อีกหนึ่งตำนานของเวทีรางวัลเกียรติยศแห่งวงการภาพยนตร์ไทยที่ได้มอบ เพื่อเป็นเครื่องหมายการันตีผลงานภาพยนตร์อันทรงคุณค่ามาอย่างยาวนาน กับ งานประกาศรางวัลภาพยนตร์ไทย “ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 32” ประจำปี 2566 โดยได้รับการยอมรับของคนในวงการหนังไทยว่ามีมาตรฐานเป็นที่ประจักษ์ โปร่งใส และทรงคุณค่า โดยในปีนี้ได้รวบรวมผลงานหนังไทยตลอดปี 2566 เป็นปีแรกที่ปรับเกณฑ์การเข้าฉายและพิจารณาแบบใหม่ โดยมอบ 19 รางวัลคุณภาพ เพื่อเป็นบทพิสูจน์การทำงานและกำลังใจให้กับคนทำงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ได้ฤกษ์ประกาศผลรางวัลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันพุธที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ หอศิลป์แห่งชาติ (National Art Gallery) กระทรวงวัฒนธรรม โดยได้รับเกียรติจาก คุณสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และ คุณยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มามอบรางวัลในพิธี พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ ศิลปินคนบันเทิง และสื่อมวลชน มาร่วมเป็นสักขีพยาน และร่วมแสดงความยินดีกันอย่างคับคั่ง

สนานจิตต์ บางสพาน หรือ “เสือเตี้ย” ประธานชมรมวิจารณ์บันเทิง กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ชมรมวิจารณ์บันเทิง ได้ก่อตั้งมา 36 ปี ก้าวผ่านยุคอนาล็อกมาเป็นยุคดิจิตัลอย่างสิ้นเชิง จึงมีปรับให้สอดรับกับกระแสของอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาทุกยุค ด้วยเหตุนี้การประกาศผลรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 32 ประจำปี 2566 จึงเป็นอีกก้าวสำคัญที่ได้มีการปรับเกณฑ์การพิจารณา โดยเป็นปีแรกที่ปรับจากเดิมจะพิจารณาจากหนังไทยทุกเรื่องที่เข้าฉายใน โรงภาพยนตร์” เกิน 7 วัน เปลี่ยนเป็นการเปิดเสรีให้หนังไทยในแพลทฟอร์มสตรีมมิ่งมีสิทธิ์เข้าร่วมได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการของชมรมวิจารณ์บันเทิง ในหมวดหมู่รางวัลเดียวกันได้อย่างเปิดกว้างไม่แบ่งแยกและกีดกัน เพื่อยืนยันแนวคิดและเจตนารมณ์ของชมรมฯ ว่า ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกภาพยนตร์ในระดับนานาชาติ” นอกจากนี้เกณฑ์ตัดสินปีนี้เป็นปีแรกที่ใช้ Google form ให้กรรมการใส่ชื่อเสนอ จากเดิมที่คณะกรรมการจะต้องเข้าร่วมประชุมและยกมือโหวต ผลการตัดสินปีนี้จึงมีความยุติธรรมเพราะได้เสียงคณะกรรมการที่มากกว่า เข้าถึง เป็นเอกฉันท์กว่าในการชี้ขาด และมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ จึงทำให้ผลรางวัลปีนี้มีความน่าสนใจและคาดเดาไม่ได้ บางสาขาที่คิดว่าหนังเป็นตัวเต็งได้รางวัล กลับหลุดโผไม่ได้เข้าชิง ในฐานะประธานชมรมวิจารณ์บันเทิง ขอแสดงความยินดีกับผู้เข้าชิงและผู้ชนะรางวัลทุกท่าน เพราะปีนี้นับว่ามีแต่ผลงานคุณภาพที่เข้ามาแข่งมากกว่าปกติ การแข่งขันปีนี้จึงสูงมาก การที่ได้คัดเลือกเข้าชิงก็ถือว่าคุณเก่งมากแล้ว สมควรปรบมือแก่ผู้ที่ชิงและผู้ชนะรางวัลเป็นอย่างยิ่ง”

รับชมการถ่ายทอดสดย้อนหลัง งานประกาศรางวัลภาพยนตร์ไทย “ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 32” ประจำปี 2566 ได้ที่ เฟสบุ๊คแฟนเพจ ชมรมวิจารณ์บันเทิง

ผลรางวัลภาพยนตร์ไทย “ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 32” ประจำปี 2566

จำนวน 19 รางวัล

 

รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม • ดอยบอย – สุภัชา ทิพเสนา, Steve Chen, Daniel Mattes, Davy Chou (เนรมิตรหนังฟิล์ม, Mobile Lab Project, Anti-Archive)

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• เซียนหรั่ง เดอะมูฟวี่: แหล่งเพื่อนรัก – ศชัช บุญโกสุมภ์ศุภณัฐ นามวงศ์ (ไทบ้าน สตูดิโอ)

• ดอยบอย – สุภัชา ทิพเสนา, Steve Chen, Daniel Mattes, Davy Chou (เนรมิตรหนังฟิล์ม, Mobile Lab Project, Anti-Archive)

• เธอกับฉันกับฉัน – บรรจง ปิสัญธนะกูล (จอกว้างฟิล์ม, GDH 559)

• เพื่อน(ไม่)สนิท – วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์นัฐวุฒิ พูนพิริยะ (Houston Film Bangkok, GDH 559)

• มนต์รักนักพากย์ – นนทรีย์ นิมิบุตร ( Netflix, 18 Tanwa)

รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม • นนทรีย์ นิมิบุตร – มนต์รักนักพากย์

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• นนทรีย์ นิมิบุตร – มนต์รักนักพากย์

• นนทวัฒน์ นำเบญจพล – ดอยบอย

• ภูวเนตร สีชมภู – เซียนหรั่ง เดอะมูฟวี่: แหล่งเพื่อนรัก

• วรรณแวว หงษ์วิวัฒน์แวววรรณ หงษ์วิวัฒน์ – เธอกับฉันกับฉัน

• อัตตา เหมวดี – เพื่อน(ไม่)สนิท

รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม • ธิติยา จิระพรศิลป์ – เธอกับฉันกับฉัน

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวช – สมมติ

• ธิติยา จิระพรศิลป์ – เธอกับฉันกับฉัน

• นิษฐา จิรยั่งยืน – บ้านเช่า บูชายัญ

• สุพิชชา สังขจินดา – RedLife

• หนึ่งธิดา โสภณ – มนต์รักนักพากย์

รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม • อวัช รัตนปิณฑะ – ดอยบอย

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

 

• นพชัย ชัยนาม – Hunger คนหิว เกมกระหาย

• นฤพล ใยอิ้ม – สัปเหร่อ

• ศุกลวัฒน์ คณารศ – มนต์รักนักพากย์

• อวัช รัตนปิณฑะ – ดอยบอย

• อันโทนี่ บุยเซอเรท์ – เพื่อน(ไม่)สนิท

รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม • อินทิรา เจริญปุระ – 4 Kings II

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• กรองทอง รัชตะวรรณ – RedLife

• ชนันทิชา ชัยภา – เมอร์เด้อเหรอ ฆาตกรรมอิหยังวะ

• เพ็ญพักตร์ ศิริกุล – บ้านเช่า บูชายัญ

• สวนีย์ อุทุมมา – เมอร์เด้อเหรอ ฆาตกรรมอิหยังวะ

• อินทิรา เจริญปุระ – 4 Kings II

รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม • พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ – เพื่อน(ไม่)สนิท

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• เจมส์ เลเวอร์ – เมอร์เด้อเหรอ ฆาตกรรมอิหยังวะ

• พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ – เพื่อน(ไม่)สนิท

• ภูมิภัทร ถาวรศิริ – ดอยบอย

• สามารถ พยัคฆ์อรุณ – มนต์รักนักพากย์

• อัจฉริยะ ศรีทา – สัปเหร่อ

รางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม • ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง – ปฏิภาณ บุณฑริกคาลิล พิศสุวรรณ

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• เซียนหรั่ง เดอะมูฟวี่: แหล่งเพื่อนรัก – ภูวเนตร สีชมภู

• ดอยบอย – นนทวัฒน์ นำเบญจพล

• ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง – ปฏิภาณ บุณฑริกคาลิล พิศสุวรรณ

• เธอกับฉันกับฉัน – วรรณแวว หงษ์วิวัฒน์แวววรรณ หงษ์วิวัฒน์

• มนต์รักนักพากย์ – เอก เอี่ยมชื่นนนทรีย์ นิมิบุตร

รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม • มนต์รักนักพากย์ – ธีระวัฒน์ รุจินธรรม

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

 

• Hunger คนหิว เกมกระหาย – ธีร์ธวัช ใต้ฟ้ายงวิจิตร

• ดอยบอย – Rimvydas Leipus

• ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง – เบญจมาภรณ์ รัตนเรืองเดช

