกด้านของเขา ความโรแมนติก ความถูกต้องหรือผิด ความเปล่งประกาย ความสันโดษของอาร์เธอร์จากความหดหู่ของอาร์คัม นั่นคือจุดที่โจ๊กเกอร์ใช้ชีวิตอยู่”

การตัดต่อการแสดงสดในภาพยนตร์…

“วิธีบันทึกการแสดงสดของนักแสดงแต่ละคน ทั้งเลดี้ กาก้าและวาคีนต้องสวมหูฟังและนักเปียโนจะเล่นดนตรีไปพร้อมกับการร้องเพลง และเป็นการบันทึกเสียงแบบสดๆ ตอนนั้น มันไม่ได้ช่วยแค่การสร้างความเป็นธรรมชาติของการแสดง แต่ยังช่วยในด้านการตัดต่อด้วย เวอร์ชันแรกของเราจะเป็นการร้องเพลงไปพร้อมกับเปียโน ผมจะตัดต่อเข้ากับเนื้อเพลง จากนั้นนำไปตัดต่อเข้ากับเสียงดนตรี เมื่อเรียบร้อยผมจะนำไปส่งให้โปรดิวเซอร์ดนตรี เจสัน รูเดอร์ และเขาจะทำการเรียบเรียงเบื้องหลัง จากนั้นเราจะนำกลับมาบันทึกเสียงเพลงเวอร์ชันสุดท้าย ทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดการทำงาน เขาอาจจะขอให้ผมเพิ่มอีก 5 เฟรมตรงนี้ หรือตัด 1-2 เฟรมออกเพื่อเก็บเสียงดนตรีเอาไว้”

การร่วมงานกับผู้กำกับฯ ทอดด์ ฟิลลิปส์…

“ทอดด์ไม่ยึดติดกับสิ่งที่เขาถ่ายทำไว้แล้ว เขาพร้อมเปิดรับการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง สำหรับเวอร์ชันแรกเขามักจะพูดว่า ‘ผมอยากให้คุณเอาเวอร์ชันที่ 4 ใส่ตรงนี้ อย่างที่คุณเห็นในฉากนี้’ จากนั้นจุดมุ่งหมายของผมคือการสร้างความเซอร์ไพรส์ให้เขา พยายามใส่อะไรบางอย่างลงไปในช่วงเวลาที่เขารู้ว่าถ่ายทำอะไรลงไป พอเรามองดูและเริ่มลำดับภาพเขาจะมาอยู่ตรงนั้นด้วยทุกวัน มีเพียงเรา 2 คนที่ร่วมงานกันตลอดหลายเดือน ลองทำสิงต่างๆ ขยับตรงนั้นตรงนี้ ผมไม่อยากใช้คำว่าไม่มีกฏเกณฑ์อะไร แต่เราจะปรับเปลี่ยนกฎตลอดการทำงาน เขาไม่ดูบทฯ และพูดว่า ‘มันต้องเป็นแบบนี้…’ พูดได้เลยว่าหนังเรื่องนี้ทั้ง 2 ภาคและภาคสุดท้ายนี้ถ่ายทอดตรงตามไอเดียต่างๆ และความรู้สึกตามบทฯ ที่เขากับสก็อตต์ [ซิลเวอร์] เขียนขึ้นมา ทอดด์มักจะหาทางสร้างสิ่งที่ไม่เคยสร้างขึ้นมา นั่นคือข้อดีอย่างหนึ่งของเขา เขาเลือกทำสิ่งที่ท้าทายและสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้”

อาเรียน ฟิลลิปส์

ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย

การร่วมงานในภาคต่อของภาพยนตร์ที่เธอรักในฐานะของแฟนคนหนึ่ง

“มันมักจะมีการเปลี่ยนแปลงของการสร้างภาพยนตร์เกิดขึ้นเมื่อเรามีนักแสดงที่มีฝีมือ เช่น วาคีน ฟีนิกซ์ ประกบคู่กับผู้กำกับฯ ที่เต็มไปด้วยจินตนาการอย่างทอดด์ ฟิลลิปส์ บทภาพยนตร์ที่น่าทึ่งของเขาและสก็อตต์ ซิลเวอร์ ฉันรู้สึกตื่นเต้นกับเรื่อง ‘Joker’ มาก มันเลยเหมือนฝันที่เป็นจริงที่ได้ก้าวเข้าสู่โลกที่พวกเขาสร้างขึ้นมาในภาคแรก โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายที่ฉันสนุกกับมันมาก มาร์ค บริดเจสเป็นทั้งเพื่อนร่วมงานและเพื่อนของฉัน ฉันดีใจมากที่มีโอกาสสร้างผลงานที่มีความงดงาม และเนื้อเรื่องที่เราทุกคนต่างตกหลุมรัก การถ่ายภาพของแลร์รี่ เชอร์ การออกแบบเครื่องแต่งกายที่น่าทึ่งของมาร์ค ฉากของมาร์ค เฟรดเบิร์ก การแสดงทั้งหมดที่สอดคล้องกันมาก ฉันย้อนกลับไปดูหนังหลายรอบเพื่อทำความเข้าใจเรื่องโทนสี โดยเฉพาะการเจาะลึกถึงหลายมุมที่สำคัญของตัวละครอาร์เธอร์ และโลกที่เราปิดท้ายในตอนจบ เพื่อเตรียมตัวสานต่อและขยายเรื่องราวของเขาในภาคนี้”

การเข้าไปทำความรู้จักกับผู้สร้างภาพยนตร์ ทอดด์ ฟิลลิปส์

“ทอดด์ [ฟิลลิปส์] มีความสามารถอันน่าทึ่งในการสร้างโลกที่ดูสมจริง เขากับฉันไม่เคยพบกันมาก่อน แต่ฉันมีโอกาสอ่านบทฯ และเราได้มีการพูดคุยกัน ทอดด์คุยเรื่องภาพยนตร์ ความผูกพันกับเสื้อผ้า ภาพลักษณ์ของเรื่อง ซึ่งมันสร้างความตื่นเต้นให้ฉันมากค่ะ สิ่งหนึ่งที่สร้างความชัดเจนให้ฉันมากในแง่ของการทำงานคือบทฯ เรื่องนี้มี 3 องก์หรือ 3 ส่วนที่ต่างกัน ได้แก่ โลกของอาร์คัม โลกของห้องพิจารณาคดี และฉากในจินตนาการต่างๆ ทอดด์กับฉันคุยกันหลายอย่างเรื่องระดับความรู้สึกในแต่ละส่วนของเรื่องราว เราคุยกันเรื่องโทนสี และขอบเขตความงดงามที่สร้างเอาไว้ในภาคแรก เพื่อเป็นการให้เกียรติในภาคนั้น และขยายเรื่องราวต่อ”

การสร้างผลงานของเธอในอาร์คัม

“การออกแบบฉากของมาร์ค เฟรดเบิร์ก วิธีการถ่ายทำของแลร์รี่ [เชอร์Sher] การสร้างความแตกต่างระหว่างวอร์ด E และ F ด้วยแสงไฟ มันคือโลกที่ไร้สีสัน ผลงานของเราทั้งหมดคือการสร้างความเก่า สนิม ความสกปรก สภาพที่ดูถูกลืมขึ้นมา ที่นั่นถูกปล่อยทิ้งร้าง อีกมุมหนึ่งในพื้นที่ของอาร์คัมที่เราพบคือวอร์ด B ที่นั่นเราจะใช้แสงธรรมชาติบางส่วน มีการเปลี่ยนสีสันและใช้โทนสีที่ดูไร้ความรู้สึก ฉันรู้สึกว่ามันมีความสำคัญมากที่ต้องมีรูปภาพ เหมือนความผ่อนคลายที่เกิดขึ้นเมื่ออาร์เธอร์ก้าวเข้าสู่วอร์ด B ที่นั่นจะมีความอบอุ่น มีความเป็นสถาบัน ต่างจากวอร์ด E อย่างสิ้นเชิง ทุกคนสามารถสวมเสื้อผ้าของตัวเองได้ ใช้โทนสีอย่างที่เห็นในส่วนอื่นของโรงพยาบาล และมีลวดลายอย่างที่ฉันไม่เคยเหนจากที่อื่นในอาร์คัม คุณจะเห็นมันได้เพราะอาร์เธอร์สวมชุดนักโทษสีเทาและไร้สีสัน เขาดูไร้ชีวิตชีวา ฉันภูมิใจกับชุดนักโทษในอาร์คัมมากมันดูไม่มีสีสันเหมือนชุดแนวแฟนตาซี แต่ฉันคอยมองหาความหลากหลายตลอด”

