ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการเติบโตทางเทคโนโลยีในแง่มุมต่างๆ นั้นเกินกว่าคำว่า รวดเร็ว” เป็นอย่างมาก อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเชิงพาณิชย์ และการเข้าแข่งขันของผู้เล่นในตลาด ล้วนทำให้เทคโนโลยีเข้าสู่ชีวิตประจำวันของคนทั่วไปได้ง่ายขึ้น ว่องไวขึ้น ในราคาที่เอื้อมถึงได้ง่ายขึ้น สิ่งที่เราเคยเห็นแต่ในภาพยนตร์ไซไฟ เช่น AI เทคโนโลยีโลกเสมือน (AR และ VR)จึงกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่ในโลกที่กำลังวิ่งเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงนี้ ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และภาครัฐต่างๆ จะต้องเตรียมรับมืออย่างไร จึงจะ โตเกินไว ทันเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดนี้

และนี่คือทรรศนะส่วนหนึ่งจาก ผู้นำทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ภายในงานแถลงข่าวเปิดตัวงาน “SingularityU Thailand Summit 2018” ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับการสัมมนาที่รวมกลุ่มผู้นำความคิดและนวัตกรรมระดับโลก โดยในงานเปิดตัว ได้มีผู้บริหารระดับแถวหน้าในแวดวงธุรกิจของไทย จาก อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, ธนาคารไทยพาณิชย์, ดีลอยท์ (Deloitte) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ให้เกียรติเข้าร่วมงาน และเสวนาเกี่ยวกับการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Exponential Growth) และการปรับตัวของภาคส่วนต่างๆ

1.      เทคโนโลยีไม่มีเจ้าของ (Technology serves all humans)

Mr. Chanond Ruangkrityaจุดประสงค์ของเทคโนโลยีคือการเกิดมาไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใด แต่เพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์ทุกคน

นาย ชานนท์ เรืองกฤตยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) กล่าว การพัฒนาและการเข้าถึงของเทคโนโลยี หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอุปสงค์-อุปทานที่เปลี่ยนไป และความต้องการที่เปลี่ยนไปนี้เอง ที่ทำให้ธุรกิจต่างๆ ไม่อาจอยู่นิ่งตามโมเดลเดิมของตนเองได้อีกต่อไปแล้ว สำหรับจุดแข็งของภูมิภาคเรา อาจไม่ใช่เทคโนโลยีที่พัฒนาด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่สุด แต่เป็นการปรับใช้สิ่งที่มีให้กลายเป็นโซลูชั่นที่แก้ปัญหาตามนัยยะของแต่ละพื้นที่และวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และสามารถขยายผลไปสูการพัฒนาในตลาดนานาชาติไ

2.      แปลงร่าง สร้างผลงาน (Perform and transform)

Mr. Orapong Thien-Ngernจะตามเทคโนโลยีให้ทัน ภาคธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงตนเองไปพร้อมๆ กันกับการสร้างผลงานให้ได้

สำหรับอุตสาหกรรมที่กำลังก้าวสู่ยุคใหม่อย่างธนาคาร นายอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ บริษัทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงการปรับตัวขององค์กรในก้าวสำคัญของวงการ คุณไม่สามารถทำงานแบบเดิมได้อีกแล้ว ความคล่องตัว (Agility) ความเข้าใจและความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) และความรู้เรื่องระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem)เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้คุณอยู่ได้ เพราะไม่ว่าคุณจะเคยแข็งแกร่งแค่ไหน หากปรับตัว

3.      จับมือไว้ โตไปด้วยกัน (Kayaking through hyper-connected world)

Dr. Janson Yapเหมือนคุณจ้ำเรือคายัคในกระแสน้ำเชี่ยว ถ้าคุณไม่ระวัง เรือคุณก็จะคว่ำ

ดร. แจนสัน แยป ประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงระดับโลก และประธานฝ่าย Innovation Practice จาก ดีลอยท์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงการอยู่รอดของภาคธุรกิจท่ามกลางการแข่งขัน นอกเหนือจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สิ่งที่จะมีผลกระทบอย่างมากกับโลกแห่งการเชื่อมต่อของทุกสิ่งตลอดเวลา(Hyper-connected world) คือ ความร่วมมือกันในระบบนิเวศของแวดวงต่างๆ(Integration and ecosystem partnership) ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำคัญและเป็นสิ่งที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกธุรกิจกับเทคโนโลยีไปพร้อมๆ กัน

4.      กระแสและโอกาส” (Trend and opportunities)

Dr. Nuttapon Nimmanphatcharin  สำหรับภาครัฐ ความพยายามในการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องของ กระแสและ โอกาส ยังคงเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ ของเรา

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวเกี่ยวกับนโยบาย ประเทศไทย 4.0” และความท้าทายที่ภาครัฐกำลังเผชิญ ทางรัฐเองกำลังมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียม และเร่งสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโอกาสในการพัฒนาความเป็นอยู่ด้วยการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกลไกสำคัญในการทำให้ประเทศไทย 4.0 เป็นจริง

5.       “รับ ปรับ ขยับตัว (Adopt, Adapt, Ahead)

การเรียนรู้และปรับตัวเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เรายืนอยู่เหนือความเปลี่ยนแปลงได้ แต่เรากลับมีเวลาน้อยลงทุกทีในการทำเช่นนั้น

ดร.จอห์น เลสลี่ มิลลาร์ จาก บริษัท เอกซ์โพเนนเชียล วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กล่าว เมื่อพูดถึงแนวโน้มการเติบโตที่ต้องทำไปควบคู่กันระหว่างธุรกิจและเทคโนโลยี

สิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นเพียง ใน 10 ของสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ และเราไม่มีเวลามากเท่าที่เราเคยคิดอีกต่อไปแล้ว

