คุณรู้จักหนังสือ ‘As the Future Catches You: How Genomics & Other Forces are Change Your Life, Work, Health & Wealth’
เขียนโดย Juan Enríquez นักวิชาการชาวเม็กซิกัน-อเมริกัน จาก Harvard Business School หรือไม่
คุณ Enríquez เขียนหนังสือเล่มนี้ เมื่อปี 2544 และอธิบายเกี่ยวกับ 3 เทคโนโลยีที่จะพลิกโฉมและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรมของมวลมนุษยชาติ ซึ่งก็คือ จีโนมิกส์ ดิจิทัล และนาโน ถ้าย้อนกลับไปในช่วงต้นทศวรรษ 2000 คุณคงจินตนาการได้ยากหรือมองไม่เห็นภาพว่า เทคโนโลยีเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของเราได้อย่างไร
แต่เมื่อเวลาก้าวผ่านใน 2 ทศวรรษต่อมา คุณจะเข้าใจทันทีว่า คำทำนายของ Enríquez เป็นจริง ในแง่ของผลพวงจากจีโนมิกส์ คุณได้เห็นความก้าวหน้าของระบบเฮลท์แคร์ทั่วโลก จากการพัฒนาวัคซีน mRNA เพื่อต่อสู้กับการโรคระบาดครั้งใหญ่ของ Covid-19 เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีนาโน สมาร์ตโฟน คือ ผลิตผลของความก้าวหน้าจนกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของผู้คนทั่วโลก คุณสามารถพกติดกระเป๋าและขาดมันไม่ได้
เมื่อมองภาพใหญ่ของกาลเวลาในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา มนุษย์ สังคม รัฐบาล และอุตสาหกรรมกำลังถูกดิสรัปจากโลกดิจิทัล ภาคการเงินเช่นเดียวกัน ที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายครั้งใหญ่ จากการดำเนินธุรกิจธนาคารแบบเก่าๆ แต่ก็ต้องการไปต่อในกระแสเชี่ยวกรากของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ภายใต้บริบทของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ เทรนด์ธุรกิจธนาคารแบบใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจ นั่นก็คือ Neobank หรือ Virtual Bank อธิบายตามมุมมองของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา ซึ่งเทรนด์นี้กำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ แล้วคุณคิดว่า ‘ธนาคารไร้สาขา’ จะถูกเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ให้เข้าสู่ยุคการเงินดิจิทัลทั่วโลกหรือไม่
นิยามของ ‘ธนาคารดั้งเดิม’ กับ ‘ธนาคารไร้สาขา’
พื้นฐานของธุรกิจ ‘ธนาคารดั้งเดิม’ กับ ‘ธนาคารไร้สาขา’ เป็นผู้ให้บริการทางการเงิน แต่จุดต่าง คือธนาคารแบบดั้งเดิมยังมีตัวตนพร้อมสาขา ขณะที่ธนาคารไร้สาขา แปลตามชื่อเลย คือ ธนาคารที่ไม่มีสาขา มีตัวตน แต่อยู่ในระบบการเงินดิจิทัลเท่านั้น ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมธนาคารผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน โดยที่ไม่ต้องไปที่สาขาเลย
การเปลี่ยนผ่านจากสาขาธนาคารมีตัวตน ไปสู่บริการธนาคารออนไลน์ กำลังจะเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจของธนาคารทั่วโลก เพราะธุรกรรมและบริการการเงินในปัจจุบันสามารถทำได้ด้วยปลายนิ้วบนสมาร์ตโฟน ซึ่งเป็นไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ควบคู่ไปกับการเพิ่มปริมาณธุรกรรม ‘ไร้เงินสด’ ผ่านระบบออนไลน์ ดังนั้น การเข้ามาของ ‘ธนาคารไร้สาขา’ และบริการการเงินดิจิทัล จะเป็นภัยคุกคามต่อธนาคารแบบดั้งเดิมหรือไม่? คำตอบคือ มีทั้งใช่และไม่ใช่