การร่วมงานกับเลดี้ กาก้าสำหรับเสื้อผ้าของลี ควินเซล

“ฉันรักเรื่องราวต้นกำเนิดเสมอค่ะ รวมถึงการถ่ายทอดความงดงามของทอดด์และสก็ออต์ในบทบาทของลีและเนื้อเรื่องที่มาของเธอในการกลายเป็นฮาร์ลีย์ ควินน์ที่มีความน่าตื่นเต้นมาก ลีเป็นตัวละครที่มีหลายมุม เรียกว่าเป็นประสบการณ์น่าทึ่งมากที่ได้ร่วมงานกับเลดี้ กาก้า เธอให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่มากค่ะ การร่วมงานกับเธอเหมือนกับจุดเด่นของเส้นทางการทำงานก็ว่าได้เลย ความรับผิดชอบและการร่วมงานของเธอยอดเยี่ยมมากนับจากการทำงานด้านภาพยนตร์ของฉันกว่า 30 เรื่องร่วมกับนักแสดงคนอื่น เธอเข้าใจการพัฒนาตัวละครอย่างลึกซึ้ง มีความชื่นชม และเข้าใจการเล่าเรื่องราวผ่านภาพได้ดี เธอมีความใส่ใจมากและใช้เวลาร่วมงานกับฉันเพื่อค้นหาความเป็นลีออกมา”

การประชุมร่วมกับเลดี้ กาก้าเพื่อค้นหาภาพลักษณ์ของลี

“เราใช้เวลาเยอะมากเพื่อประชุมเรื่องตัวละครพร้อมกับเพื่อนร่วมงานที่น่าทึ่งของเธอ เฟรเดอริค แอสไพราส (ผูออกแบบทรงผมส่วนตัวของเธอ) และซาราห์ แทนโน (ผู้ชำนาญด้านการแต่งหน้าส่วนตัวของเธอ) เราละเลงกันอย่างเต็มที่ เราเข้าไปสำรวจหลายแง่มุมของลี  เราไปสำรวจจนไกลและถอยหลังกลับมาเป็นระยะ เพื่อหาบาลานซ์ในโลกของทอดด์ (ฟิลลิปส์) ที่สร้างเอาไว้อย่างมืออาชีพในเรื่อง ‘Joker’ ภาคแรก เราสนุกกับมันและมีความสุขมาก”

การทดลองไปพร้อมกับเลดี้ กาก้า เพื่อถ่ายทอดลักษณะเฉพาะตัวของลีตลอดทั้งเรื่อง

“เราได้รับอิสรภาพจากทอดด์ (ฟิลลิปส์) เยอะมากในการทดลองและสำรวจความป็นลี รวมถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมุมความเป็นตัวละคร ตัวตนของเธอในช่วงที่เราได้พบเธอ การเปลี่ยนแปลงของเธออย่างเต็มที่และในช่วงท้ายเรื่อง ทอดด์และผู้เขียนบทฯ สก็อตต์ (ซิลเวอร์) เขียนบทฯ ต้นฉบับที่มีความงดงามได้อย่างอัจฉริยะและเรียกความสนใจไดมาก ทำให้เราสามารถเจาะลึกลงไปเพื่อสร้างลีที่มีเอกลักษณ์ในแบบของตัวเอง มีความลงตัวกับโลกภาพยนตร์และ ‘Joker’ ภาคแรกที่พวกเขาสร้างเอาไว้ระดับมาสเตอร์พีซ เธอกับฉันค้นหาข้อมูลและพัฒนาร่วมกันหลายด้าน เธอเปนคนใจกว้างรับไอเดียใหม่ๆ และใส่ความเป็นตัวเองลงไปในตัวละครเยอะมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความน่าทึ่ง การทดลองของเรามีความยิ่งใหญ่มาก เราจะเปิดเพลงและพูดบทฯ ไปพร้อมกับเธอ มันรู้สึกเหมือน ‘เข้าค่ายลี’ เป็นอย่างมาก ทีมงานที่น่าทึ่งของเธอ ทั้งช่างทำผมส่วนตัว เฟรเดอริค แอสไพราส และช่างแต่งหน้าส่วนตัวของเธอ ซาราห์ แทนโน มาร่วมงานด้วยในการทดลองทุกครั้ง พวกเราทดลองกันหลายมุม มีการถ่ายรูปและวีดีโอ มันมีความพิเศษมากเลยค่ะ”

การสร้างชุดที่เป็นเอกลักษณ์ของโจ๊กเกอร์ขึ้นมาใหม่

“เราสามารถขยายชุดของโจ๊กเกอร์ที่สร้างเอาไว้ในภาคแรกอย่างน่าทึ่งโดยมาร์ค บริดเจส คุณจะเห็นความแตกต่างของชุดโจ๊กเกอร์จากคนต่างๆ และมีการสร้างชุดของโจ๊กเกอร์สำหรับฉากแฟนตาซี ซึ่งมีความสนุกมากค่ะ”

ความสามารถของทีมงานเธอ

“สิ่งหนึ่งที่มีความพิเศษมากสำหรับเรื่องนี้คือขอบเขตความงดงามจากทีมงานของฉันทั้ง 36 คน ฉันไม่เคยมีทีมงานขนาดใหญ่เท่านี้มาก่อน มีการแบ่งทีมระหว่างลอสแองเจลิสและนิวยอร์ค ฉันมีทีมงานสร้างความน่าทึ่งด้านการลงสีและสร้างความเก่าที่มาทำงานอย่างหนักในเรื่องนี้ ตั้งแต่การสร้างความเก่าให้ชุดของอาร์คัมที่เราผลิตขึ้นมาเอง มันเป็นเสื้อผ้าที่มีเอกลักษณ์และเรามอบหมายให้พวกเขาสร้างคราบสนิมที่ลงตัวกับฉากอันงดงามของมาร์ค เฟรดเบิร์ก มันเป็นขั้นตอนที่มีความยิ่งใหญ่มาก อีกด้านหนึ่งคือเรามีการสร้างฉากระเบิดที่เราเห็นทุกคนเปื้อนฝุ่นทั้งตัว เราต้องอาศัยคนราว 20 คนสวมชุด ‘เปื้อนฝุ่น’ และเสื้อผ้าของลี อาร์เธอร์ ฮาร์ลีย์ และโจ๊กเกอร์ถูกผลิตขึ้นมาใหม่สำหรับฉากแฟนตาซี เมื่อถึงเวลาที่การถ่ายทำเสร็จสินลง เรามีเสื้อผ้าของผู้คนมากกว่า 2,000 คนที่เราผลิตขึ้นมาในหนังเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นมาก”

ช่วงเวลาที่เธอชื่นชอบในหนัง

“ฉันรู้สึกตื่นเต้นกับชุดแฟนตาซีมากค่ะ มันฉีกออกจากความ ‘สมจริง’ ไปเลย โลกของเราในกอตแธมเต็มไปด้วยความกล้าและมีตัวละครอันน่าทึ่ง แต่ก็มีความสนุกในมุมของความเหลือเชื่อ นับเป็นเรื่องที่ดีมากที่ได้กลับมาร่วมงานกับวาคีน ฟีนิกซ์ เราเคยร่วมงานกันในเรื่อง ‘Walk the Line’ เมื่อหลายปีที่แล้ว และวันแรกที่เราเจอหน้ากันระหว่างการเตรียมตัว วาคีนพูดว่า ‘ผมเดาว่าเราน่าจะได้ร่วมงานกันในหนังที่มีแต่เสียงดนตรีสินะ’ เขามีความเป็นศิลปินแห่งยุคและนับเป็นความตื่นเต้นที่เป็นส่วนหนึ่งในการสานต่อเรื่องราวนี้ของเขา”

การสร้างเสียงดนตรีในตัวอาร์เธอร์ขึ้นมา

ฮิลดูร์ กืดนาดอตเตียร์

ผู้ประพันธ์ดนตรี

การผสมเพลงประกอบภาพยนตร์ต้นฉบับเข้ากับเพลงต่างๆ ในเรื่องนี้…

“ไอเดียในการใช้เพลงทั้งหมดนี้ในหนังสร้างความท้าทายให้ฉันมากค่ะ ต้องมีการรวมโลกของเสียงที่เราสร้างขึ้นมา เสียงที่เรารู้สึกว่ามีส่วนสำคัญต่อตัวละครของอาร์เธอร์และโจ๊กเกอร์ พร้อมเพลงที่เกี่ยวข้องกับด้านอื่นในตัวของเขา เช่น เพลงแนวแฟรงค์ ซินาตร้าที่โดดเด่นในภาคแรก ในช่วงแรกมีการคุยกันว่าจะเชื่อมโยงโลกของเสียงดนตรีที่ต่างกันทั้ง 2 ใบนั้นให้ลงตัวได้อย่างไร รายละเอียดเหล่านี้จะลงตัวกันเป็นอย่างดีและไม่ขัดกันอย่างไร มันไม่มีคู่มือบอกเอาไว้ว่าแบบไหนถึงจะลงตัว มันเลยเหมือนการต่อจิ๊กซอว์ที่มีความสนุกค่ะ”

