คุณอาจจะจำเขาได้จากแบบเรียนเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าสลับ หรือเป็นคู่ปรับตลอดกาลของ ทอมัส อัลวา เอดิสัน แต่เราอาจไม่เคยรู้เลยว่า โทรศัพท์มือถือที่เราใช้ อินเทอร์เน็ตที่เราเล่น หรือแม้แต่แก็ดเจทต่างๆที่เรามี สิ่งเหล่านี้มีจุดเริ่มต้นจากนิโคลัส เทสลา นั่นเอง “TESLA เทสลา คนล่าอนาคต ภาพยนตร์สุดล้ำที่กำลังจ่อคิวเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในอีกไม่กี่อึดใจนี้ กับการถ่ายทอดเรื่องราวของ นิโคลา เทสลา อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ผู้สร้างนวัตกรรมสุดล้ำที่ถือเป็นต้นแบบเทคโนโลยีดิจิทัลแห่งศตวรรษที่ 21

นิโคลา เทสลา คือนักประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์  ผู้คิดค้นและค้นพบสิ่งใหม่ต่างๆ มากมาย อาทิ นวัตกรรมของระบบไฟฟ้ากระแสสลับขดลวดเทสลาที่เป็นวัสดุที่ปัจจุบันยังคงใช้กันในการนำส่งคลื่นวิทยุ และสนามแม่เหล็กหมุน เขาเกิดในหมู่บ้านเล็กๆในชนบทของโครเอเชียและได้เดินทางมายังสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ.1884 นิโคลาได้มีโอกาสร่วมงานในช่วงสั้นๆ กับ ทอมัส เอดิสัน ก่อนที่พวกเขาจะแยกทางกันเขายังได้เคยขายลิขสิทธิ์สิทธิบัตรของตนหลายรายการชิ้นสำคัญหนึ่งในนั้นคือเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ โดยขายให้กับ จอร์จ เวสติงเฮ้าส์

                นิโคลา เทสลา เป็นลูกหนึ่งในห้าคนที่ตัวเขานั้นมีความอยากรู้ในเรื่องการประดิษฐ์ต่างๆ เกี่ยวกับไฟฟ้าอันได้รับความสนใจมาจากแม่ของเขา ทูร์ก้าร์ แมนดัค ที่มักจะประดิษฐ์เครื่องใช้ขนาดเล็กต่างๆเองภายในบ้านขณะที่เลี้ยงดูลูกๆ ของเธอไปด้วย หลังจากศึกษาที่เยอรมนีออสเตรีย และปราก นิโคลาได้ย้ายไปที่บูดาเปสต์ ซึ่งเขาได้ทำงานอยู่ที่สำนักงานโทรศัพท์กลางอยู่เป็นเวลาพักหนึ่ง

                ขณะอยู่ที่บูดาเปสต์ นิโคลา เริ่มต้นมีความคิดที่ต้องการจะประดิษฐ์สิ่งต่างๆ หลังจากที่ฟูมฟักความสนใจด้านการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อยู่หลายปี เมื่ออายุได้ 28 ปี เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปอเมริกา ในปีค.ศ.1884 นิโคลาได้เดินทางมายังสหรัฐอเมริกาด้วยของติดตัวที่มีมาเพียงเล็กน้อย นิโคลาได้มีโอกาสร่วมงานกับทอมัส เอดิสัน ผู้เชื่อมั่นในไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้าระบบนี้ของเขาได้กลายเป็นมาตรฐานหลักที่ใช้กันภายในประเทศอย่างรวดเร็ว

 

                ทอมัสจ้างงานนิโคลาให้มาทำงานในบริษัทของตน ทั้งคู่ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อช่วยพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และระบบไฟฟ้าของทอมัส แต่หลายเดือนถัดมาทั้งคู่กลับต้องแตกหักกันเนื่องด้วยประเด็นทางธุรกิจและหลักความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพราะนิโคลากลับยืนกรานมั่นใจในไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่ตัวเองคิดค้น ในขณะที่ทอมัสก็เชื่อมั่นในไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ของตัวเองเช่นกัน อีกทั้งทอมัสยังเป็นบุคคลที่มีอำนาจเฉพาะตัว  เขามุ่งเน้นการมองภาพรวมไปที่ความสำเร็จด้านการตลาดและการเงิน  ในขณะที่นิโคลากลับไม่ได้สนใจในเรื่องของธุรกิจการค้ามากนัก จนเกิดเป็นที่มาของสงครามกระแสไฟในเวลาต่อมา

