ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ขยายเป็นวงกว้างและมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์กำลังต่อสู้กับวิกฤตินี้ สิ่งที่ประชาชนอย่างเราทำได้ก็คือการดูแลตนเองอย่างเข้มข้น อยู่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เว้นระยะห่างระหว่างกัน ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ  

          เป็นที่รู้กันดีว่าวิธีที่จะควบคุมการระบาดได้ดีที่สุด คือ ต้องทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนให้เร็วที่สุด แต่ระหว่างที่หลายคนยังต้องรอวัคซีนเพื่อเป็นอาวุธสู้สงครามในครั้งนี้ อีกหนึ่งความหวังที่หลายคนให้ความสนใจนั่นก็คือ สมุนไพร ที่จะเข้ามาเป็นทางเลือกในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายจากภายในด้วยวิธีธรรมชาติ เห็นได้จากความนิยมในการรับประทานฟ้าทลายโจร ขิง กระชาย ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ และที่น่าจับตามองมากในตอนนี้ ก็คือ “ตรีผลา” ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ประกอบไปด้วยผลไม้หรือสมุนไพรสามชนิดคือ สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม เป็นตำรับยาที่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์อายุรเวชของอินเดีย

“ตรีผลา” จะเป็นสมุนไพรแห่งความหวังที่จะช่วยต้านโควิด-19 ได้จริงหรือใหม่ มาไขข้อข้องใจจากผู้เชี่ยวชาญที่คลุกคลีอยู่กับการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทยมานาน

“สายันต์ ตันพานิช” รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า ววได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำองค์ความรู้มาต่อยอดในการวิจัยและพัฒนา โดยคัดเลือกสมุนไพรที่น่าสนใจมาสกัดในห้องปฏิบัติการเพื่อให้ได้สารสำคัญ และมีการทดสอบในระดับเซลล์ว่าได้ผลจริงหรือไม่ กระบวนการวิจัยเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์และเกิดธุรกิจในเชิงพาณิชย์ โดยที่ผ่านมา ววมีการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทย ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงพืชเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแมลง กำมะถัน จุลินทรีย์โพรไบโอติค ซึ่งในปัจจุบัน ส่วนใหญ่งานวิจัยสมุนไพรไทยจะเป็นในรูปแบบการวิจัยเพื่อใช้เป็นอาหารเสริม อาทิ ส้มแขก ถั่งเช่า และการวิจัยสมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องสำอาง สมุนไพรที่ใช้ในภาคเกษตร และสมุนไพรที่สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยและยาดม ขณะที่งานด้านวิจัยสมุนไพรไทยเพื่อใช้เป็นยารักษาโรค ไทยเรายังก้าวไปถึงจุดนี้ได้น้อย

 “ศิรินันท์ ทับทิมเทศ” ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (วว.) กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า “ในทางการแพทย์แผนไทยพบว่าตรีผลามีคุณสมบัติบำรุงร่างกาย ปรับสมดุลธาตุทั้ง 4 กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และเมื่อ วว. ได้นำมาทดสอบในห้องปฏิบัติการก็พบว่าตรีผลามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยรักษาแผล ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อรา โดยในงานวิจัยจะมุ่งเน้นไปในทางผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดูแลผิว ผม และช่องปาก

 “ชูชีพ อภิรักษ์” ผู้จัดการส่วนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับการนำสมุนไพรไทยมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมให้กับผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และได้มีการตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมของตนเองที่อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย บริษัทฯ พบว่าตรีผลาอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และอยู่ในตำรับอายุรเวท มีคุณสมบัติต้านแบคทีเรีย จึงได้นำมาวิจัยในห้องทดสอบของบริษัท และต่อมาได้นำมาวิจัยในเชิงลึกร่วมกับ ววโดยทำการทดสอบในระดับเนื้อเยื่อผิวหนังจำลอง มิติ (3D Skinจนได้สารสกัดที่สามารถต้านแบคทีเรียได้ภายใน นาที จึงนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ SALZ ได้แก่ ยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปาก ซึ่งคุณสมบัติที่พิเศษนี้ทำให้ SALZ ได้รับรางวัล Gold Prize จาก Seoul International Invention Fair 2018 หรืองานประกวดและจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ในหมวดของเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้  

ในส่วนของตรีผลานั้น ไลอ้อนได้นำวัตถุดิบมาจากชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี และนครพนม เนื่องจากมีผลผลิตที่เหมาะสมในการนำมาสกัดเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ เป็นการช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนอีกทางหนึ่ง 

แม้ว่าปัจจุบัน งานวิจัยเรื่อง “ตรีผลา” จะยังอยู่ในระดับของการพัฒนาออกมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ดังกล่าวมาข้างต้น แต่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสกัดเป็นสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อใช้ต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ยังคงต้องศึกษากันต่อไป เราจะไปสู่จุดนั้นได้หรือไม่นั้น คงต้องฝากความหวังไว้ที่นักวิจัยที่ต้องทำหน้าที่นี้อย่างเข้มข้นต่อไป