ความแตกต่างของเพลงประกอบภาพยนตร์ในครั้งนี้

“ฉันคิดว่าเพลงประกอบภาพยนตรในเรื่องนี้ทำหน้าที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เพราะมันเป็นตัวเชื่อมความรู้สึกต่างๆ ของอาร์เธอร์ ฉากในจินตนาการที่เขาพบในแต่ละวันที่เรือนจำ เพลงประกอบภาพนตร์เชื่อมโยงหลายช่วงเวลาทั้งความลึกลับและจินตนาการ ซึ่งมันทำหน้าที่ต่างออกไป เป็นขั้นตอนการทำงานที่น่าสนใจมากเลย”

การแสดงในเรื่องนี้ที่มีผลงานของเธอเป็นตัวตอกย้ำ

“ฉันค่อนข้างแปลกใจกับการแสดงต่างๆ ค่ะ เมื่อได้ดูแล้วมันงดงามมากจริงๆ ตัวอย่างเช่น วาคีนในฉากต่างๆ ที่เขาต้องร้องเพลง ใบหน้าของเขาถ่ายทอดความเศร้าและความสุขได้ในแต่ละประโยคจากเพลงเดียวกัน มันวิเศษมากที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของเขา ได้พบความหวังเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในความกลัว”

ผลงานของเธอที่ปรากฏชัดเจนในการแสดงต่างๆ ของเรื่อง…

“ในเรื่อง ‘Joker’ ฉันแต่งเพลงธีมไว้เยอะมากก่อนจะมีการถ่ายทำ และพวกเขาเปิดเพลงในฉากค่อนข้างเยอะมาก เช่นเดียวกับในเรื่องนี้ที่เรามีเพลงประกอบภาพยนตร์ที่สามารถประกอบการแสดงได้ทุกเพลง ฉันคิดว่าพวกเขาฟังพลงในฉากเยอะมากเลย ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากเสียงดนตรีเป็นตัวโน้มน้าวการแสดง จากนั้นฉันได้เห็นฟุตเทจและสามารถสะท้อนสู่การแสดงได้ เรามีการเต้นกลับไปกลับมาตลอด โดยเฉพาะช่วงเวลาสะเทือนอารมณ์ที่มันออกมาจากใจจริงๆ มันสร้างแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงขึ้นมาได้ค่ะ”

ความเปลี่ยนแปลงของธีมต่างๆ สำหรับอาร์เธอร์ในเรื่องนี้…

“ธีมของอาร์เธอร์จะลดความโดดเด่นลงจากการเต้นในห้องน้ำหรือการเรียกความสนใจจากภาคแรก มันเหมือนกับเพลงที่แทรกซึมในฉากต่างๆ พยายามหาจุดลงตัวของมันเอง เช่นเดียวกับสิ่งที่อาร์เธอร์ต้องพบเจอในเรื่องนี้ เขาพยามหาจุดยืนของตัวเองระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงกับจินตนาการ อาร์เธอร์และโจ๊กเกอร์กำลังตกหลุมรักหรือแค่ถูกปั่นหัว”

อิทธิพลจาก ลี ตัวละครของเลดี้ กาก้าที่มีต่อเพลงประกอบภาพยนตร์

“เมื่อลีเข้ามาอยู่ในชีวิตของอาร์เธอร์ มันรู้สึกว่าอารมณ์ของเขาขยายขอบเขตไปได้มากขึ้น เหมือนอยู่ๆ เขาก็เปิดโลกของความรู้สึกเพิ่มขึ้นมา เหมือนเขาเปิดโลกของมนุษย์คนหนึ่งมากขึ้นหลังจากได้พบกับเธอ ฉันคิดว่าอิทธิพลสำคัญที่ส่งผลต่อเพลงประกอบภาพยนตร์คือการเรียบเรียงดนตรีต้องยิ่งใหญ่ขึ้นและกว้างขึ้นในหลายด้าน”

การนำเครื่องดนตรีใหม่มาใช้ในเรื่อง…

“โลกของเสียงดนตรีของเราในสมัยก่อนจะเน้นเครื่องสาย จนฉันเริ่มนึกภาพอาร์เธอร์อยู่ในเรือนจำ ฉันจะใช้โลกของเสียงดนตรีนั้นมาอยู่ในบรรยากาศเรือนจำที่ถูกจำกัดเรื่องดนตรีเครื่องสายได้อยางไร ฉันร่วมงานกับเพื่อนอีก 2 คนที่เป็นพ่อลูกผลิตเครื่องดนตรีที่ไอซ์แลนด์ ฉันขอให้อัลเฟอร์ แฮนส์สันผู้เป็นลูกช่วยฉันสร้างเครื่องดนตรีที่ฉันเรียกว่าเครื่องสายในเรือนจำ มันประกอบด้วยสายที่ยาวมากซึ่งจะมีการขึงผ่านพื้นที่ในเรือนจำ อันที่จริงมันคือรั้วไฟฟ้าที่มีความร้อนมาก พวกมันจะถูกขึงไว้ระดับสูงและขยายด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้เกิดเสียงอันเหลือเชื่อขึ้นมา ฉันสร้างลูกกรงจากโลหะที่นำมาใช้เป็นเครื่องสายในเรือนจำ และลูกกรงเหล่านั้นจะมีกรอบไม้ที่กลายเป็นเครื่องดนตรีหลักที่ฉันใช้เล่นดนตรี

“จากนั้นฉันขอให้ฮานส์ โจฮานส์สัน คุณพ่อของอัลเฟอร์ซึ่งเป็นผู้ชำนาญช่วยสร้าง เทรนช์ เชลโล่ ขึ้นมา ซึ่งมันคือเชลโล่ที่ใช้กันในสงครามโลกครั้งที่ 1 เหล่าทหารเคยใช้เล่นดนตรีในสนาม มันช่วยฆ่าเวลาและสร้างความสนุกในช่วงเวลาอันโหดร้าย มันมีลักษณะเหมือนกล่องที่เปิดออกมาแล้วเห็นเชลโล่แยกส่วน ทั้งส่วนคอและสายจะแยกกันหมด มันถูกบรรจุอยู่ในกล่องไม้ (ตัวของเครื่องดนตรี) ซึ่งใช้สำหรับการขนอาวุธด้วย ฉันเลยนำมาใช้เล่นดนตรีพร้อมกับเครื่องสายในเรือนจำ อาร์เธอร์รู้สึกหลงใหลในเสียงของเครื่องสาย และมีความสุขเมื่ออยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่แคบและน่ากลัวแบบนี้”

การนำเชลโล่สู่ดินแดนใหม่เสมอ…

“เชลโล่เป็นเครื่องดนตรีคลาสสิคที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกของฉันด้วย แต่ฉันต้องใช้เวลา 20 ปีเพื่อหาวิธีขยายความของเครื่องดนตรีชนิดนี้ ขยายมุมที่ต่างออกไป ขยายโลกของเสียงโดยการพยายามทำสิ่งใหม่ๆ สำหรับฉันนั่นคือความสนุกอย่างหนึ่งของการแต่งเพลง ได้ทำการทดลอง ได้ทำสิ่งที่ต่างออกไปทั้งการสร้างเสียงดนตรีและการสร้างเสียงสะท้อนของเครื่องสาย”

การร่วมงานกับผู้กำกับฯ ทอดด์ ฟิลลิปส์อีกครั้งในเรื่องนี้ …

“ทอดด์เป็นคนรับฟังสิ่งที่ฉันถ่ายทอดลงไปในการทำงานอย่างไม่น่าเชื่อเสมอ ตั้งแต่ภาคแรกเขามีการเชิญชวน มอบความไว้วางใจในการทำงานของฉันมาก มันมีความพิเศษมากและฉันชื่นชมในการเป็นผู้ร่วมงานของเขาจริงๆ ค่ะ”