6.      โตเกินไว โตแบบเลขยกกำลัง (Not a linear growth, exponential growth)

Mr. Nattaphol Vimolchalaoการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Exponential Growth) คือการที่เราต้องหยุดคิดถึงการเติบโตแบบเส้นตรง แต่คิดแบบเลขยกกำลัง ที่กระโดดขึ้นเป็นเท่าตัวตามเลขชี้กำลัง

นายณัฐพล วิมลเฉลา SingularityU (SU) Bangkok Chapter อธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างของการเติบโตที่รวดเร็วแบบปกติ และการเติบโตแบบก้าวกระโดด ที่เราเห็นว่าการเติบโตในช่วงหลังพลิกแบบหน้ามือเป็นหลังมือนั้น ไม่ใช่เพราะเทคโนโลยีเพิ่งได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในระยะหลัง แต่เป็นเพราะเราได้ผ่านช่วงยุคเริ่มต้นของดิจิทัล(Digitalization) มาแล้ว ทำให้ตลาดและผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินกับพฤติกรรมใหม่ และมีความต้องการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคนวัตกรรมสามารถส่งเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น ตรงความต้องการมากขึ้น การเติบโตต่อจากนี้จึงไม่ใช่เพียงการเติบโตที่รวดเร็ว แต่เป็นการเติบโตที่กระโดดข้ามความเป็นเท่าตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ

งานสัมมนา “SingularityU Thailand Summit 2018” จะจัดขึ้นในวันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรม InterContinental Bangkok กรุงเทพฯสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานสัมมนาและการจำหน่ายบัตรเข้าร่วมงานสัมมนาได้ที่เว็บไซต์ของ SingularityU Thailand Summit 2018http://www.singularityuthailandsummit.org/  หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ผ่านทางเฟซบุ๊คได้ที่https://www.facebook.com/SingularityUThailandSummit/

##########

 

 

เกี่ยวกับ SINGULARITYU SUMMITS

SingularityU Summits คืองานสัมมนาระยะเวลาสองวัน ที่จัดขึ้นทั่วโลกประจำทุกปีเพื่อช่วยให้ผู้นำท้องถิ่นเข้าใจว่าเทคโนโลยีที่มีผลกระทบอย่างก้าวกระโดดนั้นสามารถนำมาใช้เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคได้อย่างไร งานสัมมนาดังกล่าวได้กลายเป็นจุดศูนย์รวมและแรงบันดาลใจสำหรับชุมชนท้องถิ่น เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในวัฒนธรรมท้องถิ่นของนวัตกรรม และยังเป็นโอกาสในการเน้นย้ำความสำคัญของความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เหล่าธุรกิจสตาร์ทอัพ และไอเดียต่างๆ SingularityU Summits มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาอย่างหลากหลาย ทั้งประชาชนทั่วไป ข้าราชการ ผู้ประกอบการ นักลงทุน องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการศึกษา รวมถึงนักศึกษาด้านภาครัฐและเยาวชน http://singularityuglobal.org/

เกี่ยวกับ SINGULARITY UNIVERSITY

Singularity University (“SU”) คือชุมชนการเรียนรู้ทางด้านนวัตกรรมระดับโลกซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีผลกระทบอย่างก้าวกระโดด เพื่อรับมือกับปัญหาและความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก และเพื่อสร้างอนาคตอันอุดมสมบูรณ์สำหรับมนุษย์ทุกคน แผนการการทำงานร่วมกันของเราส่งเสริมให้บุคคลและองค์กรต่างๆ เกิดการเรียนรู้ เข้าถึงและสร้างสรรค์โซลูชั่นอันล้ำหน้าด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หุ่นยนต์และชีววิทยาดิจิทัล (Digital Biology) โดยเราครอบคลุมทั้งโปรแกรมการศึกษาต่างๆ การสัมมนา เวิร์คช็อปเชิงนวัตกรรม โปรแกรมเพื่อผลักดันผู้นำองค์กรและธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ โครงการเพื่อผลประโยชน์ทางสังคม รวมถึงแหล่งข่าวสารและข้อมูลออนไลน์ชุมชนของเราครอบคลุมกว่า 110 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการ บริษัท องค์กรพัฒนาต่างๆ รัฐบาล นักลงทุน และสถาบันการศึกษา ร่วมด้วยโครงการริเริ่มที่สามารถส่งผลกระทบมากกว่า 370 โครงการ ชุมชน SU ทำหน้าที่ผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างรอบด้าน ทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง การศึกษา พลังงาน อาหาร ความเจริญรุ่งเรือง น้ำ พื้นที่ ภัยพิบัติเมือง แหล่งที่พักอาศัยและการปกครอง SUคือองค์กรที่มุ่งดำเนินการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นในปี พ. ศ. 2551 โดย เรย์ เคิร์ซเวล และ ปีเตอร์ ดิอาแมนทิส พร้อมเป็นพันธมิตรร่วมกับองค์กรชั้นนำต่างๆ เช่น Google, Deloitte, Genentech และ UNICEF โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ NASA Research Park ใน Silicon Valley สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ SU.org เป็นเพื่อนกับเราทาง Facebook และติดตามเราได้ที่ Twitter @SingularityU

เกี่ยวกับ บริษัท เอกซ์โพเนนเชียล วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

SingularityU Thailand Summit 2018 จัดขึ้นโดย บริษัท เอกซ์โพเนนเชียล วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่สังคมไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ คุณภาพชีวิตของมนุษย์ หรือปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในสังคมส่วนรวม โดย บริษัทฯ เน้นให้ความรู้ แชร์ประสบการณ์ จัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อให้เกิดการพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก exponential technology ซึ่งจะมีผลกระทบกับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นต่อภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม สังคม และชุมชน