ประการแรก ธนาคารดั้งเดิมส่วนใหญ่ลงทุนมหาศาลในเทคโนโลยีการเงินและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน Core Banking ในช่วง 1-2 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บริการออนไลน์แก่ลูกค้าด้วยความปลอดภัยสูงสุด จึงเห็นธนาคารดั้งเดิมหลายแห่งให้บริการธนาคารออนไลน์มานานแล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
ประการที่สอง ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกกำลังติดตามแนวโน้มใหญ่ของ Neobank หรือธนาคารไร้สาขาอย่างใกล้ชิด โดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศออกกฎหมาย เพื่อให้ใบอนุญาตกับสตาร์ตอัปหน้าใหม่และบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ โดดเข้าสู่ธุรกิจ Neobank ได้ง่ายขึ้น แม้ว่ากฎและข้อบังคับจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ธนาคารกลางหลายแห่งกำลังให้ใบอนุญาตธนาคารดิจิทัลอย่างเป็นทางการภายใต้กรอบโครงสร้างที่รัดกุม คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ให้บริการธนาคารไร้สาขาจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดได้
ประการที่สาม เมื่อธนาคารกลางไฟเขียวให้ดำเนินธุรกิจ Neobank ได้สร้างระบบนิเวศการเงินยุคใหม่ และมีกรอบการออกใบอนุญาตที่ชัดเจน ล้วนผลักดันให้สตาร์ตอัปฟินเทคสามารถร่วมมือกับธนาคารดั้งเดิม เพื่อสร้างธนาคารดิจิทัลเป็นอีกหนึ่งโมเดลธุรกิจ เพราะฟินเทคมีความแข็งแกร่งในการพัฒนา API ที่เปิดกว้างและยืดหยุ่น เมื่อมาผนวกรวมกับโครงสร้างพื้นฐาน Core Banking ของธนาคารรายใหญ่ จะทำให้บริการการเงินที่มีคล่องตัวมากขึ้น ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค
ดังนั้น ประตูสู่ Neobank จึงยังเปิดกว้างให้ธนาคารดั้งเดิม ซึ่งมีตัวเลือกที่จะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ของตนเอง หรือร่วมมือฟินเทคเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเงินล้ำๆ เพราะธนาคารขนาดใหญ่สามารถจัดสรรงบประมาณด้านเทคโนโลยี เพื่ออัปเกรดสู่องค์กรดิจิทัล ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถให้บริการการเงินดั้งเดิมให้กับลูกค้า
‘ธนาคารไร้สาขา’ ไปถึงไหนแล้วทั่วโลก
ดูเหมือนว่า Neobank มีจุดได้เปรียบเหนือธนาคารดั้งเดิมอย่างมาก เมื่อมีเทคโนโลยีการเงินที่สามารถใช้งานได้จริง จะดันให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจต่ำลง ใช้แรงงานคนน้อยลง โดย Grand View Research คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมธนาคารไร้สาขาทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 2 เท่าเป็น 722,600 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2571 ซึ่งมีโอกาสเติบโตได้อีกมากตามเทรนด์ Digital Transformantion ทั่วโลก
Exton Consulting ให้ข้อมูลว่า Virtual Bank มีประมาณ 300 แห่งทั่วโลก โดย 100 แห่งอยู่ในยุโรป ส่วน Techcrunch รายงานว่า มีลูกค้าที่ใช้บริการ Neobank กว่า 60 ล้านรายในอเมริกาเหนือและยุโรป ในปี 2563 โดยมีผู้ให้บริการหลายรายในภูมิภาคเหล่านั้น เช่น Wise, Monzo, Revolut, Starling Bank จากสหราชอาณาจักร, Chime จากสหรัฐอเมริกา, N26 จากเยอรมนี และ Adyen & Bunq จากเนเธอร์แลนด์