การร่วมงานกับ เจสัน รูเดอร์ โปรดิวเซอร์ผู้บริหารเสียงดนตรีอีกครั้งในเรื่องนี้ …

“เจสันคือผู้ชนะเลิศทางด้านนี้เลยค่ะ การร่วมงานกับเขาเต็มไปด้วยความน่าทึ่งทั้ง 2 โปรเจ็กต์เลย เขาคือคนที่ชวนฉันมาร่วมงานในภาคแรก เราพัฒนาการพูดคุยกันอย่างงดงามและไว้วางใจกันในท้ายที่สุด เขาสร้างความมหัศจรรย์ด้วยการเชื่อมเพลงประกอบภาพยนตร์และเสียงเพลงเข้ากับทอดด์ วาคีน และเลดี้ กาก้าเข้าด้วยกันได้”

ทีมงานด้านเสียงดนตรี

  — เจสัน รูเดอร์     — แรนดัลล์ โพสเตอร์ และ จอร์จ ดราคูเลียส

โปรดิวเซอร์ผู้บริหารด้านเสียงดนตรี ผู้ควบคุมด้านเสียงดนตรี

การร่วมงานกับผู้กำกับฯ / ผู้เขียนบทฯ ทอดด์ ฟิลลิปส์

เจสัน รูเดอร์: “ทอดด์มักจะมอบความตื่นเต้นให้เราอย่างสุดเหวี่ยง เขามักจะพาเราไปยังจุดที่คาดไม่ถึงเสมอ เขาเห็นความสำคัญของเสียงดนตรีและสิ่งที่ถ่ายทอดสู่ภาพยนตร์ ฉะนั้นการร่วมงานกับเขาจึงมีแต่ความตื่นเต้น ไม่ว่าจะด้านเพลงประกอบภาพยนตร์หรือเพลงทั่วไป”

แรนดัลล์ โพสเตอร์: “นี่คือหนังเรื่องที่ 10 ที่ผมร่วมงานกับทอดด์ เขาไม่ชอบสร้างหนังภาคต่อในแบบเดิมๆ เขาคิดนอกกรอบเสมอ หรือทำอะไรในแบบที่ต่างจากเดิม เขาและก็อตต์ ซิลเวอร์ ผู้ร่วมเขียนบทฯ ของเขามาพร้อมผลงานที่คาดไม่ถึงและผลักดันเรื่องราวให้เดินหน้าไปอย่างน่าสนใจ” 

จอร์จ ดราคูเลียส: “ทอดด์เป็นคนที่วิเศษมาก เขาฉลาดและมีไหวพริบสูง คอยอธิบายภาพต่างๆ ได้อย่างชัดเจน เขามีภาพในจินตนาการ เขาเป็นผู้นำที่เก่ง เขาไม่เคยมีอะไรให้เดาซ้ำสองรอบ เราจะถามอะไรเขาก็ได้เวลาที่เขาอยู่ด้วย เขามีความกระตือรือร้นมาก ทำให้เราเห็นภาพชัดเจนและมีแนวทางการทำงานที่ถูกต้อง”

มุมมองเรื่องเสียงดนตรีในหนัง

เจสัน รูเดอร์: “แน่นอนว่าแรงบันดาลใจมาจากตัวละคร มันเป็นเรื่องระหว่างพวกเขาทั้งสองคืออาร์เธอร์และลี พวกเขาร้องเพลงกันและดนตรีเป็นตัวผลักดันสูงมาก อิงจากจินตนาการแต่ก็ยังสะท้อนถึงความรู้สึก ‘Joker’ ภาคแรกที่ถ่ายทอดสู่ภาคนี้อย่างชัดเจน”

แรนดัลล์ โพสเตอร์: “ทอดด์มีมุมมองที่เฉียบมากสำหรับเรื่องนี้ และหนังทุกเรื่องที่เขาสร้างขึ้นมา เขาจัดการเลือกเสียงดนตรีไดดีมาก สำหรับเรื่องนี้มันมีอะไรมากกว่าเรื่องก่อน ในเรื่อง ‘Joker’ เสียงดนตรีช่วยสร้างบรรยากาศที่มีความพิเศษขึ้นมา ทำให้วาคีนถ่ายทอดการแสดงที่น่าทึ่งออกมาได้ ส่วนในเรื่องนี้ดนตรีวนเวียนตลอดทั้งเรื่อง และทอดด์มีไหวพริบที่ดีมากและมีจินตนาการที่ชัดเจน ทำให้เขาเป็นผู้ร่วมงานในอุดมคติเลย”

จอร์จ ดราคูเลียส: “หนังภาคก่อนเหมือนทำการประกาศเอาไว้ และทอดด์ไม่อยากทำซ้ำภาคก่อน เขาอยากลองทำสิ่งแปลกใหม่ มันทำให้ผมเข้าใจได้เป็นอย่างดีมาก และตอนที่เขาบอกผมเรื่องเสียงดนตรี การสร้างความรู้สึกขึ้นมาก็เช่นกัน เพราะอาร์เธอร์และโจ๊กเกอร์มีเสียงดนตรีในหัวของเขา เราเห็นเขาเต้นในฉากที่น่าจดจำตรงห้องน้ำผู้ชายของสถานีรถไฟ ทอดด์จินตนาการว่าหากอาร์เธอร์มีเสียงดนตรีอยู่ในหัว เขาก็คงมีเสียงเพลงอยู่ในใจด้วย เขาต้องผ่านอะไรหลายอย่างเพื่อแสดงตัวตนออกมา มันเลยเข้าใจได้ว่าเขาคงมีการเปิดเผยตัวเองผ่านเสียงเพลงและเสียงดนตรี”

จุดกำเนิดของเพลงในหนัง

เจสัน รูเดอร์: “ทอดด์มีความถนัดเรื่องเพลงมากและส่วนใหญ่ก็อยู่ในบทภาพยนตร์ เขาแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เขาอยากหวนกลับไปหาอีกครั้ง และเราทำการดัดแปลงมีการเรียบเรียงให้ต่างจากเดิม ตัดให้เหมาะกับฉากต่างๆ แต่ละช่วงเวลาในหนัง ผมมีการอิงจากผลงานภาคแรกและสร้างความแปลกใหม่ขึ้นมาทั้งหมด ให้พวกมันเข้าถึงดีเอ็นเอของหนังเรื่องนี้”

แรนดัลล์ โพสเตอร์: “ทอดด์และสก็อตต์สร้างึความพิเศษเอาไว้ในบทฯ เรื่องเสียงดนตรีที่พวกเขาอยากใช้ ฉะนั้นเรามีหนาที่ทำให้เพลงเหล่านั้นรู้สึกเหมือนถูกสร้างขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับเรื่องนี้ และใช้ถ่ายทอดอารมณ์ต่างๆ ในเรื่อง พวกมันต้องมีจังหวะที่ลงตัวเมื่อจับมาวางในหนัง มีการพูดถึงเพลงคลาสสิคเวอร์ชันแต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่ มีการบันทึกเสียงสำหรับนักแสดงที่แสดงในเรื่องด้วย”

จอร์จ ดราคูเลียส: “เพลงในเรื่องนี้ล้วนป็นเพลงที่ทุกคนรู้จักเป็นส่วนนใหญ่ มักเป็นเพลงที่อยู่ในรายการต่างๆ ยุค 1970 ให้ความรู้สึกถึงรายการ ‘The Murray Franklin Show’ คล้ายกับยุค 80 แต่มีความตราตรึง เป็นรายการที่มีการร้อง การเต้น และการแสดงตลกอยู่ในนั้น. .”

การสนับสนุนของเลดี้ กาก้ามีความหมายมากสำหรับภาพยนตร์

เจสัน รูเดอร์: “กาก้ามีความน่าทึ่งมาก ผมร่วมงานกับเธอในเรื่อง  ‘A Star Is Born’ ผมรู้ว่าเธอจะถ่ายทอดฉากนั้นให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว มันมีความร่วมสมัยในตัวเธอที่จะเห็นได้ผ่านการเป็นนักแสดง นักร้อง และนักดนตรี นับเป็นการคัดเลือกนักแสดงที่ลงตัวมากที่เลือกให้เธอมาร่วมงานในเรื่อง”

แรนดัลล์ โพสเตอร์: “เลดี้ กาก้าเป็นทั้งแรงบันดาลใจและมืออาชีพ เราตื่นเต้นมากที่รู้ว่าเธอจะมาร่วมงานในเรื่องด้วย เสน่ห์ของเธอและความทุ่มเทที่มีต่อการแสดงคลาสสิครวมถึงดนตรีแนวป๊อปนั้นหาได้ยากมาก เธอมีความรู้เรื่องขั้นตอนการแต่งเพลงทั้งหมดป็นอย่างดี และเราได้แรงบันดาลใจจากความรับผิดชอบอย่างยอดเยี่ยมของเธอด้วย”

