ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 ทั่วโลก ทวีความรุนแรงมากขึ้น มีการกลายสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายจนถึงต้นปี 2565 คือ สายพันธุ์โอมิครอนที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้อุปกรณ์ป้องกันและตรวจสอบโรคไม่ว่าจะเป็น หน้ากากอนามัย ถุงมือ หรือชุดตรวจ ATK กลายเป็น สิ่งที่อยู่คู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในสองปีที่ผ่านมา ขยะที่มีเหตุอันควรให้สงสัยว่ามีการปนเปื้อนดังกล่าว หรือขยะติดเชื้อมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตและสภาพแวดล้อม หากไม่มีการดำเนินการใดๆ สถานการณ์โรคระบาดดังกล่าวคงไม่หมดไปจากประเทศไทย สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พร้อมด้วยองค์กรเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมจึงได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการฯ โดยมี พลเรือเอก พิเชฐ ตานะเศรษฐ หัวหน้าคณะทำงานกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคเขต16 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี หลังจากการทำงานตั้งแต่กันยายน 2564 โครงการดำเนินงานเพื่อประชาสัมพันธ์ กระตุ้นความตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากการแพร่กระจายเชื้อโรคจากขยะติดเชื้อ และแนะนำฮาวทูทิ้งขยะติดเชื้อที่ถูกต้อง โดยใช้โบแดง เชือกแดงเป็นสัญลักษณ์ให้กับเจ้าหน้าที่จัดการขยะได้รับทราบ
พลเรือเอก พิเชฐ ตานะเศรษฐ ประธานในพิธี กล่าวว่า ภาวะปกติขยะติดเชื้อจะเกิดเฉพาะสถานพยาบาล หรือห้องปฏิบัติการ แต่สถานการณ์ที่ผ่านมาขยะที่มีการปนเปื้อนเชื้อโควิด19 มาจากหลายสถานที่เสี่ยง รวมทั้งจำนวนมากขึ้นจนเป็นปัญหา สิ่งที่ผมเน้นย้ำคือการคัดแยกที่ต้นทางมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการลดภาระการกำจัดขยะติดเชื้อ วันนี้จึงเป็นเรื่องที่ดีที่ 8 องค์กรเครือข่ายและองค์กรสนับสนุนได้ริเริ่มโครงการจัดการขยะติดเชื้อ “ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย” ขึ้น ซึ่งจะเป็นการสื่อสารให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธี ด้วยการแยกขยะติดเชื้อใส่ถุงผูกโบแดงเป็นสัญลักษณ์ ที่จะสื่อให้ผู้พบเห็นระวังและเจ้าหน้าที่นำไปกำจัดให้ถูกต้อง
รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ประธานโครงการฯ กล่าวว่า ความร่วมมือการทำงานกันอย่างต่อเนื่องของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ได้ช่วยกันผลักดัน โครงการทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย ให้เกิดขึ้นในปลายปี 2564 นั้น จนเกิดประสิทธิผล ก่อให้เกิดความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ เกิดเป็นพิธีลงนาม
MOU ในวันนี้ เพื่อร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลง ข้อปฏิบัติ ตระหนักถึงปัญหาการทิ้งขยะติดเชื้อ ก่อให้เกิดเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ประชาชนได้มีแนวทางในการปฏิบัติและเรียนรู้ การทิ้งขยะถูกวิธี เพื่อสังคมที่ดีต่อไป
ดร.ณ ฤดี เคียงศิริ นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจฯ (สธวท กรุงเทพฯ) กล่าวว่า ด้วยความตระหนักถึงผลกระทบและอันตรายจากขยะติดเชื้อทีมีต่อการดำรงชีวิตในสังคม สธวท กรุงเทพฯ องค์กรริเริ่มจัดทำโครงการนำร่อง ในวันนี้เกิดภาพการทำงานร่วมกัน เกิด 100 ชุมชนต้นแบบในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ดิฉันพร้อมเร่งผลักดันโครงการให้เกิดกับสมาคมสมาชิกของสหพันธ์ฯอีก 21 จังหวัด
คุณวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผอ.สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร คุณปรีญาพร สุวรรณเกษ รองอธิบดี กรมควบคุมมลพิษ และคุณนภพรรณ นันทพงษ์ ผอ.สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กล่าวถึงความร่วมมือในโครงการว่า งานสนับสนุนนโยบายวิชาการเพื่อเป้าหมายในการช่วยกันขยายผลบอกต่อ ประชาสัมพันธ์ฮาวทูทิ้งขยะติดเชื้อที่ถูกต้อง จัดการขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นให้ได้รับการกำจัดอย่างถูกสุขาภิบาลทั้งที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ปลอดภัย ไม่เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคซึ่ง หากประชาชนทุกคนได้รับความรู้และช่วยกันไม่ใช่เพียง 100 ชุมชนต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมยิ่ง โครงการนี้จะเป็นหนึ่งแรงผลักดันให้พวกเราช่วยกันลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 และก้าวข้ามผ่านไปด้วยกัน
14 องค์กรเครือข่ายร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการจัดการขยะติดเชื้อ “ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย”
1) สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย 5) คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
กรุงเทพฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มหาวิทยาลัย
2) กรุงเทพมหานคร 6) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3) กรมอนามัย 7) สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย
4) กรมควบคุมมลพิษ 8) สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร
9) 6 องค์กรสนับสนุน ได้แก่ ได้แก่ บมจ.บีจีที คอร์ปอเรชั่น บจก.ซิลเวอร์ ซี เอ็กโซติก เลเธอร์ บจก.วินเนอร์เอสเตท สโมสรโรตารีกรุงเทพไชน่าทาวน์ สโมสรซอนต้ากรุงเทพ10 และ มูลนิธิ เอิร์ธ อะเจนด้า
โดยมีพันธกิจความร่วมมือร่วมกันเพื่อช่วยกันลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีเป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ
………………………