                ตลอดชีวิตการทำงาน นิโคลาได้ค้นพบออกแบบและพัฒนาแนวคิดสำหรับสิ่งประดิษฐ์ชิ้นสำคัญเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ดันกลับได้รับการจดสิทธิบัตรโดยนักประดิษฐ์คนอื่นๆ อาทิ เครื่องไดนาโม (เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่คล้ายกับแบตเตอรี่) และมอเตอร์เหนี่ยวนำ เขายังเป็นผู้บุกเบิกค้นพบ เทคโนโลยีเรดาร์,เทคโนโลยีเอกซเรย์รีโมทควบคุม และสนามแม่เหล็กหมุน นิโคลาออกแบบระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งได้กลายเป็นระบบไฟฟ้าที่โดดเด่นของศตวรรษที่ 20 อย่างรวดเร็ว และยังได้กลายเป็นมาตรฐานทั่วโลกนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  

                จากการหมกมุ่นอยู่กับเรื่องพลังงานแบบไร้สาย นิโคลาจึงเริ่มต้นทำงานโครงการที่โดดเด่นที่สุดของเขานั่นคือการสร้างระบบสื่อสารไร้สายแบบระดับโลก ซึ่งจะส่งผ่านหอคอยไฟฟ้าขนาดใหญ่เพื่อแบ่งปันข้อมูลและพลังงานไปทั่วโลกด้วยการระดมทุนจากกลุ่มนักลงทุนแถวหน้า รวมไปถึงบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ของเจ.พี.มอร์แกน ในปีค.ศ. 1901 นิโคลาเริ่มทำงานในโครงการสร้างพลังงานฟรีอย่างจริงจังขึ้นโดยออกแบบและสร้างห้องทดลองพร้อมโรงไฟฟ้าและหอส่งสัญญาณขนาดใหญ่ที่บริเวณลองไอแลนด์ของนิวยอร์ก ซึ่งได้กลายเป็นที่รู้จักกันในนาม หอไฟฟ้าวอร์เดนคลิฟฟ์(Wardenclyffe)

อย่างไรก็ตามได้เริ่มมีการตั้งข้อสงสัยเกิดขึ้นในหมู่บรรดานักลงทุนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในของระบบโครงการนี้ของนิโคลา
 ในขณะที่ทางฝั่งของคู่แข่งอย่างทอมัส เอดิสัน ซึ่งกลับได้สร้างความก้าวหน้าขึ้นอย่างมากด้วยเทคโนโลยีวิทยุของเขาเองจนทำให้เกิดเป็นการประสบเป็นความสำเร็จที่เหนือกว่านิโคลา  เขาจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากล้มเลิกโครงการ เหล่าพนักงานของวอร์เดนคลิฟฟ์ถูกเลิกจ้างในปีค.ศ. 1906 และในปีค.ศ. 1915 พื้นที่บริเวณนั้นก็กลับโดนยึดสังหาริมทรัพย์ สองปีถัดจากนั้นนิโคลากลายเป็นบุคคลล้มละลายทำให้หอคอยนั้นต้องถูกรื้อถอนและขายเป็นเศษเหล็กเพื่อชำระเป็นหนี้สินที่เขาติดค้างไว้

                นิโคลากลายเป็นบุคคลที่มีปัญหาทางความคิดและจิตใจจากการถูกล้มพับโครงงานพลังงานฟรีดังกล่าว ในที่สุดนิโคลาก็ได้มีโอกาสกลับมาทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาหลักแต่ความคิดของเขากลับออกนอกลู่นอกทางมากขึ้นเรื่อยๆจนแทบไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้ เขาไปไกลถึงขั้นเริ่มฟุ้งซ่านจนเอฟบีไอคอยสะกดรอยตามเพื่อดูลาดเลา จากการที่เขาพูดถึงว่าจะสร้าง รังสีมรณะ อันเป็นอาวุธร้ายกาจที่ได้รับความสนใจจากสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนิโคลาเสียชีวิตลงอย่างชวนสงสารและสันโดษ ด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันในวันที่ 7 มกราคม ปีค.ศ. 1943 ในขณะที่อายุได้ 86 ปีภายในมหานครนิวยอร์กอันเป็นเมืองที่เขาอยู่อาศัยมากว่า 60 ปี

 

                                              ถ้าไม่มีเขาก็ไม่มีคำว่าโลกดิจิทัล 
                                                                      “TESLA เทสลา คนล่าอนาคต” 
                                                                       24 กันยายนนี้ ในโรงภาพยนตร์
                                                                SCOOP : TESLA อัจฉริยะผู้มาก่อนกาล 
                                                https://www.youtube.com/watch?v=U5NVetNBNzo

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