ในระหว่างที่พวกเราส่วนใหญ่ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” อยู่นี้ ทำให้เราได้มีเวลาหันมาใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนมากขึ้นผ่านพฤติกรรมในชีวิตประจำวันภายในบ้าน มาดูกันว่าเราสามารถเริ่มต้นดูแลสิ่งแวดล้อมได้ง่ายๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้ได้อย่างไรบ้าง

 

1. ลดขยะจากภาชนะ และบรรจุภัณฑ์

 

A person standing in a kitchen preparing food

Description automatically generated

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากิจกรรมยอดฮิตช่วงกักตัวอยู่บ้านในวิกฤตการณ์โควิด-19 คงหนีไม่พ้นฟู้ดเดลิเวอรี ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือขยะจากภาชนะและพัสดุ

หนึ่งออร์เดอร์ของการสั่งอาหารเดลิเวอรี่อาจประกอบไปด้วยภาชนะมากมาย ทั้งกล่องพลาสติกใส่อาหาร ถุงพลาสติก ซองแยกน้ำจิ้ม และช้อน-ส้อมพลาสติก แต่เราสามารถลดการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ได้ด้วยการทำกับข้าวรับประทานเองที่บ้าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยลดจำนวนขยะจากกล่องใส่อาหารเดลิเวอรี่ แถมยังเป็นกิจกรรมในการสร้างช่วงเวลาดีๆ ร่วมกันภายในครอบครัวให้ผ่อนคลายในช่วงกักตัวอยู่บ้านอีกด้วย หรือหากเพื่อนๆ มีความจำเป็นต้องสั่งอาหารก็สามารถสั่งครั้งเดียวแต่สามารถรับประทานได้หลายมื้อ หรือปฏิเสธการรับช้อน-ส้อมพลาสติกจากร้านค้าได้

2. แยกประเภทของขยะ

การคัดแยกขยะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ขยะไม่ปนกัน และง่ายต่อการนำไปจัดการอย่างถูกต้องและรีไซเคิล นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระให้กับพนักงานเก็บขยะที่นอกจากจะไม่ได้หยุดกักตัวอยู่บ้านเฉกเช่นคนทั่วไป ซึ่งการปฏิบัติงานอาจทำให้เจ้าหน้าที่เก็บขยะมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อจากการจัดการขยะในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 อีกด้วย

เพื่อนๆ สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการแยกขยะออกเป็น ประเภท ได้แก่ 1) ขยะเปียก เช่น เศษอาหาร 2) ขยะย่อยสลายไม่ได้ เช่น กล่องโฟม และถุงพลาสติกปนเปื้อนอาหาร 3) ขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ ขวดแก้ว และขวดพลาสติก และ 4) ขยะมีพิษ เช่น หน้ากากอนามัยที่ผ่านการใช้แล้ว และถ่านไฟฉาย เป็นต้น

3. Work from Home ลดมลพิษทางอากาศ

ในช่วงการระบาดของโควิด-19 หลายบริษัทให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่กำหนดเอง อีกทั้งยังส่งผลให้มลพิษทางอากาศที่สำคัญบางตัว อาทิ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้คุณภาพของอากาศดีขึ้นชัดเจน

4. ลดการใช้พลังงาน

การปิดและถอดสวิทช์เราเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน ตลอดจนการไม่เปิดตู้เย็นบ่อยเกินไป รวมถึงการตั้งอุณหูมิแอร์ให้อยู่ที่ 25-27 องศา ก็สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านลงได้

อีกวิธีหนึ่งคือการใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ระบายเหงื่อ และไม่ยับง่ายหลังซักก็จะช่วยให้เราอยู่บ้านได้อย่างสบายและไม่ต้องรีดผ้ามากนัก แถมยังช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

5. ใช้น้ำอย่างรู้ค่า

ภัยแล้งก็เป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องของเมืองไทยในขณะนี้ เราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำได้ง่ายๆ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันเล็กๆ น้อยๆ เพียงท่องว่า “ฝักบัวดีกว่า ภาชนะดีกว่า ปิดดีกว่า” ทุกครั้งที่เราใช้น้ำ ฝักบัวดีกว่า หมายถึง การอาบน้ำและรดน้ำต้นไม้ด้วยฝักบัวประหยัดน้ำกว่าการอาบน้ำในอ่างหรือตักอาบ หรือการรดน้ำต้นไม้ด้วยสายยาง ส่วน ภาชนะดีกว่า หมายถึงเราควรรองน้ำใส่ภาชนะเมื่อแปรงฟัน และล้างจานแทนการเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ และสุดท้าย ปิดดีกว่า คือปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งที่ไม่ใช้งาน

ด้วย วิธีง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็ทำให้การอยู่บ้านทั้งวันของเรานอกจากจะช่วยชาติให้พ้นภัยโควิด-19 แล้ว ยังเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี การทำงานไม่สะดุด รวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อมอันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนับเป็นวาระระดับนานาชาติที่องค์กรต่างๆให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ DJSI ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) ที่นำเรื่องนี้มาประเมินผลควบคู่กับเรื่องประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทชั้นนำระดับโลก ซึ่ง S&P Dow Jones Indices และ RobecoSAM ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น โดยเชิญบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ทั่วโลกกว่า 3,400 แห่งใน 60 อุตสาหกรรมเข้าร่วมการประเมินผล ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ประกอบการหลายรายที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจตามแนวทางแห่งความยั่งยืน แต่สำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมของไทยมีเพียงรายเดียว คือ กลุ่มทรู ที่ติดอันดับกลุ่มดัชนีความความยั่งยืนระดับโลก ปีซ้อน และเป็นอันดับหนึ่งในหมวดธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 2 อันสะท้อนความมุ่งมั่นในการร่วมคืนสมดุลกับโลกที่ยั่งยืนไปด้วยกัน

#######

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