จอร์จ ดราคูเลียส: “เราเดินทางไปดูกาก้าที่เวกัส ตอนที่เธอแสดงเพลงแจ๊ซร่วมกับวงดนตรีใหญ่ เรามีพื้นฐานด้านดนตรีแนวนั้นกันมาก่อนในภาคแรก เมื่อลีปรากฏตัวในภาคนี้ เธอเข้ามาได้อย่างลงตัวมาก หากเราคือทอดด์ที่กำลังสร้างหนังเรื่องนี้ จะมีใครที่มารับบทฮาร์ลีย์ ควินน์ได้หากไม่ใช่เลดี้ กาก้า? และเธอก็เป็นนักแสดงที่น่าทึ่งมากด้วย”

รายละเอียดของฉาก

ภาพโดยรวม

การเปิดกล้องใช้เวลาถ่ายทำรวมทั้งหมด 75 วัน (ถ่ายทำ 66 วันในลอสแองเจลิส อีก 9 วันในนิวยอร์ค/นิวเจอร์ซีย์)

ส่วนใหญ่ภาพยนตร์จะถ่ายทำตามลำดับเวลา (พร้อมบางฉากตามที่คาดหวังเอาไว้) ซึ่งค่อนข้างหาได้ยากในมาตรฐานการถ่ายทำปัจจุบัน

ในเรื่องมีการใช้ฉากที่โรงถ่าย Warner Bros. Studios เลขที่ 10, 16, 17, 20, 24 และ 18 และฉาก 42 กับ 43 ใกล้กับโรงถ่ายของ Universal Studios 

ฉากด้านนอกส่วนใหญ่ถ่ายทำที่นิวยอร์ค (บริเวณด้านนอกสำนักงานศาลบนถนน 60 Centre Street) ขั้นบันไดของ  “โจ๊กเกอร์” ที่บรองซ์และนิวเจอร์ซีย์ (บริเวณด้านนอกของสถาบันอาร์คัมในเบลเลอวิลล์) พื้นที่สนามด้านในและด้านนอกเรือนจำอาร์คัมถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แต่มีการใช้โครงสร้างเดิมที่มีอยู่ในสถานที่แอล.เอ.

การถ่ายทำส่วนใหญ่ในโรงถ่ายทำให้ทีมงานสามารถกระโดดเข้าฉากต่างๆ และโรงถ่ายต่างๆ ได้หากนักแสดงหรือครีเอทีฟต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรในวันนั้น

สถาบันจิตเวชของอาร์คัม

ฉากระบบความปลอดภัยสูงสุดในอาร์คัมถูกออกแบบมาให้มีการพูดแบบฟังไม่ค่อยรู้เรื่องระหว่างผู้ป่วยกับนักโทษที่อยู่ในนั้น

มีความพยายามในการสร้างอาร์คัมให้ดูเหมือนสถาบันที่มีอายุนับ 100 ปี พร้อมรายละเอียดต่างๆ ทั้งท่อน้ำ  สายไฟ ท่อนำความร้อนสมัยเก่า ท่อประปา ผนังและพื้นที่มีความเก่าดูสมจริงเข้ากับบรรยากาศ

วอร์ด E:

  • ฉากของวอร์ด E ในอาร์คัม บรรยากาศไร้ชีวิตชีวา สิ้นหวัง เต็มไปด้วยความสลด อาร์เธอร์อาศัยอยู่ในนั้น มีทั้งห้องขัง ห้องบันทึกเสียง ทางเดินแนวยาว บันได ห้องอาบน้ำ ห้องพยาบาล ห้องจ่ายยา และคาเฟ่
  • โทนสีของวอร์ด E เป็นสีเหลือง สีเขียว และสีเทา โทนสีทั่วไปของกระเบื้องจะเป็นสีเหลืองแบบที่ใช้ตอนจบของเรื่อง “Joker” ทีมของเฟรดเบิร์กต้องผลิตขึ้นมาใหม่ด้วยมือเพื่อให้ได้เฉดสีที่เหมือนกัน
  • ฉากทั้งหมดมีพื้นที่เกือบ 46,000 ตร.ฟุต พื้นที่ทุกส่วนจะถูกตกแต่งให้ดูเก่าด้วยการทาสี ทำสนิม ฯลฯ
  • ผู้ออกแบบฉาก มาร์ค เฟรดเบิร์ก ใช้ VR และระบบการเดินเสมือนจริงเพื่อพัฒนาฉากวอร์ด E และเชื่อมเข้ากับฉากอื่นในอาร์คัมไปจนถึงฉากเกาะอาร์คัมด้วย
  • ฉากหลายระดับของอาร์คัมต้องใช้โครงสร้างที่เป็นเหล็กซ่อนไว้ในฉาก เพื่อความปลอดภัยของฉาก 2 ชั้น ทีมงาน นักแสดง และอุปกรณ์อื่นๆ 

       ห้องขังอาร์เธอร์ (# 43):

  • ห้องขังมีขนาดราว 7 ฟีต x 8 ฟีต
  • ทีมออกแบบโฟกัสที่รายละเอียดของห้อง มีการใช้วัสดุที่คัดเลือกอย่างเหมาะสมสำหรับฐานหน้าต่าง ผนังมีรอยขีดข่วนและดูเก่า มีการทาสีเพื่อทำให้ดูเหมือนอาร์เธอร์ไม่ใช่คนแรกที่เข้ามาอยู่… และไม่น่าจะเป็นคนสุดท้ายด้วย
  • ห้องขังหมายเลข 43 คืออีสเตอร์เอ้กสำหรับแฟนการ์ตูน ตัวละครของโจ๊กเกอร์ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน Batman เล่มที่ #43

ห้องควบคุม:

  • สร้างขึ้นบนล้อเพื่อให้กล้องเข้าถึงมุมต่างๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด
  • ผลิตขึ้นด้วยกระจกที่อยู่บน “วงแหวนแห่งความโดดเดี่ยว” การนั่งอยู่บนแท่นนั้นทำให้กล้องเข้าถึงมุมที่สะท้อนภาพได้อย่างมีคุณภาพ

ห้องน้ำ:

  • ห้องน้ำจะมีทั้งส่วนที่เป็นฝักบัวและอ่างแช่น้ำ
  • ฝักบัวสามารถใช้งานได้จริง แม้จะสร้างความท้าทายให้ฉากที่อยู่ชั้น 2 
  • ฝักบัวทั้งหมดติดตั้งพร้อมกระเบื้องและท่อระบายน้ำบนพื้นเพื่อให้น้ำไหลออกได้
  • อ่างล้างหน้าทั้งหมดมีการติดตั้งท่อและใช้งานได้จริง
  • ทีมงานฝ่ายศิลป์และการออกแบบฉากต้องตกแต่งพื้น 46,000 ตร.ฟุตให้คล้ายปูกระเบื้องทั้งวอร์ด
  • ห้องอาบน้ำถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีพื้นที่สำหรับ “ความส่วนตัวพิเศษในเรือนจำ”
  • ทีมงานฝ่ายศิลป์ได้แรงบันดาลใจจากภาพของอัลคาทราซในการออกแบบระบบท่อ
  • ชักโครกในห้องน้ำทั้งหมดและพวกอ่างน้ำมีการซื้อใหม่และตกแต่งให้ดูเก่าโดยแผนกศิลป์ รวมถึงรายละเอียดของคราบสนิมและอื่นๆ อีกด้วย
  • บริเวณอ่างน้ำถูกตกแต่งให้ดูเก่าจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ต้องอาศัยการร่วมงานจากผู้ชำนาญและผู้ออกแบบฉากในการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ (อ่างน้ำ โครงสร้างระบบท่อ อื่นๆ)
  • ผนังมีการใช้ไม้อัดประกอบปิดปูน กรอบหน้าต่างถูกสร้างให้ดูเหมือนหินชนวน ลูกกรงใช้โลหะและกระจกของจริง

ร้านอาหาร:

  • ขั้นบันไดเป็นเหล็กจริงผสมกับขั้นคอนกรีตปลอมเพื่อขึ้นไปยังพื้นที่ชั้น 3
  • มีการเพิ่มรั้วโซ่บนแพดานขึ้นมาสำหรับการแสดงช่วงเพลง “When the Saints Go Marching In” เผื่อนักแสดงต้องการโหนหรือเหวี่ยงตัว
  • ในฉากต้องใช้กรงนกพิราบขนาดใหญ่ แต่มีไว้สำหรับให้คนเข้าไปอยู่

พื้นที่เรือนจำ:

