“การมีลูกยากเป็นอะไรที่เจ็บปวดสำหรับผู้มีบุตรยาก…ตราบใดที่เราไม่ได้ยืนอยู่ในตำแหน่งของผู้มีบุตรยากเราจะไม่รู้สึกหรือสัมผัสถึงจุดนั้นๆ ทุกๆเดือนที่เขาเทสแล้วเขาไม่เจอ2ขีด ทุกๆเดือนที่พยายามแล้วไม่ได้ลูกมันทั้งทรมารจิตใจ หมดความหวัง การที่เขาได้สำเร็จ มันไปตอบความรู้สึกที่เขาเคยล้มเหลวมาทุกๆเดือน และทุกๆปี”https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ เพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก ได้บอกเล่าของจุดเริ่มของการเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยากว่า “จริงๆ ไม่ได้คิดว่าตนเองเป็นถึงผู้เชี่ยวชาญ เป็นแค่ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีประสบการณ์ด้านมีบุตรยาก และผ่านกระบวนการรักษาผู้มีบุตรยากตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเทคโนโลยีสูงสุด จนสามารถที่จะจับจุดบางจุดได้ว่ามีเทคนิคบางอย่าง มีการเตรียมตัวอะไรบางอย่าง ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการมีบุตร มันไม่ใช่มีเงินอย่างเดียวที่จะเป็นคำตอบว่าความสำเร็จจะมา คุณอาจจะมีเม็ดเงินเยอะก็จริง แต่ใจเราจะเฟล เมื่อไหร่ที่เฟลทุกอย่างคือจบ มันจะไม่ไปต่อ ครูก้อยเคยเจอเคสคนใส่ตัวอ่อนถึง10 ครั้ง เคยอิ๊กซี่กระตุ้นไข่ถึง 8 ครั้ง มันควรจะทำครั้ง สองครั้งแล้วติด ซึ่งมีเงินแล้วทำ ไม่ใช่ Key To Success แต่ความสำเร็จมาจากความสมบูรณ์ของร่างกาย ครูก้อยเคยผ่านจุดที่เคยที่แท้งลูกร้องไห้แม้กระทั้งในฝัน ความฝันยังเป็นฝันที่ร้องไห้ ซึ่งครูก้อยเชื่อว่าถ้าใครไม่มายืนอยู่ในตำแหน่งของผู้มีบุตรยาก เราไม่มีทางที่จะรับรู้ความรู้สึกนั้น” “ครูก้อย-นัชชา” เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นคือ ความผิดหวัง และความล้มเหลว จากการตั้งครรภ์ลูกคนแรกในวัย 34 ปี ด้วยวิธีแบบธรรมชาติ แต่แท้งไป เพราะเด็กไม่มีหัวใจ ซึ่งตอนนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของเพจเบบี้แอนด์มัมที่ครูก้อยบอกว่าทำไมครูก้อยดราม่าแม้กระทั้งร้องไห้ในฝัน ว่าทำไมลูกเราถึงไม่ไปต่อ ทำไมลูกเราไม่มีหัวใจ ทำไมลูกเราถึงแท้ง ครูก้อยหยุดดราม่าด้วยความสตรอง และองค์ความรู้ ด้วยความเป็นเด็กสายวิทย์ฯ ครูก้อยเป็นนักเรียนทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จบสาขาชีวฟิสิกส์ (Bio-Physics) ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท และเป็นครูสอนฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ 8ปี เมื่อให้โอกาสตัวเองเสียใจแล้ว ได้ใช้การศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ต่างๆ จะเรียกว่าใช้ความล้มเหลวของตัวเองเป็นเคสสตัดดี้ ศึกษาปัญหานั้นให้เข้าใจแบบถ่องแท้ พอเราสืบค้นจริงๆ รู้เลยว่าสาเหตุการแท้งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เมื่อโครโมโซมผิดปกติก็แท้งไปเป็นตามธรรมชาติคัดสรร หลังจากนั้นครูก้อยเริ่มเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ในการรักษาผู้มีบุตรยาก โดยเริ่มจากกระบวนการทำIUI (Intra – Uterine Insemination) หรือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง ซึ่งเป็นกระบวนการเริ่มต้นในการรักษาผู้มีบุตรยาก เพราะที่ผ่านมาครูก้อยมีภาวะ PCOS คือภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ซึ่งทำให้ไข่ไม่ตกตามธรรมชาติจะนับวันไข่ตกไม่ได้ตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น โอกาสที่จะท้องตามธรรมชาติค่อนข้างยาก ซึ่งการทำ IUI คือการฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านการคัดกรองตัวที่แข็งแรงเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง ในวันที่ใช้ฮอร์โมนบังคับให้ไข่ตก โดยตัวอสุจิจะว่ายไปปฏิสนธิกับไข่ที่ท่อนำไข่เอง ตอนนั้นทำ IUI 2 รอบไม่ประสบความสำเร็จ แล้วทำไมมันยังไม่ได้? ครูก้อยก็เลยสืบค้นมากขึ้นไปอีก จึงได้ทราบว่า การที่ไข่ตก แล้วสเปิร์มไปเจอไข่ไม่ได้แปลว่าท้อง มันจะปฏิสนธิได้ต่อเมื่อไข่ใบนั้นสมบูรณ์ หรือ สเปิร์มสมบูรณ์จริง ๆ หรือสเปิร์มมีปัญหาก็เจาะไข่ไม่เข้า เพราะฉะนั้นทำการบ้านในวันไข่ไม่ได้การันตีว่าคุณท้อง สิ่งที่การันตีว่าคุณท้องคือ ไข่คุณมีคุณภาพไหม สเปิร์มคุณมีคุณภาพหรือไม่ หากเกิดการปฏิสนธิตัวอ่อนต้องเคลื่อนมาฝังตัวที่ผนังมดลูก อีกปัญหาคือ มดลูกมีปัญหาไหม บางทีอาจจะปฏิสนธิได้ แต่มีปัญหาเรื่องของการฝังตัวก็เป็นได้ จึงเป็นที่มาให้ครูก้อยสืบค้นทุกๆ จุด ทุกๆ เปอร์เซ็นต์ ที่จะมีผลต่ออัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์
“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจเบบี้แอนดมัม
ครูก้อยจึงตัดสินใจใช้วิธีการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ซี่งครั้งนั้นไม่สำเร็จเพราะด้วยครูก้อยมี ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) และภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะ Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS) จนเกือบเอาชีวิตไม่รอด ซึ่งมีแค่ 1% เท่านั้นที่จะเจอแบบนี้ จึงหยุดฮอร์โมนเพื่อรักษาชีวิต แต่เมื่อผลของการใช้ฮอร์โมนไม่ครบโดส หยุดการให้ฮอร์โมน ทำให้ไข่ที่ได้จากการกระตุ้นครั้งนั้น แม้จะเก็บไข่ได้ 18 ฟอง แต่แท้จริงแล้วมีแค่2ฟองที่ผ่านเข้าสู่กระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนได้แค่เดย์2 และย้ายกลับสู่โพรงมดลูก ตอนนั้นคุณหมอแจ้งแค่ว่า ไข่ที่เหลือเป็นไข่ที่ไม่มีนิวเคลียส ครูก้อยจึงสืบค้น ภาวะไข่ไม่มีนิวเคลียส (Empty Follicle Syndrome) หรือไม่มีไข่แดง ไม่สามารถเอาไปผสมกับอสุจิให้เกิดการปฏิสนธิได้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 1 % ของผู้หญิงที่เข้าทำเด็กหลอดแก้ว เกิดขึ้นได้จาก ที่ร่างกายดูดซึมยาผิดปกติ หรือการได้รับโดสยาผิดปกติ หรือการฉีดยาที่ไม่ตรงเวลา หรือ ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารหรือพลังงานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม หรือไม่มีสารอาหาร ไข่ก็ถูกดันโดยฮอร์โมน ให้ขึ้น 20 ฟอง อาหารที่เรารับประทานปกติในแต่ละวันอาจจะเพียงพอสำหรับไข่ 1 ฟอง ที่ตกตามธรรมชาติ แต่ไข่ที่ถูกกระตุ้นให้ขึ้นพร้อมกัน20ฟอง ในเวลาเดียวกัน แต่เรายังกินอาหารแบบเดิม เท่าเดิม บางทีอาจจะไม่มีโภชนาการอะไรเลย ไม่สามารถที่จะดันไข่ทั้งหมด ให้มีคุณภาพได้ แน่นอนว่าครั้งแรกครูก้อยล้มเหลวอีก พอไม่ติดก็สืบค้นศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากและโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์เพิ่มพอนำความรู้ในปัจจุบันย้อนไปดูตัวอ่อนของเรา 2 ตัว เป็นตัวอ่อนที่ร้ายมาก มีขยะเซลล์ เดย์2 มันยังมีแค่2 ถึง 4 