สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย (PRTHAILAND : Thailand Public Relations Association) สมาชิกเครือข่ายองค์กรประชาสัมพันธ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( APRN : ASEAN Public Relations Network) ร่วมกับ เครือข่ายสมาพันธ์ระดับโลกเพื่อการประชาสัมพันธ์และการจัดการการสื่อสาร ( GA : The Global Alliance for Public Relations and Communication Management) ร่วมชี้แจง 12 ข้อแนะนำของการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส Coronavirus COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันทางสังคม เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ของมวลมนุษย์ชาติที่อยู่ร่วมกัน
ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ได้กล่าวว่า “จากการแพร่ระบาดของ ไวรัส Coronavirus COVID-19 ที่ระบาดหนักอยู่ทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นภาวะวิกฤตที่ส่งผลความเสียหาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม แก่ประชากรโลกและประเทศไทย เป็นอันมาก การประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร ถือเป็นทั้งเครื่องมือ และช่องทางที่สำคัญในภาวะวิกฤตที่ต้องอาศัยความเข้าใจในการกำหนดกลยุทธ์ทางการแก้ไขและการสื่อสารที่รอบคอบ โดยเฉพาะกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด และความสามารถในการแก้ไขที่เฉียบคม ตรงจุด และสื่อความได้ชัดเจน เกิดประโยชน์ต่อผู้รับสารที่เกี่ยวข้อง สังคม จากการจัดการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย จึงได้ร่วมกับเครือข่ายสมาพันธ์ระดับโลกเพื่อการประชาสัมพันธ์และการจัดการการสื่อสาร (GA: The Global Alliance for Public Relations and Communication Management) ซึ่งตั้งอยู่ที่ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อจัดทำข้อแนะนำ ในประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส Coronavirus COVID-19 อย่างมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ที่น่าสนใจ ดังนี้
- คำนึงถึงผลกระทบจากการสื่อสารเสมอ: ก่อนทำการสื่อสารทุกครั้ง ควรคิดถึงผลกระทบของข้อความนั้นที่จะเกิดขึ้นต่อองค์กร และภาพรวมทุกครั้ง อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ
- ต้องสื่อสารข้อมูลที่เป็นความจริง: อย่าปกปิดข้อมูล หรือบิดเบือนข่าวสารที่ส่ง ต้องสื่อสารเนื้อหาบนพื้นฐานของข้อมูลจริง
- ใช้ภาษาในการสื่อสารที่ชัดเจน เข้าใจง่าย: ใช้ภาษาในการสื่อสารที่ชัดเจน กระชับ เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวสถานการณ์
- สื่อสารอย่างมีจิตวิญญาณ ด้วยความเข้าใจ และความปรารถนาดี: การสื่อสารบนพื้นฐานของเจตนารมย์ มีจิตวิญญาณ ด้วยความเข้าใจ และความปรารถนาดีต่อสังคม
- นำเสนอตัวอย่าง และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน: สำหรับชุดข้อมูลที่มีความซับซ้อน จำเป็นที่ต้องให้รายละเอียด มีการนำเสนอที่ชัดเจน สามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพ และแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
- คำนึงถึง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้รับสารในขณะที่เกิดวิกฤต: ในภาวะวิกฤต อาจมีผู้ได้รับผลกระทบในหลายรูปแบบ จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้รับสารต่อสถานการณ์ในขณะนั้น เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
- นำเสนอข้อมูลข่าวสาร จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้: นำเสนอข้อมูล ข่าวสารจากแหล่งข้อมูล ที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถอ้างอิง และระบุแหล่งที่มาของข้อมูล ข่าวสาร นั้น
- ไม่นำเสนอ หรือขยายข้อมูล ข่าวสารที่มีเนื้อหาที่บิดเบือน: ไม่นำเสนอ ส่งเสริม ขยายข้อมูล ข่าวสารที่มีเนื้อหาที่บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง หรือไม่สามารถตรวจสอบได้
- ไม่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ข้อความอันเป็นเท็จ ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายต่างๆ: ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารในเครือข่ายออนไลน์ส่งผลต่อการรับรู้ ไม่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ข้อความอันเป็นเท็จ ให้เกิดการนำเสนอ ขยายผลในระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายออนไลน์ และช่องทางต่างๆ
- อย่าเพียงแค่วิพากษ์ วิจารณ์ หรือสื่อสารปรากฏการณ์บนสื่อสาธารณะ แต่ควรให้ความร่วมมือ ในการแก้ไขปัญหา: ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา อย่าเพียงแค่วิพากษ์ วิจารณ์ หรือสื่อสารปรากฏการณ์บนสื่อสาธารณะอย่างไร้ทิศทาง ไม่เป็นระบบ แต่ควรให้ความร่วมมือ นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
- สนับสนุนการทำงานของสื่อ ที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ในห้วงเวลาที่เหมาะสม: การติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด สนับสนุนการทำงานของสื่อในทุกแขนง ที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และนำเสนอในห้วงเวลาที่เหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการรับรู้ และความเข้าใจของสังคม
- การสื่อสาร หรือนำเสนอในรูปแบบที่ผ่อนคลาย อารมณ์ขันที่เหมาะสม ความบันเทิงที่สร้างสรรค์ จะเป็นยาขนานเอกในยามวิกฤต: เป็นธรรมดาว่าวิกฤต ดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดภาวะที่ตึงเครียด การสื่อสาร หรือนำเสนอในรูปแบบที่ผ่อนคลาย อารมณ์ขันที่เหมาะสม ความบันเทิงที่สร้างสรรค์อยู่บนพื้นฐานของความพอดี จะเป็นยาขนานเอกในยามวิกฤต ที่จะทำให้บรรยากาศ สถานการณ์คลี่คลายได้
ทั้งนี้ การประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารในภาวะวิกฤตในช่วงการระบาดไวรัส Covid-19 นั้น มีผลกระทบมากมายหลายด้าน ส่งผลต่อประชากร และสังคมทั่วโลกจึงจำเป็นต้องได้รับการจัดการที่เหมาะสม โดยใช้แนวคิดด้านการจัดการ และการสื่อสาร การสร้างความร่วมมือเพื่อนำมาใช้ในสื่อสาร ทำให้มวลมนุษย์ชาติสามารถอยู่ร่วมกันภายใต้บริบททางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมกลับมาสู่เหตุการณ์ปกติ โดยเร็วที่สุด
These are the 12 points Global Alliance (GA- The Global Alliance for Public Relations and Communication Management) in corporate with PRTHAILAND : Thailand Public Relations Association) and APRN : ASEAN Public Relations Network) consider relevant to make a responsible communication about the coronavirus (Covid-19) and its impact on the social coexistence, the economy and, in general, all human relationships.
- Before communicate, think about the impact of your message beyond your organization.
- Do not hide the impact of the pandemia. Be realistic in your communications, based on facts.
- Use straightforward, plain language to minimize dramatizing the situation.
- Include hope in the spirit of the communications.
- Spread good examples and practices.
- Identify and legitimize people’s emotions.
- Give priority to messaging from official sources.
- Avoid sharing fake news. Be critical of sources of information.
- Don’t saturate networks with messages.
- Don’t spend time criticizing public communication. Try to cooperate with them to improve.
- Support the work of the media providing accurate information in the right moment.
- Good humor is an antidote to crisis, as long as it is not frivolous