  • พื้นที่ปรากฏครั้งแรกในนเรื่องคือบริเวณด้านนอก
  • ทางเดินจากวอร์ด E มีความปลอดภัยระดับสูงสุด ซึ่งเป็นที่อยู่ของอาร์เธอร์ จากนั้นจะเป็นวอร์ด F ที่มีความปลอดภัยเพียงน้อยนิด ทำหน้าที่เป็นตัวพาอาร์เธอร์เข้าสู่โลกแห่งความจริงในอีกรูปแบบหนึ่ง
  • การออกแบบพื้นที่สนามมีความเป็นต้นฉบับ เพราะมันต้องรวมหลายสถาปัตยกรรมของพื้นที่ด้านนอกของ NJ และฉากภายในที่มีความปลอดภัยสูงสุดไว้ด้วยกัน
  • กองถ่ายต้องสร้างระบบรอกขึงขนาดใหญ่ที่ครอบครัวฉากพื้นที่สนามได้ทั้งหมดขึ้นมา
  • ทางเดินระหว่างวอร์ดต่างๆ ทำให้เห็นสีสันเป็นครั้งแรกในเรื่อง บอกใบ้ถึงการเปลี่ยนแปลงของอาร์เธอร์และการปลดปล่อยโจ๊กเกอร์ที่อยู่ในตัวของเขา

วอร์ด F:

  • วอร์ด F เป็นการเปิดโลกของสีสันสู่โลกของอาร์คัมสำหรับอาร์เธอร์ มีการเปลี่ยนภาพสู่การพบกับลีและช่วงที่ตกหลุมรัก
  • เราเห็นสีสันครั้งแรกผ่านร่มช่วงที่อาร์เธอร์เดินข้ามพื้นสนามกลางสายฝน
  • วอร์ด F คือจุดที่อาร์เธอร์ได้ยินเสียงดนตรีจากลีและคลาสของเธอทำการร้องเพลง มันปลุกเขาจากภวังค์ เขาได้ยินเสียงดนตรีครั้งแรกจากการร้องเพลงของผู้คุม แจ็คกี้ ซัลลิแวน แต่นั่นไม่ทำให้เขารู้สึกอะไร
  • โทนสีของความรู้สึกที่อยู่ในตัวอาร์เธอร์ ความเป็นโจ๊กเกอร์ที่อยู่ในตัวเขา สะท้อนออกมาผ่าน 4 สีในรายการ “The Murray Franklin Show” ได้แก่ สีน้ำตาลส้ม สีแดง สีฟ้าอ่อน และสีเบจ/ทอง

ห้องดนตรี/ห้องศิลปะ:

  • อาร์เธอร์ได้พบกับลีครั้งแรกที่นี่ จากความรู้สึกสิ้นหวังและไร้สีสันของวอร์ด E กลับเต็มไปด้วยสีสันและชีวิตชีวา
  • เก้าอี้ในห้องดนตรีเป็นของเก่าและสีที่ใช้ในยุค 1980 และสีจากรายการ “The Murray Franklin Show”
  • ในห้องนั้นเป็นห้องสำหรับการทำหลายสิ่ง ปรับเปลี่ยนตามกิจกรรมของวัน เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด หรือกิจกรรมทั่วไป เช่น ภาพยนตร์ช่วงค่ำคืน
  • ทีมออกแบบตกแต่งพื้นที่ด้วยผลงานศิลปะและผลงานสมัยก่อน (ราวปี 1983) พู่กัน เครื่องดนตรี เครื่องเล่นดนตรี โปสเตอร์ ฯลฯ พวกเขาปรึกษานักดนตรีบำบัด เจฟฟรีย์ เฟรดเบิร์ก เพื่อขอคำแนะนำในเชิงเทคนิคด้วย
  • ผลงานศิลปะบนผนังมาจากผู้ที่อยู่ในอาร์คัม ศิลปิน 10 แนวถูกคัดเลือกจากความเรียบง่าย ความไร้เดียงสา สีสันและ/หรือขาดสีสัน ฯลฯ ศิลปินและผลงานบางส่วนจะเกี่ยวข้องกับทีมงาน บางชิ้นของศิลปินพบในหนังสือ The Electric Pencil ผลงานศิลปะโดยศิลปิน เจมส์ ดีดส์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันทั้งชีวิตของเขา
  • แกรนด์เปียโนขนาดเล็กผลิตขึ้นจากไม้ ตกแต่งให้เก่าเพื่อจะไม่ดูเงาเกินไป เปียโนหลายตัวนำมาใช้ในฉากไฟไหม้
  • ในเปียโนเป็นระบบดิจิตอล ทีมงานติดต่อระบบ MIDI เอาไว้ ซึ่งจะเล่นเพลงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ สามารถปรับเปลี่ยนและสำหรับการตัดต่อได้

ห้องโถงสำหรับหลบหนี:

  • มีการตกแต่งโปสเตอร์ไว้ตรงห้องโพง บางส่วนดูเก่าและล้าสมัย ไอเดียนั้นมาจากการที่สถาบันเปิดใช้งานเมื่อยุค 20 และย่อมเกิดการเสื่อมโทรม บางส่วนเป็นผลงานที่ใหม่ขึ้นจากยุค 60 และ 70
  • แค่การมีโปสเตอร์ก็นับว่าต่างจากวอร์ด E มากแล้ว เป็นการสื่อถึงการต่อสู้กับสุขภาพจิตที่นั่น การใส่ใจผู้คนในวอร์ด F คือการสะท้อนความแตกต่างของมนุษย์

ล็อบบี้:

  • พื้นที่บริเวณนี้ถูกตกแต่งเพียงน้อยนิด เพื่อสะท้อนถึงการคอร์รัปชั่นงบประมาณและการบริหาร
  • บริเวณล็อบบี้และสำนักงานลงทะเบียนออกแบบให้ดูเหมือนพื้นที่เก็บข้อมูลบางส่วน
  • ทีมออกแบบใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เป็นอย่างมาก แม้แต่ลักษณะและสีของแฟ้มเอกสารในสำนักงานลงทะเบียน
  • ภาพวาดของเอลิซาเบธ อาร์คัม ที่ตั้งชื่อไว้ในหนังสือการ์ตูนถูกแขวนไว้ในล็อบบี้ รวมถึงภาพขาวดำของสิ่งอำนวยความสะดวกในจินตนาการ

ก็อตแธม ซิตี้

มาร์ค เฟรดเบิร์กและทีมของเขาวางโครงสร้างเมืองก็อตแธมขึ้นมาทั้งหมด ต้องนึกภาพระบบพื้นฐานและวางแผนความต้องการของเมือง เขาและทีมงานสร้างสิ่งก่อสร้างพื้นฐานสำหรับก็อตแธม รวมถึงการวางแผนและพื้นที่ในระบบต่างๆ เช่น ระบบถนน ระบบรถไฟใต้ดิน ถนนหนทางและสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริเวณด้านนอกของสำนักงานศาล: 

  • สำนักงานศาล 60 Centre Street ที่ Lower Manhattan ใช้เป็นสถานที่ด้านนอกที่อาร์เธอร์ใช้ในการสอบสวน
  • การถ่ายทำสำนักงานศาลใช้เวลานานเกินช่วงสุดสัปดาห์ (วันเสาร์และวันอาทิตย์) เนื่องจากอาคารของสหพันธ์ไม่สามารถใช้หรือเข้าไปรบกวนช่วงเปิดทำการวันธรรมดาได้
  • นักแสดงที่อยู่ด้านหลังเกือบ 700 คนถูกจ้างมาเข้าฉากด้านนอกสำนักงานศาล โดยมีการแบ่งตามประเภท:  คนเดินขบวน/แอนตี้โจ๊กเกอร์ คนเดินขบวน/สนับสนุนโจ๊กเกอร์ ผู้คลั่งโจ๊กเกอร์ ตำรวจ นักข่าว พังค์ร็อคเกอร์ ผู้คลั่งศาสนา ตำรวจดูแลการก่อจลาจล ตัวแทนความตาย
  • คนเดินขบวนบางคนถือป้าย “ปล่อยโจ๊กเกอร์!” “สมควรแล้วเมอร์เรย์” “แต่งงานกันนะโจ๊กเกอร์”
  • มีการใช้รถรุ่นเก่าในเรื่อง เช่น รถทหาร รถแท็กซี่ รถบรรทุกหน่วยสวาท รถดาวเทียมข่าว และรถแวนข่าว

บรรยากาศด้านในห้องพิจารณาคดี: 