• มนต์รักนักพากย์ – ธีระวัฒน์ รุจินธรรม

• เมอร์เด้อเหรอ ฆาตกรรมอิหยังวะ – นิรมล รอสส์

รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม • เพื่อน(ไม่)สนิท – ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• Hunger คนหิว เกมกระหาย – มานุสส วรสิงห์อภิสิทธ์ ว่องไวตระการ

• ธี่หยด – ศราวุธ นะคะจัด

• เพื่อน(ไม่)สนิท – ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต

• มนต์รักนักพากย์ – มานุสส วรสิงห์นิธิศ ทับทิม

• เมอร์เด้อเหรอ ฆาตกรรมอิหยังวะ – ธรรมนูญ ลภัณฑกุล

รางวัลออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม • มนต์รักนักพากย์ – เอก เอี่ยมชื่นปิยะวิทย์ พลายเมือง

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• ขุนพันธ์ 3 – ธนะ เมฆาอัมพุทสุดเขตร ล้วนเจริญ

• ธี่หยด – สุดเขตร ล้วนเจริญ

• มนต์รักนักพากย์ – เอก เอี่ยมชื่นปิยะวิทย์ พลายเมือง

• เมอร์เด้อเหรอ ฆาตกรรมอิหยังวะ – อรรคเดช แก้วโคตรจิณณพัต เนตรบุตร

• แมนสรวง – ชาติชาย ไชยยนต์นักรบ มูลมานัส

รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม • มนต์รักนักพากย์ – ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• เธอกับฉันกับฉัน – ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล

• นักรบมนตรา: ตำนานแปดดวงจันทร์ – หัวลำโพงริดดิมวิชญ วัฒนศัพท์

• เพื่อน(ไม่)สนิท – หัวลำโพงริดดิมวิชญ วัฒนศัพท์

• มนต์รักนักพากย์ – ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์

• แมนสรวง – เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน

รางวัลเพลงจากภาพยนตร์ยอดเยี่ยม • “รักแรก” – รักแรก โคตรลืมยาก (ประพันธ์โดย อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ชลทัศน์ ชาญศิริเจริญกุล‘)

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• “ทะเลของฝน” – ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง (ประพันธ์โดย อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร‘)

• “ยื้อ” – สัปเหร่อ (ประพันธ์โดย ปรีชา ปัดภัยออนบอร์ดสตูดิโอ‘)

• “ร้องไปกับฟ้า” – 4 Kings II (ประพันธ์โดย สมพล รุ่งพาณิชย์อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียลธนพงศ์ ทับทิมวิธวินท์ อมรรัตนศักดิ์ณัฐวุฒิ เจนมานะ‘)

• “รักแรก” – รักแรก โคตรลืมยาก (ประพันธ์โดย อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ชลทัศน์ ชาญศิริเจริญกุล‘)

• “เร้น” – แมนสรวง (ประพันธ์โดย ปัณฑพล ประสารราชกิจชวรัตน์ หรรษคุณาฒัยธิติวัฒน์ รองทอง‘)

รางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม • The Last Breath of Sam Yan – เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาลเสฏฐนันท์ ธนกิจโกเศรษฐ์ (Young Film TH)

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• The Last Breath of Sam Yan – เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาลเสฏฐนันท์ ธนกิจโกเศรษฐ์ (Young Film TH)

• Remembering Fan Chan แด่ความทรงจำสีจาง – ธนิ ฐิติประวัติวิชชพัชร์ โกจิ๋วอารียา ชีวีวัฒน์ (GDH 559อิทธิปาทา)

• เรื่องจริง – วิชาติ สมแก้วธัญสก พันสิทธิวรกุล (Bioscope, Thaiindie)

รางวัลนักทำหนังหน้าใหม่ยอดเยี่ยม (รางวัลมูลนิธิเอสซีจี) • ธิติ ศรีนวล – สัปเหร่อ

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• ธิติ ศรีนวล – สัปเหร่อ

• ปฏิภาณ บุณฑริก – ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง

• สรยศ ประภาพันธ์ – อานนเป็นนักเรียนตัวอย่าง

• อัตตา เหมวดี – เพื่อน(ไม่)สนิท

• เอกลักญ กรรณศรณ์ – RedLife

 

รางวัลภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม ระดับบุคคลทั่วไป • ภูมิกายา (The Physical Realm) – สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์กฤษฎา ขำยัง

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• Blue Territory – ธีระวัฒน์ มุลวิไล

• Here We Are – ชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์บรรณวิฑิต วิลาวรรณ