ธนาคารไร้สาขา ไม่ได้จำกัดอยู่ในประเทศแถบตะวันตกเท่านั้น แต่ในเอเชียยังมีการเปิดตัว Virtual Bank มากกว่า 40 แห่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้แก่ WeBank และ MYbank จากจีน, Digibank จากสิงคโปร์, Timo, TNEX และ Cake จากเวียดนาม, Jibun Bank จากญี่ปุ่น, Bank Jago และ Bank INA จากอินโดนีเซีย, Bank Islam จากมาเลเซีย, GoTyme Bank และ BankUNO จากฟิลิปปินส์, K Bank และ Kakao Bank จากเกาหลีใต้
สำหรับไทย ธนาคารกลางอย่างธปท. ได้ริเริ่มนโยบายพัฒนาภูมิทัศน์ใหม่สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และร่างกรอบ Virtual Bank กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา และจะถูกส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณาเร็วๆ นี้ ธปท.จะกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจธนาคารไร้สาขาในไทย ซึ่งเหมือนกับธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่เดิม
คาดว่า กรอบการออกใบอนุญาต Virtual Bank จะมีข้อสรุปภายในปี 2566 โดยจะเปิดให้มีการยื่นขอใบอนุญาตและคัดเลือกในปี 2567 ส่วนผู้ที่ได้ใบอนุญาตรายใหม่จะมีเวลาเตรียมการ 1 ปี ก่อนที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจ ดังนั้นคุณอาจจะได้เห็นธนาคารไร้สาขารายแรกๆ ในประเทศไทย ในปี 2569
Mambu พร้อมจับกระแส Neobank
ไม่ว่าจะเป็นบริการธนาคารดั้งเดิมและธนาคารไร้สาขา ต่างก็ต้องการแพลตฟอร์ม Core Banking ที่เชื่อถือได้และยืดหยุ่นมากพอที่จะเอื้อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นและระยะยาว แพลตฟอร์ม SaaS บน Cloud-native ของ Mambu และหลักการ Composable Approach ช่วยให้ธนาคารสามารถสร้างระบบนิเวศแบบ Plug and Play แค่เสียบปลี๊กก็ใช้งานได้ทันที และยังเปิดกว้างสำหรับบริการการเงินดิจิทัลอื่นๆ ซึ่งครอบคลุมทั้งสกุลเงินที่ออกโดยธนาคารกลางและคริปโทเคอร์เรนซี
แพลตฟอร์ม Cloud-native ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของ Mambu ช่วยให้ Virtual Bank สามารถดำเนินธุรกิจและบริการการเงินแบบครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีพัฒนาล่าสุดพร้อมการรวม API แบบเปิดทั้งตัวระบบของธนาคารและพันธมิตรทางธุรกิจ ทำให้ธนาคารไร้สาขาสามารถรับรู้รายได้ในเวลารวดเร็ว และรักษาต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ต่ำลงได้อีกด้วย
ท่ามกลางโลกการเงินการธนาคารที่ยังคงแข็งแกร่ง แพลตฟอร์ม Core Banking ของ Mambu จะสามารถผสานรวมตามข้อกำหนดและกฎระเบียบ ครอบคลุมทั้งธนาคารดั้งเดิมและธนาคารไร้สาขา บริษัทและลูกค้าสามารถไว้วางใจการดำเนินธุรกิจและการทำธุรกรรมการเงินดิจิทัล ด้วยความเสี่ยงต่ำและวิธีการที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้
####
เกี่ยวกับ Mambu
Mambu เป็นระบบธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบ SaaS ที่เข้ามาพลิกโฉมผลิตภัณฑ์เงินฝากและเงินกู้แบบเดิมๆ Mambu เปิดตัวในปี 2554 และปัจจุบันได้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างวิวัฒนาการและการเติบโตในยุคดิจิทัลให้กับสถาบันการเงิน ต่างๆ ตั้งแต่องค์กรฟินเทคไปจนถึงผู้ให้บริการโทรคมนาคมและธุรกิจอื่นๆ
โมเดล Composable Banking ของ Mambu มีความแตกต่าง โดยส่วนประกอบ ระบบ และตัวเชื่อมต่อต่างๆ สามารถนำมาประกอบและปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นพร้อมช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ Mambu มีพนักงานกว่า 900 คน ให้บริการและดูแลลูกค้า 280 รายใน 65 ประเทศ https://www.mambu.com