  • สัญลักษณ์ของข้าราชการก็อตแธม ซิตี้ปรากฏอยู่ด้านในสำนักงานศาล และปรากฏอยู่บนวัสดุอุปกรณ์ทุกชิ้นในสำนักงานศาล ทั้งงานเอกสาร แสตมป์ เครื่องแบบเจ้าพนักงาน ฯลฯ 
  • การออกแบบร่วมกับผู้ออกแบบฉากและผู้ออกแบบแสงไฟ สัญลักษณ์บนผนังของสำนักงานศาลต้องดูโดดเด่นออกมา มีไฟซ่อนอยู่ด้านหลังสำหรับการใช้ในฉากที่มีเสียงดนตรี
  • แผนกศิลป์ต้องสร้างรอยขีดข่วนขึ้นมาบนที่วางแขนของเก้าอี้บางตัว เพื่อทำให้ดูเก่าและสื่อถึงระบบความยุติธรรมของอาชญากรรมในก็อตแธม
  • พื้นที่ห้องทำงานของเจ้าพนักงานถูกสร้างขึ้นและต่อถึงห้องพิจารณาคดี เพื่อถ่ายฉากในเทคเดียวตอนที่อาร์เธอร์/โจ๊กเกอร์เดินออกจากห้องขังจนถึงเวทีขนาดใหญ่ของห้องพิจารณาคดี
  • การถ่ายทำในห้องพิจารณาคดีบางเทคต้องใช้กล้องถึง 6 ตัว
  • ฉากห้องพิจารณาคดีต้องใช้นักแสดงสมทบราว 200 คน
  • ผนังของฉากสามารถเคลื่อนย้ายเข้าออกได้ตามตารางการถ่ายทำและการกำกับฯ ของแต่ละวัน ทีมงานมักจะเริ่มถ่ายทำจากด้านหนึ่งของห้องแล้วไปจบทีอีกด้านหนึ่ง เพื่อเริ่มต้นถ่ายทำวันถัดไปกันตรงนั้น

จิตรกรรมบนผนัง:

  • กระดานแสดงศิลปะสะท้อนถึงเรื่องราวในอดีตของก็อตแธม ตั้งแต่ช่วงเริ่มก่อตั้งและยุคตั้งอาณานิคมจนมาถึงยุคสมัยใหม่
  • เรื่องราวในอดีตสะท้อนผ่านภาพบนหนังที่เกี่ยวข้องกับ DC Comics ผู้ออกแบบฉาก อัล ฮอบส์ ทำการศึกษาข้อมูลร่มกับสมาชิกในทีมและแฟนหนังสือการ์ตูน 
  • ผู้ร่วมงานอย่างยาวนาน มาร์ค เฟรดเบิร์ก และศิลปินฮาเวียร์ อเมริกาส์ ได้สร้างภาพบนผนังขึ้นมาภายใต้การควบคุมของเฟรดเบิร์ก

ถนนหนทางของก็อตแธม / ฉากไล่ล่า:

  • สำหรับฉากไล่ล่าด้วยเท้าต้องใช้สถานที่ขนาด 6 ช่วงตึก บนถนนในเมืองลอสแองเจลิส บนบรอดเวย์  ฉากนี้ต้องใช้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 33 นาย เจ้าหน้าที่ตำรวจ 16 นาย ผู้ช่วยผู้จัดการด้านสถานที่ 5 คน และพื้นที่จอดรถ 8 แห่ง
  • ร้านค้าด้านหน้าและบนถนนถูกตกแต่งให้ดูย้อนยุคและเหมือนก็อตแธม ต้องเคลื่อนย้ายทุกสิ่งที่ดูทันสมัยออกไป นำของเก่าเข้ามาตกแต่งแทน
  • ฉากนี้ต้องใช้การเตรียมตัวเกือบ 7 เดือน ทีมงานด้านสถานที่และกองถ่ายร่วมงานเรียงตามกันพร้อมกับเมืองในลอสแองเจลิส

บันไดของโจ๊กเกอร์:

  • ชื่ออย่างเป็นทางการคือบันไดเช็คสเปียร์ แต่หลังจากความสำเร็จของเรื่อง “Joker” ตอนนี้บันไดถูกเรียกว่าบันไดของโจ๊กเกอร์ไปแล้ว และกลายเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว หลายคนเดินทางมาเพื่อเต้นตามรอยตัวละครที่โด่งดัง
  • อัฒจรรย์แยงกี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากบันไดเพียงไม่กี่บล็อก 2 ใน 3 วันของการถ่ายทำจะเกมที่จัดขึ้นพร้อมกัน (สร้างความเสียใจให้แผนกเสียงมาก)
  • บันไดมีทั้งหมด 144 ขั้น
  • บันไดมีความแคบและยาวมาก พร้อมมีแท่นพักอยู่หลายจุด สำหรับการวางกล้องเอาไว้บนแท่นพักจุดต่างๆ ทีมงานใช้ Bay Crane ยกเทคโนเครนขนาด 6,000 ปอนด์ขึ้นลงแท่นพักแต่ละจุด

ฉากในจินตนาการต่างๆ

พื้นที่บนหลังคาและห้องสวดมนต์:

  • ทั้งพื้นที่บนหลังคาและห้องสวดมนต์ถ่ายทำที่โรงถ่าย 16 ของวอร์เนอร์ บราเดอร์ส โรงถ่ายขนาดใหญ่สุดในอเมริกาเหนือ ซึ่งผ่านเรื่องราวภาพยนตร์คลาสสิคฮอลลีวูดมาแล้วมากมาย
  • ฉากหลังถูกวาดภาพด้วยมือโดยจิตรกรภาพทิวทัศน์ ไม่ค่อยใช้หลักการอะไรนักก ภาพถูกสร้างโดย Trio Entertainment Services ซึ่งเป็นคณะเดียวที่เหลือในวงการ โดยมีเอ็ด สแตรง ศิลปินแห่งตำนานเป็นผู้นำทีม
  • ฉากหลัง 2 จุดมีขนาดสูง 40 ฟีต x ยาว 100 ฟีต (ฉากสวดมนต์) และสูง 40  ฟีต x ยาว 165 ฟีต (พื้นที่ด้านบนหลังคา) และตั้ง้ใจสร้างให้ดูเหมือนจินตนาการมากกว่าเหมือนจริง
  • วัสดุด้านหลังถูกผลิตขึ้นมาให้ส่องแสงสว่างจากด้านหลัง มีการใช้ผ้าฝ้ายและมีน้ำหนักมาก (พื้นที่บนหลังคา ราว 600 ปอนด์ ห้องสวดมนต์ราว 400 ปอนด์) การวาดภาพเริ่มที่สตูดิโอของ Trio ที่นั่นสร้างได้สูงแค่ 25 ฟีต และถูกขนย้ายไปที่โรงถ่าย WB เมื่อมีการแขวนเรียบร้อย ต้องใช้สีขนาด 150 แกลลอนสำหรับพื้นที่ด้าบนหลังคา
  • ฉากในจินตนาการต้องอาศัยการร่วมงานและการถ่ายทำที่แม่นยำ มีการเต้นไปพร้อมกับจังหวะที่กล้องเคลื่อนที่ แสงไฟ เสียงดนตรี และการเต้นเกิดขึ้นพร้อมกัน
  • ตัวละครของแกรี่ พัดเดลส์ รับบทโดยเลห์ กิล ตั้งใจให้ปรากฏตัวในฉากห้องสวดมนต์ แต่หลังจากฉากอันน่าทึ่งของเขาในห้องพิจารณาคดี ผู้สร้างภาพยนตร์ตัดสินใจเขียนบทให้เขาเพิ่มในฉากนั้น
  • สัญลักษณ์ของฮาร์ลีย์/โจ๊กเกอร์ถูกสร้างขึ้นและแขวนโดยทีมสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ มีการจัดแสงให้สว่าง หลายแท่นและพื้นหลังมีน้ำหนักมากเกิน 6,000 ปอนด์

เสียงเพลง:

  • เสียงร้องมีการบันทึกสดระหว่างถ่ายทำ ไม่มีการลิปซิงค์เกิดขึ้นเลย
  • เพลงที่บันทึกเสียงไว้ล่วงหน้าทำไว้เพื่อการฝึกซ้อม โดยเสียงร้องทั้งหมดจะบันทึกสดพร้อมกับเปียโนและเสียงนักแสดงที่สวมหูฟังเอาไว้ พวกเขาจะได้ยินเสียงเปียโนเล่นสดๆ ไปพร้อมกับนักดนตรีและผู้กำกับฯ ทอดด์ ฟิลลิปส์ มีการมิกซ์เสียงเพิ่มทีหลังในช่วงการถ่ายทำเสร็จสิ้น
  • การบันทึกเสียงสดตามการตัดสินใจของฝ่ายครีเอทีฟต้องเกิดขึ้นตามแต่ละวัน ตามจังหวะ โทน และการเปลี่ยนแปลงตามทิศทางในแต่ละนาทีที่เกิดขึ้น
  • พื้นที่ตั้งเปียโน (โดยผู้มิกซ์เสียง สตีฟ มอร์โรว์ พร้อมกับมอนิเตอร์สำหรับดูการถ่ายทำเพื่อดูจังหวะและสัญญาณต่างๆ):
  • ห้องขัง
  • ใต้แพลทฟอร์มของวอร์ด E
  • มุมมืดของเวที
  • พื้นที่ปกคลุมด้วยหญ้าข้างบันไดสำนักงานศาลบน Centre Street ที่แมนฮัตตันช่วงล่าง
  • เตนท์ร้อนด้านนอกของ Essex House Facility ที่ใช้เป็นสถานบำบัดอาร์คัม
  • นักเปียโนทั้ง 2 คนชื่ออเล็กซ์: อเล็กซ์ จูลส์ เล่นดนตรีให้กับวาคีน ฟีนิซ์ และอเล็กซ์ สมิธ เล่นดนตรีให้กับเลดี้ กาก้า โดยอเล็กซ์ สมิธได้รับการคัดเลือกให้รับบทเป็นผู้ถูกกักตัวที่เล่นดนตรีในคลาสดนตรีบำบัดด้วย