• Methylene Blue – จุฬญาณนนท์ ศิริผล

• The Nightmare and a Dream – ยอดชาย ครองพื้นพิมาน (Saw Yot), มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน

• Suits – ฐามุยา ทัศนานุกูลกิจชาติชาย วนเพียรกุล

• Viimane külastus (The Last Visit การพบพาน…ครั้งสุดท้าย) – เกวลี วรุตม์โกเมน

• Zi Mui – นัฐวุฒิ พูนพิริยะอมร นิลเทพจรรยลักษณ์ คำแดงแพรว พูนพิริยะ

• จงสวัสดิ์ (The Announced Tragedy) – ธนัตถ์ รุจิตานนท์, Graphy Animation

• ภูมิกายา (The Physical Realm) – สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์กฤษฎา ขำยัง

• อวลเดือนหงายของบ่ายแก่ (The Scent of Moonlit Evening) – เจษฎา จันทร์แย้ม

รางวัลภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม ระดับนักเรียน-นักศึกษา (รางวัลปัณณวิชญ์)

• The End of Paralyzed – รชต สระทองเทียนพสธร วัชรพาณิชย์

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• The End of Paralyzed – รชต สระทองเทียนพสธร วัชรพาณิชย์

• I Want to Believe – จิตริน วุฒิพันธุ์ปัญญา ชู

• Midnight Reminiscence – กุลพัทธ์ เอมมาโนชญ์จิรายุ สุรทิณฑ์

• Mycelium Memory – เฟอลิเชีย คิงวศุภัชฌา เครือสุคนธ์

• Take After Take – ณัฐกานต์ นกสวนกชกร พลเสน

• ดงรกชัฏ (Spirits of the Black Leaves) – ทวีโชค ผสมเฉลิมชัย หนูอนงค์

• ใต้ฝุ่น (Dusting) – พิริยยุตม์ ตั้งจิตเมตต์ณิชรีย์ ธีรประทีปณัฐณิชา ปานสมุทร์

• เยลลี่ปีโป้ – ชนิดา ช่วยแก้วญาณิศา ทองดีเจริญชลธิชา ทรัพย์ประทุม

• อีป๊อด (That Girl Named Pord) – ภัทรพรรณ ประไวย์ชนิดา ช่วยแก้ว

• ไอรอนแมนเดอะซีรีส์: มัธยมหัวใจเหล็ก มายแฟน-แฮนด์ซั่ม – เบญจภูมิ อุปถัมภ์จิรวัชร สายวุฒินนท์

รางวัลภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์สารคดีสั้นยอดเยี่ยม • รับเหมาพเนจร (The Man and the Machine) – เกียรติพงษ์ ลงเยยิ่งยง วงศ์ตาขี่

โดยมีรายชื่อผู้เข้าชิง

• All the Things You Leave Behind – ชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์บรรณวิฑิต วิลาวรรณ

• Landless – ทวีโชค ผสมเฉลิมชัย หนูอนงค์ภัทรเศรษฐ์ เจริญทองนิธิโชติ

• Lost in Mekong – เจษฎา ขิมสุขศุภชัย ทองศักดิ์

• A Love Letter to My Sister – นภสินธุ์ สามแก้วแจ่ม

• Mother and Me – เศรษฐสิริ ชาญจรัสพงศ์วลัย บุปผา

• Surf Your Soul – วิชชุลดา เย็นจิตร

• Trip After – อุกฤษณ์ สงวนให้ธัญธิตา นิธิศโสภณ

• แด่สิ่งที่ยืนยงไม่แปรผัน – กุลพัทธ์ เอมมาโนชญ์ชวัส จำปาแสน

• แม่โขง – นฤมิต (Multiverse of Mekong) – ปฏิภาณ บุณฑริก, Error Brothers

• รับเหมาพเนจร (The Man and the Machine) – เกียรติพงษ์ ลงเยยิ่งยง วงศ์ตาขี่

รางวัลเกียรติคุณแห่งความสำเร็จ

• “คุณศุภวัฒน์ จงศิริ (ศุภักษร)”

รางวัลภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดแห่งปี (รางวัลคมน์ อรรฆเดช)

• “สัปเหร่อ”

 

สรุปจำนวนการนับรางวัล

4 รางวัล – มนต์รักนักพากย์

รางวัล – ดอยบอย

1 รางวัล – Kings II, The End of Paralyzed, The Last Breath of Sam Yanทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลางเธอกับฉันกับฉันภูมิกายา (The Physical Realm), รักแรก โคตรลืมยากรับเหมาพเนจร (The Man and the Machine)