เซลล์เป็นเซลล์ที่ไม่สามารถบอกอะไรได้เลยแต่เรามีแค่นั้น หมอก็ใส่ให้แค่นั้น อันนี้เป็นจุดที่ทำให้ครูก้อยคิดแล้ว ตัดสินใจแบบพลิกเลยว่า เข้าใจแล้วว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยเสริม ช่วยจับ ช่วยเจาะ ช่วยเลือก ตัวเราถ้าไม่มีอะไรไปให้เขาเลือกเขาก็เสกให้ไม่ได้ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ เราต้องบำรุงตัวเราก่อน บำรุงไข่ บำรุงผนังมดลูก ฝ่ายชายบำรุงสเปิร์ม ปรับสมดุลฮอร์โมนตัวเองไปก่อน แล้วไปเสิร์ฟคุณหมอ แล้วใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพราะครูก้อยเชื่อว่าต่อให้เราดันเทคโนโลยีสูงสุด 100% ใช้คุณหมอที่เก่งที่สุดในโลก ถ้าเสิร์ฟไข่ร้ายๆ ไม่มีไข่ในรังไข่ ก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน ตอนนั้นก็เลยรู้เลยว่า บำรุงก็ต้องดี เทคโนโลยีก็ต้องถึงมันต้องคู่กัน นั้นคืออิ๊กซี่ครั้งแรก อิ๊กซี่ครั้งที่2 เป็นครูก้อยเบบี้แอนด์มัมแล้ว ที่มีการสืบค้นศึกษางานวิจัยและบำรุงตัวเองไปพร้อมกันๆ พร้อมกับวัดผลจากการไปอัลตร้าซาวด์ดูฟองไข่ เพราะทุกอย่างวัดผลได้เป็นตัวเลข ฮอร์โมนต้องดีขึ้น ฟองไข่ก็ต้องดีขึ้น เราจะไม่มโนว่าเราบำรุงไปแล้วมันจะดี เราต้องมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาซัพพอร์ต ครั้งนั้นเป็นครั้งที่ประสบความสำเร็จตั้งครรภ์ “น้องเมดา – อันโดรเมดา ลอยชูศักดิ์” และครูก้อยยังยอมเจ็บตัวเย็บปากมดลูกตั้งแต่ตั้งท้องน้องเมดาในเดือนที่4ด้วยภาวะที่คอมดลูกสั้น จึงมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด และยอมผ่าคลอดเพื่อให้น้องเมดานั้นลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัยที่สุด พร้อมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ผ่านทางเพจ จนมีแม่ๆ เข้ามาติดตามจำนวนมาก “หลังจากคลอดน้องเมดาไปแล้วจนเมดาอายุได้ 2 ขวบ ครูก้อยตัดสินใจกระตุ้นไข่ใหม่ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เชื่อไหมว่าการบำรุงของครูก้อยที่เป๊ะมากๆเป็นปีๆ ในวัย 37 ปี กับการกระตุ้นไข่ เมื่อเทียบกับวัย 35 ปี ปรากฏว่าในวัย 37 ปี ครูก้อยได้ไข่ดีกว่า จำนวนมากกว่า มีคุณภาพมากกว่าวัย35ปี จากครั้งนั้นที่ท้องน้องเมดา ครูก้อยได้ตัวอ่อน 4-6 ตัว ปัจจุบันครูก้อยได้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ 10 ตัว จากไข่ 13 ฟอง ปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน 12 ตัว และเลี้ยงไปจนถึงระยะบลาสต์โตซิสต์ 10 ตัว ซึ่งเป็นอะไรที่เกินสถิติมากๆ และทุกวันนี้ยังมีลูกสแปร์ไว้พร้อมที่จะฝังตัวอ่อน เหมือนเป็นเคสสตัดดี้ให้แม่ๆ เห็นว่า ถ้าคุณเตรียมตัวดี โอกาสความสำเร็จมันก็สูง” ครูก้อย กล่าวเสริม “ครูก้อย-นัชชา” กล่าวยอมรับว่าจุดเริ่มของเพจและเว็บไซต์เบบี้แอนด์มัม คือความล้มเหลวของตัวเอง และต้องการจดองค์ความรู้ที่สืบค้นนั้นไว้เป็นบันทึก ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปจึงเลือกจดลงบนโซเชียลมีเดีย บนเฟซบุ๊กด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และด้วยการศึกษาทำความเข้าใจแบบลงลึกทำให้เพจเบบี้แอนด์มัม และการเข้ารับการปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้มีบุตรยาก จึงได้รับการบอกกล่าวแบบปากต่อปาก จนปัจจุบันมีเคสที่เข้ารับคำปรึกษากว่า2หมื่นเคส เมื่อปี2564 ครูก้อย เล่าความในใจ “ถามว่าเป็นภรรยา “เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์” เป็นแม่บ้าน เลี้ยงลูกก็ได้ คือความสุขของคนเราอาจจะไม่ใช่การใช้ชีวิตไปวันๆ และก็มีอาหารดีๆ กิน ไปโรงเรียนอินเตอร์ไปรับลูก ทำเล็บ มันอาจจะไม่ใช่อย่างนั้น แต่ความสุขของครูก้อย คือ เรามีโอกาสได้สร้างอะไรไว้ให้คนอื่นบ้าง กับโลกนี้บ้าง ตามที่ความรู้เราได้เรียนมา ครูก้อยเป็นนักเรียนทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เราเรียนวิทยาศาสตร์มาโดยตรงทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทและเรามีความรู้มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่คิดว่าเพียงพอที่จะสืบค้นสิ่งต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้ง และก็สามารถที่นำมาสรุปและนำสู่คนอื่นๆ ได้ ครูก้อยเชื่อว่าความรู้ที่มี สิ่งที่ได้เรียน ประกอบการกับถ่ายทอดที่ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย มันไม่ควรจะจบแค่ว่า ครูก้อย แต่งงานกับดารา มีเงินใช้และก็มีลูกมันควรจะมีประโยชน์ให้กับคนอื่นมากกว่านั้น และก็ความที่เรามีชีวิตอยู่ทุกวันนี้มันไม่ใช่แค่เงินทองมันคือความภูมิใจ” สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะมีบุตรยาก “ครูก้อย-นัชชา” กล่าวให้กำลังใจว่า ตราบใดที่คุณแม่มีไข่เชื่อเถอะว่าสามารถตั้งครรภ์มีบุตรได้ เพราะเคสที่ครูก้อยเจอและคิดว่ายากที่สุดคือ ภาวะรังไข่เสื่อมสภาพ อาการคล้ายกับคนวัยทอง ไม่มีประจำเดือน ซึ่งมีคนบอกว่าหากอยากตั้งครรภ์ต้องรอไข่บริจาค คุณแม่รายนี้มาหาครูก้อย บอกว่าไม่อยากใช้ไข่บริจาค ทำให้ครูก้อยเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ ทั้งการบำรุง และแนะนำวิธีทางการแพทย์ เมื่อเข้ากระบวนการมีไข่แค่2ใบ แต่ด้วยการดูแลตัวเอง มีความหวัง ยอมรับปัญหา ทำให้คุณแม่ในเคสที่ยากที่สุดประสบความสำเร็จตั้งท้องและมีบุตรให้อุ้มชูได้ ทั้งนี้จากประสบการณ์ที่ครูก้อยให้คำปรึกษากับผู้มีบุตรยากกว่า6 ปี และแบกความคาดหวังของคนที่อยากมีลูกแต่มียาก สิ่งที่ครูก้อยมอบให้กับคนที่มาปรึกษาทุกรายนอกจากองค์ความรู้ ข้อมูล ทางเลือกและวิธีที่ดีที่สุดแล้ว คือ กำลังใจ “เพราะครูก้อย เชื่อว่าเมื่อเราตั้งความหวังไว้ แต่ทำไม่สำเร็จ ย่อมเกิดภาวะผิดหวัง ดังนั้นสิ่งที่ครูก้อยจะให้เป็นอย่างแรก คือ กำลังใจ พร้อมวิเคราะห์สภาพปัญหา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อแก้ไข ให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละครอบครัว ครูก้อยเชื่อว่า หากเรามีความเชื่อว่าโอกาสสำเร็จเกิดขึ้นได้ ครูก้อยพร้อมมอบคำแนะนำ และหนทางไปสู่ความสำเร็จนั้น ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้หญิงทุกคนที่อยากมีสรรพนามเรียกแทนตัวเองว่า แม่ และครูก้อยขอเป็นตัวช่วยให้กับทุกความฝันของการได้เป็นแม่ และอยากมีลูกเป็นแก้วตาดวงใจนั้นให้เป็นจริง” ครูก้อย-นัชชา กล่าวทิ้งท้าย. ติดตามเส้นทางชีวิตในการสู้กลับปัญหามีบุตรยากด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของ “ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” ฉบับเต็มได้ที่ หน้าแรก เอ็มซีน ทูเดย์ “ครูก้อย นัชชา” ภรรยา “เจมส์ เรืองศักดิ์” สู้กลับปัญหามีบุตรยาก ด้วย “องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์” เพียงรู้ทริค! บำรุงให้ดี ดันเทคโนโลยีให้สุดก็ท้องได้