เสียงดนตรี

  • มีการใช้หูฟังระหว่างการถ่ายทำ บางครั้งมีการใช้มากถึง 30 ชุดระหว่างการถ่ายทำฉากหนึ่ง
  • เพลงประกอบภาพยนตร์จากภาคแรกจะผ่านหูฟังของนักแสดงในช่วงเวลาสำคัญ เพื่อส่งอารมณ์ รายละเอียด และความซับซ้อนทางความรู้สึก
  • ผู้มิกซ์เสียงในกองถ่าย สตีฟ มอร์โรว์ และทีมมิกซ์เสียงบันทึกเสียงตามสภาพแวดล้อมของทุกห้องที่มีการแสดงดนตรีสด เพื่อสร้างรายละเอียดที่สมบูรณ์ให้ผลงานการมิกซ์เสียงสุดท้าย เมื่อมีการใส่เพลงฉบับเต็มเข้าไปในผลงานหลังถ่ายทำ
  • ในสถานบำบัดอาร์คัม ผู้กักกันหลายคนต้องสวมหูฟังเพื่อให้ได้ยินเสียงแทรกที่อยู่หลังการร้องของวาคีน ฟีนิกซ์ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจโทนและความเข้มข้นในฉากต่างๆ รวมถึงการบอกใบ้ต่างๆ ที่ต้องการ
  • สำหรับบางเทค ทีมงานฝ่ายเสียงมีการปล่อยเสียงเพลงเข้าไปในห้องให้ทุกคนได้ยินสียงเพลง เปิดเพลงจนกระทั่งถึงจุดที่เป็นเสียงร้องเพลง จากนั้นพวกเขาจะบันทึกแต่เสียงร้องที่ไม่มีอะไรรบกวน
  • สตีฟ มอร์โรว์จัดระบบที่มีความซับซ้อนขึ้นมา ผู้คนสามารถสื่อสารและพูดคุยกับผู้ชำนาญกันได้โดยผ่านหูฟัง รวมถึงทอดด์ ฟิลลิปส์ นักเล่นเปียโน ผู้ควบคุมเสียงและดนตรี วาคีน ฟีนิกซ์และเลดี้ กาก้า และพวกเขาจะตอบกันผ่านไมค์ส่วนตัว

เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

  • ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย อาเรียน ฟิลลิปส์ ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ออกแบบฉาก มาร์ค เฟรดเบิร์ก เพื่อสะท้อนสีสัน โทนต่างๆ และรายละเอียดที่พบได้ตามบรรยากาศต่างๆres found in the environments.
  • ผู้คนมากกว่า 2,000 คนถูกจับแต่งตัวในหนัง
  • ชุดของโจ๊กเกอร์จากภาคแรกถูกดัดแปลงให้เหมาะสำหรับฉากในจินตนาการ
  • แผนกเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายมีขนาดใหญ่มาก ทีมงานมากกว่า 36 คนขยายจากแอลเอสู่นิวยอร์ค

กล้อง/แสงไฟ

  • นี่เป็นหนังเรื่องที่ 7 ในรอบ 16 ปีของผู้กำกับภาพ ลอว์เรนซ์ เชอร์ และผู้กำกับฯ ทอดด์ ฟิลลิปส์เริ่มจากการร่วมงานกันครั้งแรกในเรื่อง “Hangover” และเป็นการร่วมงานที่ยาวนานที่สุดของฟิลลิปส์
  • กล้องหลักที่ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์คือ Arri Alexa 65s กล้องดิจิตอลขนาดใหญ่สุดในโลก และมีการใช้ได้กับเลนส์อีกหลายแบบจากผู้ผลิต รวมถึงกล้อง Arri Mini LF, Sony Venice 2 และ Red Komodo
  • แผนกกล้องนำทีมโดยผู้กำกับภาพ ลอว์เรนซ์ เชอร์ เริ่มจากการเลือกเลนส์มากกว่า 200 แบบจากหลายผู้ผลิต จนเหลือ 21 และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมใกล้เคียงในเรื่องความอบอุ่น ความคมชัด ฯลฯ เลนส์ต่างๆ มาจาก Nikon, Canon, Leica และ Arri
  • ทีมกล้องใช้งานเลนส์ชุดใหม่จาก  Hasselblad ที่มีชื่อว่า Ottoblads โดยมีริงพิเศษที่ปรับโฟกัสเลนส์จากด้านนอกเข้ามาได้    
  • เลนส์ “ฮีโร่” ที่ใช้ในโจ๊กเกอร์ภาคแรกคือ 58 มม. Nikon T1.3 เลนส์ที่สามารถโฟกัสระยะใกล้ได้ถึง 11 นิ้ว สำหรับการถ่ายฉากใกล้นักแสดงสูงสุด 
  • ส่วนใหญ่ในภาพยนตร์ถ่ายทำด้วย Scorpio 45 ฟุต Technocrane ทำให้กล้องเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นอิสระตามช่วงเวลาจริง 
  • การออกแบบแสงไฟและระบบรอกมีการวางแผนสำหรับการเคลื่อนไหวในมุมกว้าง และการติดตั้งในพื้นที่อีกมากมาย เผื่อการติดตั้งในพื้นที่จำกัดและทุกบรรยากาศที่คาดเอาไว้ ทำให้นักแสดงและผู้สร้างภาพยนตร์สามารถถ่ายทำทิศทางใดก็ได้ในฉาก โดยไม่จำเป็นต้องใช้เวลาติดตั้งยาวนานในการถ่ายทำภาพยนตร์ 
  • ในการถ่ายทำพร้อมการจัดแสงไฟแบบยุค 70 และ 80 ส่วนใหญ่ภาพยนตร์ใช้ไฟ LED ในเรื่อง แทบจะฝังลงไปในฉากเลย ทำให้เชอร์และหัวหน้าผู้ชำนาญด้านแสงไฟ ราฟาเอล แซนเชซ สามารถปรับเปลี่ยนสีและสร้างความอบอุ่นให้บรรยากาศในฉากได้
  • การพิจารณาคดีของอาร์เธอร์มีการถ่ายทำและออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ของก็อตแธม ในห้องพิจารณาคดีมีกล้องถ่ายทอดสดทางทีวีหลายรุ่นแขวนไว้ด้านในอุปกรณ์ที่ทันสมัย

รายละเอียดเพิ่มเติมของความสนุกสนาน

 

  • ตากล้อง จูลิโอ มาแคท สร้างความโดดเด่นเด่นให้ผู้ควบคุมกล้อง แพดดี้ เมเยอร์ส ที่อยู่ด้านหลังฉาก
  • ตากล้อง โรเบิร์ต บริงค์แมน ก็เป็นผู้สร้างความโดดเด่นในเรื่อง
  • ผู้มิกซ์เสียงในเรื่อง สตีฟ มอร์โรว์ เล่นเพลงที่มิกซ์ในฉากทีมสัมภาษณ์แพดดี้ เมเยอร์ส 
  • วาคีน ฟีนิกซ์มักจะขับรถจากที่พัก/ฉากไปที่สนามกอล์ฟ โดยต้องผ่านรถรางทัวร์ของ Warner Bros. Studios บ่อยๆ โดยผู้เยี่ยมชมไม่มีใครรู้เลยว่านั่นคือเขา 
  • ตัวละครที่รับบทโดยเลห์ กิลล์ มีชื่อแกรี่ในภาคแรก เขามีนามสกุลพัดเดิลส์ในเรื่องนี้
  • คลับแสดงคอมเมดี้ของ Pogo จากภาคแรกมาปรากฏให้เห็นในภาคนี้ด้วย